ไฟนอลเสียทีกับมาตรการกรมสรรพากรให้ลูกค้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากกับกรมสรรพากรเพื่อยกเว้นภาษีจากดอกเบี้ยออมทรัพย์ 15%

สรุปแล้วได้ความดังนี้

ถ้าผู้มีบัญชีเงินฝากต้องการขอยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15%

ลูกค้าธนาคารไม่ต้องทำยื่นเอกสารอะไรธนาคารจะส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไปที่กรมสรรพากร

กรณี

ดอกเบี้ยเงินฝากทุกธนาคารรวมกันเกิน 20,000 บาท

กรมสรรพากรแจ้งกับทุกธนาคารเพื่อให้หักภาษี ที่จ่าย 15%

ดอกเบี้ยไม่เกินไม่ต้องหักภาษี ที่จ่าย

ซึ่งการที่หักดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 15% ในกรณีที่ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท ผู้ที่ไม่มีเงินได้อื่นๆ สามารถนำ มายื่นแบบฟอร์มขอคืนภาษีตอนยื่นแบบภาษีประจำปีได้

ไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไปยังกรมสรรพากร

ลูกค้าธนาคารจะต้องกรอกแบบฟอร์มยื่นความประสงค์ไม่ขอรับสิทธิ์ลดหย่อนเพื่อแลกกับการไม่ให้ธนาคารส่ง ข้อมูลดอกเบี้ยมายังกรมสรรพากร

การแสดงความประสงค์นี้จะต้องกรอกข้อมูลที่ธนาคารก่อนวันที่ 14 .. 2562 เพื่อมีผลตั้งแต่รอบภาษีดอกเบี้ยจ่ายมิถุนายน 2562

ซึ่งการกรอกข้อมูลขอยื่นความประสงค์ไม่รับสิทธิ์ลดหย่อนเป็นการแจ้งครั้งเดียวมีผลตลอดไป

และธนาคารจะหักภาษี ที่จ่าย 15% นับตั้งแต่ดอกเบี้ยบาทแรกแม้บุคคลนั้นจะมีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทก็ตาม

และเมื่อปลายปีกรมสรรพากรจะสามารถทราบดอกเบี้ยเงินฝากของแต่ละบุคคลได้จาก ภงด.2 ที่ธนาคารแจ้งหัก ภาษี ที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล มายังกรมสรรพากรที่ธนาคารต้องทำส่งกรมสรรพากรในทุกๆ ปลายปี

ซึ่งเท่ากับว่ากรมสรรพากรได้ข้อมูลของผู้เสียภาษีของแต่ละบุคคลอยู่ดี

ทั้งนี้ การหักภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ 15% ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด

เพราะเป็นกฎหมายเดิมที่กรมสรรพากรให้ธนาคารหักภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ ที่จ่าย 15% อยู่แล้ว

แต่นับตั้งแต่ปี 2538 กรมสรรพากรได้ยกเว้นการหักภาษี ที่จ่ายให้กับผู้ที่มีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท

และกฎหมายปี 2538 ได้ระบุว่าผู้ที่มีดอกเบี้ยออมทรัพย์รวมกันทุกบัญชีเกิน 20,000 บาทจะต้องแจ้งกับกรมสรรพากรเพื่อหักภาษี ที่จ่าย 15%

และถ้าผู้มีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทุกบัญชีเกิน 20,000 บาท และไม่แจ้งกรมสรรพากร

กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลที่ธนาคารจะต้องส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารไปที่กรมสรรพากรพื้นที่ในรูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ในทุกสิ้นปี

เพื่อให้กรมสรรพากรพื้นที่นำข้อมูลที่ได้มากรอกเป็นข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของแต่ละธนาคารมารวมกันเพื่อดูว่าบุคคลไหนมีดอกเบี้ยเงินฝากรวมกันเกิน 20,000 บาท และนำดอกเบี้ยนั้นมาคิดภาษีรวมกับฐานรายได้ในอัตราเก็บภาษีแบบก้าวหน้า

ซึ่งทำให้ผู้ที่มีฐานภาษีสูงต้องจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้น

และการเก็บภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์สรรพากรจะไม่นำมารวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เช่นกัน

ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำที่ยกเว้นภาษี

และลูกค้าสามารถนำภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ที่หัก ณ ที่จ่าย 15% ไปขอคืนภาษีได้เช่นกัน ในกรณีที่รายได้อื่นๆ รวมกันเข้าข่ายยกเว้นภาษี

 

________

Marketeer FYI

กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีดอกเบี้ยเงินฝากทั้งหมด (รวมประจำและออมทรัพย์) มากกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำ

ส่วนภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ถือว่าเป็นรายได้ที่ไม่สูงมากนัก เพราะลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์จำนวน 80 ล้านบัญชี ส่วนใหญ่แล้วจะมีดอกเบี้ยเงินฝากไม่เกิน 20,000 บาท 

ด้วยเหตุผล บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ให้ดอกต่ำไม่คุ้มกับการฝากเงินค้างอยู่ในบัญชีจำนวนมากๆ

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online