ในวันนี้ Fast Fashion อาจจะเป็นธุรกิจที่ไม่หวือหวา เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาที่ Uniqlo และ H&M  เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยใหม่ๆ เรียกได้ว่าในช่วงเวลานั้น มีแต่คนพูดถึงจน สาขาของทั้ง 2 แบรนด์นี้แทบหัวบันไดไม่แห้ง โดยเฉพาะช่วงที่ออกคอลเลคชั่นใหม่ที่ collaboration กับแบรนด์หรือดีไซน์เนอร์ชื่อดัง

ทำไมวันนี้ Uniqlo และ H&M ถูกพูดถึงน้อยลง อย่างน้อยเพื่อนผู้เขียนก็เริ่มพูดถึง 2 แบรนด์นี้น้อยลง (ถึงขนาดช่วงเซลยังไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน) เพราะความคุ้นชินใช่หรือไม่

เพราะเมื่อนำรายได้ของทั้ง 2 แบรนด์นี้มาดูพบกว่า Uniqlo และ H&M ยังโตวันโตคืน ที่มาพร้อมกับการขยายสาขา ขยายฐานลูกค้าต่อเนื่อง จนปัจจุบัน Uniqlo มี 35 สาขา H&M มี 22 สาขา ในไทย

 

การเติบโตของรายได้ของทั้ง 2 แบรนด์นี้ส่วนหนึ่งมาจากเกมการตลาดแย่งชิงกำลังเงินผู้บริโภคจากคู่แข่ง ซึ่ง H&M และ Uniqlo เป็น 2 แบรนด์ที่ Marketeer มองว่าระดับสินค้าใกล้เคียงกัน และมีเสื้อผ้าในกลุ่มเดียวกันคือ ผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กต่างจากซาร่าที่ดูแฟชั่นและพรีเมียมขึ้นมาอีกนิด

รายได้ Uniqlo

รายได้ H&M

Uniqlo สินค้าต้องลดราคาเสมอ

เมื่อดูจากรายได้และสาขา Uniqlo ถือเป็น Fast Fashion ที่มีการเติบโตแซงหน้า H&M ไปมาก เพราะอะไร

Marketeer มองว่านอกเหนือจากเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของ Uniqlo อย่าง AIRism และ HEATTECH ที่แบรนด์อื่นไม่มีแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะการตลาดที่ Uniqlo ออกมาต่อเนื่อง ที่ดักคนไทยได้อยู่หมัดนัก

โดย Uniqlo ใช้วิธีการตลาดด้วยการจัดโปรโมชันสินค้าหมุนเวียนทุกอาทิตย์ ดึงให้กลุ่มลูกค้าเข้าไปในสาขา หรือหน้าร้านออนไลน์ อย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภค Uniqlo เชื่อว่าเมื่อลูกค้าเจ้าไปดูสินค้าลดราคาในร้านส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าอื่นๆ ที่ไม่ได้ลดราคากลับไปด้วย

และยังมีการใช้โชเชียลมีเดียในการสร้าง Awareness โปรโมทคอลเลคชั่นใหม่ และสินค้าโปรโมชั่น ดันกลุ่มลูกค้าให้เข้าไปใช้บริการอย่างต่อเนื่องอีกช่องทางหนึ่ง พร้อมแคมเปญการตลาดตามเทศกาลต่างๆ หมุนเวียนทั้งปี

Uniqlo ยังมีการ collaboration กับแบรนด์และดีไซน์เนอร์นำเสนอสินค้าหมุนเวียนทุกอาทิตย์ ที่ออกแบบบนคอนเซ็ปต์ Lifewear เสื้อผ้าที่ใส่ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นปรัชญาของแบรนด์

สำหรับเรื่องสาขาล่าสุด Uniqlo ได้เปิดสาขา Roadside Store ร้าน Stand Alone ทำเลติดถนน แห่งแรกที่ถนนแห่งแรกในประเทศไทยที่ถนนพัฒนาการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศที่ 4 ในเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน โดย Roadside Store แห่งนี้เป็นการนำความสำเร็จจากญี่ปุ่นมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการขยายร้านไปตามห้างสรรพสินค้าที่ลำบากจากพื้นที่เช่าเต็ม

H&M ทุกอย่างอยู่ที่ร้าน

ในประเทศไทยกลยุทธ์การตลาดของ H&M ไม่หวือหวาเท่ากับ Uniqlo โดยเฉพาะการใช้สื่อโซเชียลของแบรนด์ตัวเองในการสร้าง Awareness ในด้านต่างๆ

ส่วนใหญ่แล้ว H&M ไม่ค่อยทำตลาดมากนัก จะเน้นไปที่การจัดดิสเพลย์หน้าร้านโชว์คอลเลคชันใหม่ๆ และใช้สื่อหน้าร้านในการแนะนำแคมเปญต่างๆ โดยเฉพาะแคมเปญลดราคาดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาดูสินค้าอื่นๆ ในร้าน ซึ่งการลดราคาของ H&M จะใช้วิธีการลดราคาในสินค้าคอลเลคชั่นเก่าๆ และลดไปเรื่อยจนกว่าสินค้าจะหมด

นอกจากนี้ H&M ยังเน้นการทำตลาดแบบ Worldwide ใช้วิธีการทำ collaboration กับดีไซเนอร์ดังๆ ของโลกร่วมออกแบบ ทำให้สไตล์เสื้อผ้าของ H&M จะออกแนวทันสมัย และมีความกลิ่นอายความเป็นชาติตะวันตกมากกว่า Uniqlo

โดยในปี 2004 เป็นครั้งแรกที่ H&M เริ่ม collaboration กับ Karl Lagerfeld ก่อนต่อยอดไปยัง collaboration กับดีไซน์เนอร์และแบรนด์อื่นๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี และกลยุทธ์นี้ยังทำให้ยกระดับแบรนด์ H&M ดูมีคุณค่ามากขึ้นด้วย ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ทำให้แบรนด์ H&M เกิดก็ว่าได้

แม้คำว่า Fast Fashion จะดูชินชาในความรู้สึกคนไทย ความชินชานี้ทำให้แบรนด์ Fast Fashion ต้องยิ่งแข่งขันกันเอง และแข่งขันกันแบรนด์ No Name ต่างๆ ที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์ ที่บุกเข้ามาขายในโลกของออนไลน์ ในราคาที่ต่ำกว่าหรือเทียบเท่า แถมยังดูไม่เหมือนใครอีกด้วย


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online