8 ชั่วโมงต่อวัน และ5หรือ 6 วันต่อสัปดาห์คือเวลาที่เหล่าคนทำงานต้องทุ่มให้กับงาน ผ่านวันเดือนปีนานๆเข้า ภาวะตีบตันทางความคิดอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับอาชีพสาย Creative ที่ต้องใช้ความคิดอยู่เป็นประจำ ส่วนอาชีพอื่นๆ ปัญหาเดียวนี้ก็สามารถเข้ามาถามหาได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่เตรียมพร้อมอาจฉุดให้ไฟการทำงานลดและหมดลงไป

เพื่อไม่ให้ต้องโชคร้ายจากความประมาทจึงต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยต่อไปนี้คือวิธี คือช่องทางสร้างแรงบันดาลใจ และหามุมมองใหม่ๆ ป้องกันไม่ให้วันคิดงานไม่ออก เกิดขึ้นกับขึ้นในเร็วๆ นี้

ถามตรงๆ ว่าเป็นอย่างไร : วิธีแรกที่สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคความคิดตีบตัน คือเอ่ยถามเพื่อนร่วมงานออกไปตรงๆ ว่า“เคยเจอสถานการณ์อย่างนี้บ้างไหม” และ “คลี่คลายสถานการณ์อย่างไร” โดยที่ปรึกษาที่ยินดีแบ่งปันประสบการณ์นี้อาจเป็นได้ทั้งคนวัยเดียวกันหรือบรรดารุ่นพี่ในสายงาน ประโยชน์ที่ได้คือการได้รู้แนวทางคร่าวๆ จากคนที่เคยเผชิญวิกฤตแบบเดียวกัน ไม่ต่างจากการมีคู่มือและของยังชีพที่จำเป็นช่วยให้คุณรอดชีวิตออกจากป่าลึกหลังผลัดหลงกับเพื่อนในกลุ่ม

เดินหน้าไปให้รู้ : ตามที่ได้กล่าวไปตอนต้นว่าเมื่อต้องแก้โจทย์เดิมๆ การคิดหาคำตอบที่สร้างสรรค์กว่าเก่าก็ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ามัวแต่คิดแล้วไม่ลงมือทำเสียที คุณจะไม่รู้เลยว่ามวลความคิดในหัวนั้น ใช้ได้จริงหรือไม่ และแตกต่างจากของเดิมอย่างไร ดังนั้นอย่าปล่อยให้ Whiteboard หน้าจอคอมพิวเตอร์และกระดาษบนโต๊ะทำงานว่างนาน คิดอะไรได้ให้เขียน ให้พิมพ์ ออกมาก่อน เพราะไม่แน่ว่า หากกวาดสายตาดูดีๆ อาจพบว่า มีบางอย่างที่พอเข้าท่าและสามารถนำไปต่อยอดเป็น Big Idea ได้

ดูจากมุมมองเด็ก : ข้อดีของประสบการณ์และความอาวุโส คือวิสัยทัศน์และความรอบคอบ ขณะเดียวกันความเก๋า ก็ทำร้ายเราได้เช่นกัน เพราะจะตรึงให้อยู่ในกรอบ และคิดทำอะไรโดยตามยึดกฏระเบียบมากเกินไป ดังนั้นการสอบถามความคิดเห็นจากคนรุ่นใหม่ หรือใครที่อ่อนวัยกว่าจึงสามารถช่วยได้ เนื่องความคิดที่ไม่ถูกปิดกั้นจากกฏจะช่วยให้เราเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากมาย ซึ่งในจำนวนอาจสามารถพัฒนาต่อเป็นนวัตกรรมได้เลย

ลองศึกษาความรู้ใหม่ๆ : หากได้ลองสังเกตตัวเองระหว่างไปท่องเที่ยวยังสถานที่ไม่คุ้นเคย จะพบว่านอกจากการได้พักผ่อนสมองแล้วอีกอย่างที่ได้กลับมาคือความตื่นตาตื่นใจและมุมมองใหม่ๆ เมื่อนำไปปรับใช้กับบริบทของคนทำงานคือการหาความรู้ใหม่ๆ ทั้งในสาขาเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่ เพราะข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อนนี้จะเปิดโลกทัศน์ และพาคุณออกจากกรอบเดิมๆ ได้ง่ายขึ้น พร้อมช่วยในการเชื่อมโยงและผสมผสานได้อีกด้วย

ใช้การสลับตำแหน่ง : อีกวิธีที่สามารถพาคุณออกจากกรอบความคิดเก่าๆ ได้คือ การสลับขั้นตอนในการทำงานให้ต่างไปจากเดิมบ้าง เช่น หากเคยทำงานเรียกลำดับ 1-2-3-4 ให้ลองเป็นเป็น 2-1-3-4 ,3-2-1-4 หรือ 4-3-2-1 ดูบ้าง เพราะนอกจากมุมมองในการทำงานที่ต่างออกไปแล้ว คุณอาจได้รู้จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละขั้นตอนมากขึ้น และหากโชคดีอาจได้วิธีการทำงานใหม่ๆ ที่ทั้งเหมาะกับตัวเองและสามารถปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์

แปลงเป็นภาพ : วิธีสุดท้ายในสามารถสร้างมุมมองใหม่ๆ ได้เช่นกันคือการแปลงตัวอักษรหรือย่อยข้อมูลมหาศาลให้เป็นภาพ แบบที่ปัจจุบันเรียกกันติดปากว่า Infographic เพราะเมื่อคิดวิธีที่ต่างออกไป สมองและความคิดจะปรับตาม จนความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น / thetechnologypost.com



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online