เงินบาทแข็ง ผลกระทบสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ ส่อไทยเกิดวิกฤติ

‘เงินบาทแข็งค่า’ สัญญาณการเงินไทยส่อวิกฤต นับจากปี 2009 หนึ่งในประเด็นที่ต้องจดจำในปี 2562

โดยเฉพาะธุรกิจขา ‘ส่งออก’ ทั้งหลาย ผู้ประกอบการแบรนด์เล็กแบรนด์น้อย SME กระทั่งแบรนด์ใหญ่ที่รายได้ลดลงฮวบๆ

รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณชะลอตัว เพราะ ‘กำลังซื้อ’ ของนักท่องเที่ยวหด เมื่อเจอเรตแรกเงินที่ไม่คุ้มค่า

เนื่องจากคีย์เวิร์ดของเศรษฐกิจโลกและไทยปีนี้คือ ‘สงครามการค้า’ ของ 2 มหาอำนาจ จีนและสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบถึงทั่วโลก

สาระสำคัญของ Trade War คือ ‘กำแพงภาษี’ ซึ่งกระทบทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก ทำให้หลายประเทศเสียต้นทุนการผลิตและบางประเทศแทบจะชะลอการลงทุนไปไม่มากก็น้อย

ในปี 62 นี้ท่าทีของแบงก์ชาติที่มีต่อบาทแข็งก็เห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘น่าเป็นห่วง’ เพราะนั่นหมายถึงหน้าที่ของแบงก์ชาติในฐานะสถาบันการเงินที่ต้องสร้างสมดุลกับเรื่องนี้

อ่าน มติแบงก์ชาติ เห็นพ้อง กังวล ‘บาทแข็ง’

แต่แบงก์ชาติก็ไม่ได้นิ่งเฉยกับเรื่องนี้ เพราะล่าสุด กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ต่อปี ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำสุดนับจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2009 (พ.ศ. 2552)

ความจริงแล้วสัญญาณดอกเบี้ยชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจากเดิมอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75% ต่อมาเดือนสิงหาคม 62 เหลือ 1.50% ก่อนจะปรับลงอีก 0.25%

เหตุที่ต้องลดดอกเบี้ยเพราะต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน ทำให้คนต้องการจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ล้อกับเศรษฐกิจที่โตไม่เป็นไปตามเป้า นั่นคือ GDP ไม่ถึง 3%

แม้ค่าเงินบาทของไทยจะอยู่ที่ราว 30 กว่าๆ (อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนของแบงก์ชาติ วันที่ 24 ธ.ค. 62) และมีหลายเสียงเห็นว่าค่าเงินบาทน่าจะไม่หลุดที่ต่ำกว่า 30 บาท

เงินบาทแข็ง พอหรือยัง ?

แล้วเงินบาทจะหลุด 30 หรือไม่-ประเด็นนี้ ตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ต และกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เคยออกมาคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะลงไปที่ 29.50 บาทต่อเหรียญ หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อและเศรษฐกิจดูไม่มีทีท่าจะเป็นบวก

  2561 2562
  มิ.ย. (ครึ่งปี)
อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ 4.1 3.3
การบริโภคภาคเอกชน 4.6 3.8
การลงทุนภาคเอกชน 3.9 3.8
การอุปโภคภาครัฐ 1.8 2.2
การลงทุนภาครัฐ 3.3 3.8
ปริมาณการส่งออกสินค้า

และบริการ

4.2 0.3
ปริมาณการนำเข้าสินค้า

และบริการ

8.6 0.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์) 32.4 29.1
มูลค่าการส่งออกสินค้า 7.5 0.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า 13.7 -0.3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 1.1 1.0
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.7 0.7
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ล้านคน) 38.3 39.9

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยช่วงสิ้นปีว่า ‘ประเทศไทย’ จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าต่อ ซึ่งนอกจากกระทบภาคการส่งออกแล้ว ยังลามไปถึงภาคการท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชน รวมถึง ‘การจ้างงาน’ ในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

จุดแข็งของเศรษฐกิจคือ ‘ภาคเอกชน’ แต่ปัจจุบันจุดแข็งของเศรษฐกิจไทยก็กำลังเผชิญความท้าทายเช่นเดียวกัน

อ่าน “SCB” มอง Trade War ยืดเยื้อ ภาคธุรกิจอ่วม แต่ภาครัฐพอประคองไหว

เศรษฐกิจไทยจะได้รับลูกหลงจากต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ แถมเป็นผลกระทบที่ควบคุมไม่ได้ ทำได้อย่างมากคือรับมือและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากที่สุด

‘บาทแข็ง’ เป็นเรื่องร้อนใจตั้งแต่เริ่มๆ สงครามการค้า มาปะทุหนักขึ้นในปี 2562 และเรื่องราวนี้ยังไม่สิ้นสุดว่าจะลงเอยอย่างไร

ส่วนตัวเลข GDP ไตรมาส 3/62 ก็ขยายตัวเพียง 2.4% ซึ่งผิดคาดกับคนในแวดวงเศรษฐกิจทั้งหลายที่เคยมองว่าอย่างต่ำก็ 2.5%-3%

ไม่แน่ว่าปีหน้าสถานการณ์ทั้งเศรษฐกิจโลกและไทย อาจมีสิ่งที่คาดไม่ถึงให้หักปากกาเซียนอีกก็เป็นได้

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online