ในสมรภูมิการค้าต่างๆ มักจะมีหมัดเด็ดเคล็ดลับในการแข่งขันธุรกิจแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย จากการตลาด 1.0 ที่แข่งขันกันด้วยราคา สู่ยุคการตลาด 4.0 ที่ผู้ประกอบการต้อง Transform สู้กับการมาของดิจิทัลที่ทำให้เกิดการ Disruption แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ใจความหลักของเกมธุรกิจนี้ก็ยังคงเป็น “ใครเปลี่ยนก่อน พร้อมมากกว่า ก็ไปได้ต่อ”

ในภาคธุรกิจเราจึงเห็นองค์กรหรือเหล่าผู้ประกอบการบางส่วนต่างลุกขึ้นมาปรับกลยุทธ์หลักมุ่งสู่ดิจิทัล เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด ขณะที่อีกหลายๆ ส่วนยังอยู่ในช่วงตัดสินใจ และเมื่อถามกลับไปยังผู้ประกอบการว่าทำไม หลายคนให้เหตุผลว่ายังไม่เห็นความจำเป็น และเทคโนโลยีใหม่ๆ ดูเป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก ยิ่งเป็นเรื่อง AI หรือคลาวด์ด้วยแล้ว ยิ่งยากเข้าไปกันใหญ่

วันนี้ Marketeer จึงจะพาคุณผู้อ่านและเหล่าผู้ประกอบการ มาร่วมค้นหาเหตุผลที่ว่า ทำไมธุรกิจจึงต้อง Transform และถ้าอยาก Transform จะเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI หรือคลาวด์ได้อย่างไร ในงานสัมมนา Microsoft Innovation Conference ภายใต้หัวข้อ Digital Transformation with AI

งานสัมมนาครั้งนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)  ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ มาเล่าถึงแนวทางการปรับปรุงธุรกิจ (Business Transformation) เพื่อความอยู่รอด และเติบโตอย่างยั่งยืนในโลกของการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง

คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ

คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ เล่าความสำคัญของ Business Transformation ผ่านการยกตัวอย่าง ธุรกิจสปาของ บมจ.สยามเวลเนสกรุ๊ป ที่เริ่มต้นจากธุรกิจที่ชื่นชอบและใช้เวลา 5 ปีก้าวข้ามการ Transformation เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชนได้ และหลังจากการ Transform 5 ปีให้หลังธุรกิจสปาของ บมจ.สยามเวลเนสกรุ๊ป เติบโตอย่างรวดเร็วจนสามารถขยายกิจการได้จากปีละ 1 สาขา เป็นปีละ 10 สาขา นั่นทำให้เห็นว่าการ Transform คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจมีศักยภาพการแข่งขันและเติบโตได้ในยุคดิจิทัล

ธุรกิจกับเทคโนโลยี AI ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ทุกวันนี้เรามักได้ยินคำว่า IoT และ AI อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่ามีการนำ AI มาปรับใช้ตั้งแต่องค์กรใหญ่ไปจนถึงภาคเกษตรกรรม ทั้งในการเก็บข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค Chatbot บริการลูกค้า ตลอดจนใช้ AI เพื่อตรวจจับและจำแนกไร่ที่มีการติดโรคเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด อัพเดตถึงการ Transform ภาคธรุกิจ และการนำ AI เข้ามาเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจให้เราฟังว่า “วันนี้และในอนาคต AI it’s in everywhere ทั้งในบ้าน นอกบ้าน และ Device ต่างๆ อย่างสมาร์ทโฟน วันนี้เราสามารถดูได้ว่ามีอะไรอยู่ในตู้เย็น ควรซื้ออะไรเข้ามาเพิ่ม หรือทำเมนูอะไรรับประทานได้บ้างผ่าน AI ซึ่งช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้น หรือในธุรกิจที่นำเอา AI มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เพื่อให้แบรนด์นำข้อมูลไปต่อยอดการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด หรือในการทำงานอย่างการ Video conference ผ่าน Microsoft Teams ที่มีการใช้ AI มาช่วยเบลอภาพพื้นหลังเพื่อภาพลักษณ์และความเป็นส่วนตัว”

AI it’s in every industry ยกตัวอย่าง ภาคเกษตรกรรมที่ใช้ AI และโดรนบินตรวจจับความผิดปกติของพืชไร่ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะจุดลดการพ่นยารักษาทั้งไร่อย่างที่เคยทำมา รวมถึงลดแรงงานและค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ และ ภาคอุตสาหกรรม Construction ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการทำงานโดยการนำโดรนบินตรวจจับสภาพความเรียบร้อยของการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจากเดิมที่ใช้คนปีนตรวจ หรือในธุรกิจรีเทลที่มีการนำ AI มาเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคนำไปสู่การทำ Dynamic Pricing และ Personalized Marketing ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละรายได้ หรือนำ Chatbot มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มโอกาสในธุรกิจ…AI it’s in everything อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่าประเทศไทยเราเริ่มเห็น Home Automation กันบ้างแล้ว ขณะเดียวกันการสร้าง Smart City ก็มีการนำ AI เข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น”

เมื่อ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตส่วนตัวและการทำงานมากขึ้น Business กับ AI จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ในงานครั้งนี้คุณธนวัฒน์ได้เปิดเผยถึงผลการวิจัย ที่ Microsoft และ IDC คึกษาร่วมกันภายใต้หัวข้อ Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มด้านการใช้ AI ของธุรกิจไทยเอาไว้หลายประเด็น โดยความเห็นของผู้บริหารในเอเชียแปซิฟิกกว่า 1,560 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้บริหารจากองค์กรธุรกิจไทย 101 คนด้วยกัน

  • จากผลสำรวจระบุว่า Innovation Product และ Service จะเกิดขึ้นมากหากมี AI มาซัปพอร์ต โดยในเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้น 1.9 เท่าและประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า ในปี 2021
  • AI จะช่วยให้ Employee Productivity Gains ของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 41% ในปี 2021 จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 32%
  • โดย 29% ของผู้บริหารไทยเชื่อว่า AI จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจแบบ Deep impact, 25% เชื่อว่ามีผลกระทบพอสมควร, 31% เชื่อว่ามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ 15% คิดว่าไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

จากผลสำรวจสรุปได้ว่า ธุรกิจไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำ AI เข้ามาปรับใช้ โดยส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของ AI และเชื่อว่า AI สามารถเพิ่มศักยภาพของธุรกิจได้ แต่มีธุรกิจที่นำมาใช้อย่างจริงจังเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการที่ธุรกิจองค์กรจะนำ AI มาใช้ ผู้นำขององค์กรต้องมีวิสัยทัศน์สนับสนุนให้เกิดการใช้งาน มีวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ รวมถึงบุคลากรในองค์กรต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในนำเทคโนโลยีมาปรับใช้แก้ปัญหาต่างๆ

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า AI ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เป็น Combination ของธุรกิจกับเทคโนโลยี ที่จะทำให้มันเกิดขึ้น วันนี้ธุรกิจจะอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้เราเชื่อว่าต้องบริษัทนั้นต้องมี Tech Intensity หรือความสามารถด้านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถเกิดขึ้นจาก 2 ส่วนคือ Tech Adoption พูดง่ายๆ คือทุกวันนี้มีองค์กรหรือสตาร์ทอัพที่ผลิตเทคโนโลยีหรือเครื่องมือไว้พร้อมอยู่แล้ว ไม่ต้องคิดใหม่เราแค่นำเครื่องมือเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ อีกส่วนคือ Tech Capability หรือการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่

“Microsoft AI Vision เราเชื่อว่า AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่คนแต่จะเข้ามาช่วยซัปพอร์ตให้คนมีความสามารถมากขึ้น และที่สำคัญ AI เป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไมโครซอฟท์เองมีเป้าหมายเสนอเทคโนโลยีที่เป็นแพลตฟอร์มของ AI ให้ลูกค้านำไปต่อยอดตอบโจทย์กับธุรกิจและเราไม่เคยต้องการที่จะสร้างนวัตกรรมมาแข่งขันกับลูกค้า” คุณธนวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย

 The Story of 3 Cloud

เมื่อทราบแล้วว่า AI สำคัญต่อการทำ Business Transform อย่างไร ทีนี้มาดูกันว่าวิธีการทำ Digital Transformation ที่ไมโครซอฟท์นำมาแบ่งปันนั้นเป็นอยางไร

โดยทีมงานไมโครซอฟท์สรุปการทำ Digital Transformation ง่ายๆ ผ่าน 4 ข้อคือ

 

  1. Engage Customers–ทุกวันนี้การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างการตลาด การขาย และลูกค้าเปลี่ยนไป ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง แบรนด์หรือผู้ประกอบการต้องถามตัวเองว่า เรามีความพร้อมเรื่องการทำการตลาดใน omni-channel มากน้อยแค่ไหน มีการใช้ AI เข้า มาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาหรือไม่ และหลังจากที่สร้างแคมเปญการตลาดและช่องทางติดต่อลูกค้าแล้วมีการดึงข้อมูลการตลาดส่งต่อให้เซลส์ได้ทันทีหรือไม่ ซึ่งไมโครซอฟท์์มีระบบหรือเครื่องมืออย่าง Power BI หรือ Dynamics เข้ามาช่วยให้การทำงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. Optimize Operations–คือการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง Chevron พาร์ตเนอร์ของไมโครซอฟท์ ในการใช้แว่นตา Mixed Reality ที่สามารถตรวจจับความผิดปกติที่หน้าไซต์งานได้ และช่วยให้พนักงานที่อยู่หน้าไซต์สามารถแก้ไขปัญหาได้ผ่านความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะไม่ได้อยู่หน้าไซต์งานก็ตาม นี่คือตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
  3. Empower Employees–การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาพนักงานในองค์กร รวมถึงการมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของพนักงานยุคใหม่ที่ให้สามารถทำงานได้ทุกที่ต้องการและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในออฟฟิศร่วมกัน ไมโครซอฟท์เองก็มีผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชันซึ่งตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย อย่าง Office 365 ที่รวบรวมเครื่องมือสำหรับการทำงานที่ดีที่สุด เช่น Excel และ Outlook เข้ากับบริการบนระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น OneDrive และ Microsoft Teams
  4. Transform Products–แบรนด์หรือผู้ประกอบการต้องรู้จักการพลิกรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจให้ตอบโจทย์เทรนด์และความต้องการของผู้บริโภค

นอกจากนี้ ภายในงาน ไมโครซอฟท์ ยังชวนพาร์ตเนอร์ผู้ผลิตโซลูชั่นต่างๆ สำหรับ SME มาร่วมโชว์เคส อาทิ G-Able Digital ผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำหรับการเตรียมพร้อมองค์กรสู่ Digital Transformation โดยเปิดให้บริการหลากหลายเครื่องมือ เช่น Cloud Application, Big Data and Analytics, Enterprise Business และ Digital Marketing ฯลฯ โดยแอปพิเคชันทั้งหมดทำงาน

หรือ Feedback180 สตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญการนำ AI มาวิเคราะห์และประมวลผล ตัวอักษร ข้อความ วิดีโอ ภาพ เสียง ได้อย่างถูกต้องแม่นยำภายในระยะเวลารวดเร็ว เพื่อให้แบรนด์สินค้าหรือผู้ประกอบการใช้เป็นฐานข้อมูลในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจและบริการได้

 

 

 

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online