ไม่นานมานี้ Marketeer ได้รับเชิญจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร่วมสัมผัสประสบการณ์การใช้ Krungsri QR Pay ที่ตึกม่วง (ทาเคยะ) ประเทศญี่ปุ่น ตอกย้ำ “เรื่องญี่ปุ่นต้องกรุงศรี” จ่ายเงินง่ายๆ ผ่าน QR Code ด้วย KMA – Krungsri Mobile App พร้อมกับอัปเดตความเคลื่อนไหว กลยุทธ์ การพัฒนาแพลตฟอร์ม KMA และความร่วมมือกับ MUFG ที่ทำให้เรื่องเงินเรื่องง่าย กลายเป็นจริง

Krungsri QR Pay แพลตฟอร์มชำระเงินของไทยรายแรกในญี่ปุ่น

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า “สำหรับ Krungsri QR Pay ที่กรุงศรีและ MUFG เป็นผู้บุกเบิกนำ Thai QR ไปอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวไทยในประเทศญี่ปุ่นนั้น ในระยะแรกนี้ลูกค้าสามารถใช้ KMA สแกนเพื่อจ่ายเงินเมื่อซื้อสินค้าที่ ห้างทาเคยะหรือตึกม่วง แหล่งช้อปปิ้งยอดนิยมของคนไทย เปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา”

“ปัจจุบันมีผู้ใช้ประมาณ 175 ครั้ง และมียอดใช้จ่ายอยู่ที่ราว 1.18 ล้านบาท และเติบโตขึ้นทุกเดือน คิดเป็น 2.33% เมื่อเทียบกับการชำระด้วยบัตรเครดิตที่ตึกทาเคยะ และมีโอกาสเพิ่มสัดส่วนเป็น 5-6% ในปีหน้า โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมมาก คือ กลุ่มวิตามิน เครื่องสำอาง กลุ่มขนมขบเคี้ยว และสินค้าแบรนด์เนม คาดว่าในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่คนไทยจำนวนมากนิยมเดินทางท่องเที่ยวในญี่ปุ่นจะทำให้มียอดใช้จ่ายผ่าน Krungsri QR Pay เพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง”

โดยวิธีการใช้บริการ Krungsri QR Pay นั้นง่ายแสนง่าย เพียงแค่มีบัญชีธนาคารกรุงศรีและมี KMA – Krungsri Mobile App กดสแกนจ่ายเหมือนในประเทศไทย โดยเรตราคา ณ วันนั้น ซึ่งกรุงศรีเองเครมว่าถูกกว่า counter rate และบัตรเครดิต และหลังจากจ่ายแล้วระบบจะคำนวณเป็นเงินบาทให้ทันที โดยในปีนี้ KMA มีสิทธิพอเศษให้ลูกค้าคนไทยเมื่อช้อปที่ตึกม่วง รับ 3 ต่อ คือ ต่อที่ 1 ส่วนลด 5% จากร้านทาเคยะ เมื่อมียอดซื้อตั้งแต่ 5,000 เยนขึ้นไป ต่อที่ 2 Vat refund สูงสุด 10% เมื่อมียอดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 5,000 เยนขึ้นไป และต่อที่ 3 ได้รับเงินคืน 5% จากกรุงศรีหรือสูงสุดไม่เกิน 300 บาทต่อท่านต่อเดือน

“สำหรับการขยายความร่วมมือกับร้านค้าพันธมิตรอื่นๆ นอกจากตึกม่วง ขณะนี้ธนาคารกำลังอยู่ในช่วงเจรจา เช่น ร้านดิวตี้ฟรีในสนามบิน, ABC Mart, Big Camera, ดองกี้โฮเต้, ตลาด Ameyoko และตลาด Asakusa ซึ่งร้านเหล่านี้เป็นร้านค้าที่คนไทยนิยมไปช้อปปิ้ง ตอกย้ำสโลแกนที่ว่า เรื่องญี่ปุ่นต้องกรุงศรี”

นอกจากโมบายแอปจาก KMA แล้ว Krungsri QR Pay ยังเปิดให้โมบายแอปจาก Bualuang mBanking ธนาคารกรุงเทพ, SCB EASY ธนาคารไทยพาณิชย์ และ K+ ธนาคารกสิกรไทย ได้ใช้แพลตฟอร์ม Krungsri QR Pay และในอนาคตเปิดรับทุกธนาคารที่พัฒนา QR ฟีเจอร์ให้สามารถรองรับ QR ต่างประเทศได้

Krungsri ผนึกกำลังกับ MUFG สนับสนุน Thai QR Payment สู่เวทีโลก

อัปเดตความสำเร็จ KMA

ด้านสถานการณ์ของ KMA – Krungsri Mobile App เอง คุณฐากรได้อัปเดตว่า ณ สิ้นไตรมาส 3/2562 อยู่ที่ 3.8 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2561 ถึง 52%

“KMA ยังคงเร่งเครื่องพัฒนาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การทำเรื่องเงินให้เป็นเรื่องง่ายให้กับลูกค้ากรุงศรีอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สะท้อนจากตัวเลขจำนวนผู้ใช้งาน KMA ใน Q3 ของปี 2562 นี้ มีผู้ใช้บริการราว 3.8 ล้านราย เพิ่มขึ้นประมาณ 52% จากปี 2561 และคาดว่าจะขยับเป็น 4 ล้านรายภายในสิ้นปี นอกจากนี้ ปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน KMA ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวกัน โดยใน Q3/2562 ปริมาณธุรกรรมผ่าน KMA มีปริมาณถึงกว่า 1,300 ล้านรายการ หรือเพิ่มขึ้นราว 30% จากสิ้นปี 2561 โดยมีจำนวนธุรกรรมสงสุด 10.6 ล้านรายการต่อวัน สะท้อนถึงความสำเร็จในการพัฒนาฟังก์ชันและบริการบน KMA ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน KMA คิดเป็นสัดส่วนจำนวน 87% ของปริมาณธุรกรรมทั้งหมดที่ทำผ่านทุกช่องทาง”

โดยธุรกรรมยอดนิยมใน 9 เดือนแรกของปี 2562 คือ เช็กยอด 959 ล้านครั้ง/ ดูรายการเดินบัญชี 108 ล้านครั้ง/ โอนเงิน 71 ล้านครั้ง/ จ่ายบิล 9.5 ล้านครั้ง/ เติมเงิน 9.3 ล้านครั้ง และกดเงินไม่ใช้บัตร 5.5 ล้านครั้ง ส่วนธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินอย่างติดต่อธนาคาร ดูอัตราแลกเปลี่ยน ค้นหาที่ตั้งสาขา/ATM ธุรกรรมที่ใช้บริการสูงสุดคือ ‘กรุงศรีกิฟท์’ 4.7 ล้านครั้ง

เพิ่ม 3 ฟีเจอร์ในปลายปีนี้

เพื่อให้ตอบโจทยลูกค้าและตอกย้ำคอนเซ็ปต์ที่ว่า ‘เรื่องเงินเรื่องง่าย’ กรุงศรียังคงขยันสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอำนวยความสะดวกผู้บริโภคสม่ำเสมอ ล่าสุดปลายปี 2562 นี้ ก็ได้เพิ่มฟีเจอร์มาอีก 3 ฟีเจอร์ บน KMA

“ลูกค้าคือหัวใจและศูนย์กลางที่เรานึกถึงในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นที่กรุงศรี ใน Q4/2562 นี้ กรุงศรีพร้อมเพิ่มบริการอีก 3 ฟังก์ชันใหม่บน KMA ได้แก่ e-savings, KMA Marketplace และ Travel Insurance ซื้อกรมธรรม์ประกันการเดินทางออนไลน์ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีและเชื่อว่าจะส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งาน KMA เพิ่มขึ้นอีก 30%”

1. e-savings เปิดบัญชี “ออมทรัพย์ มีแต่ได้” ออนไลน์ สำหรับลูกค้าปัจจุบันของกรุงศรี โดยสามารถเปิดบัญชีง่ายๆ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถเปิดบัญชีใหม่ได้ผ่าน KMA ไม่จำเป็นต้องไปที่สาขา เพียงกรอกข้อมูลและถ่ายภาพบัตรประจำตัวประชาชนและถ่ายภาพเซลฟี่เพื่อยืนยันตัวตน ไม่ต้องพกสมุดบัญชี ซึ่งช่วยลดเวลาในการทำธุรกรรมเปิดบัญชีลงถึง 83% และในช่วง พ.ย. ธนาคารจะสามารถให้บริการเปิดบัญชีเงินฝาก e-savings ผ่าน KMA โดยจะทำการพิสูจน์ตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-KYC ผ่านการเชื่อมต่อจาก บริษัท National Digital ID (NDID) สำหรับลูกค้าทั่วไป

2. KMA Marketplace ที่จะทำให้ KMA เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมดีลดีๆ จากพันธมิตรแบรนด์ชั้นนำให้ลูกค้าได้ซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยโปรโมชั่นพิเศษ แมคโดนัลด์ พิซซ่า เมเจอร์ฯ และ His เป็นต้น

3. Travel Insurance บริการซื้อประกันเดินทางออนไลน์ ซื้อง่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา รับความคุ้มครองทันที โดยลูกค้าสามารถเลือกแผนประกันที่ชอบได้เองและซื้อได้สูงสุดถึง 5 กรมธรรม์

“กรุงศรีได้วางกลยุทธ์การดำเนินงานของ KMA ในปี 2562 อย่างชัดเจนภายใต้ 3 แกนหลัก คือ Simple Acquisition, Simple Services และ Simple Marketing ซึ่งส่งผลให้ทุกบริการบน KMA ล้วนได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน อาทิ บริการเปิดบัญชีกองทุนผ่าน KMA และเลือกซื้อกองทุนได้จากหลากหลาย บลจ. มียอดธุรกรรมเฉลี่ยราว 15,000 ครั้งต่อเดือน บริการกองทุนสำหรับการลงทุนแบบประจำเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนและสร้างวินัยการออมจำนวน 5,000 ธุรกรรมต่อเดือน บริการสมัครบัตรเครดิตผ่าน KMA ทราบผลทันที มีจำนวนผู้สมัครราว 20,000 บัญชี และบริการ Facebook Pay by KMA ที่ช่วยให้การซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊กเป็นเรื่องง่ายขึ้น มีผู้ใช้งานแล้วจำนวน 500 ครั้ง ยอดใช้จ่ายอยู่ที่ 500,000 บาท”

มาถึงตรงนี้ กรุงศรีได้พิสูจน์แล้วว่า ธนาคารกรุงศรี คือ ผู้นำด้านดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรมตัวจริง และเมื่อจับมือกับ บริษัท มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป มหาชน จำกัด หรือ MUFG สถาบันการเงินที่มีความมั่นคงระดับโลกและเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในโลกแล้ว ก้าวต่อไปของกรุงศรีจึงมีแต่ความมั่นคง

 

 

 

 

 

 

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online