ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2552-2560 นับเป็นช่วงปีที่เกิดผู้เล่นในแวดวงธุรกิจมากขึ้น ทั้งธุรกิจรายใหญ่ที่แตกแบรนด์ย่อยๆ และแบรนด์ใหม่ๆ รวมถึงเกิดผู้ประกอบการ SME จำนวนมาก

แต่เป็นธรรมดาของ ‘ธุรกิจ’ และ ‘คนทำธุรกิจ’ ที่เมื่อทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จแล้วก็ต้องมีล้มหายตายจากกันไป เป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นตาม

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชนอธิบายว่า เป็นเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างเสรีเมื่อธุรกิจใดที่ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองไปต่อได้ ก็ต้องปิดตัวไปในที่สุด

โดยผลการศึกษาโดย EIC พบว่า กว่า 67% ของประเภทธุรกิจทั้งหมดมีการกระจุกตัวมากขึ้น โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)

กล่าวอย่างง่าย ถ้าประเทศไทยมีธุรกิจทั้งหมด 100 ประเภท จะมีถึง 67 ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3

โดยตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้ เช่น (1) ขายปลีก อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม (2) ขายปลีก เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และ (3) ขายปลีก เฟอร์นิเจอร์

เนื่องจาก ผู้เล่นในธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องมีศักยภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นทุน กลยุทธ์ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ฯลฯ

ขณะที่อีก 1 ใน 3 เป็นธุรกิจที่มีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น และสามารถแข่งขันกันได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่าธุรกิจประเภทแรก

ตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้เช่น (1) ขายส่ง กาแฟ ชา และโกโก้ (2) ขายปลีกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ (3) ขายมอเตอร์ไซค์



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online