มีมากมายหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ส่งเสริมให้ Campaign มีความน่าสนใจ เพิ่มความมีส่วนร่วม และยังช่วยให้เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งการทำให้เป็นเกมส์หรือผ่านเกมส์ (Gamification) โดยเฉพาะบน Mobile Device ต่างๆ คือหนึ่งในวิธีที่ถูกนำมาใช้กันมากขึ้นและมีแนวโน้มจะทวีความนิยมมากขึ้นไปอีกในอนาคต

ตามการประเมินของ marketsandmarkets – Website ที่รวบรวมข้อมูลและให้คำปรึกษาทางการตลาดในหลายวงการระบุว่า เมื่อถึงปี 2020 ตลาด Gamification ทั่วโลกจะขยายตัวจนมีมูลค่ามากถึง 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 341,000 ล้านบาท) นี่จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถมองข้ามพลังแห่งความสนุกบน Mobile Device และ Platform ต่างๆ ได้อีกต่อไป

เลือกเกมส์ให้โดนใจ : ประเด็นแรกที่ควรคำนึงถึงเมื่อจะนำ Gamification มาใช้กับ Campaign และ Promotion ต่างๆ คือ ตัวเกมส์ ทั้งเนื้อหาและรูปแบบ สอดคล้องกับรสนิยมและความชอบของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ขณะเดียวกันการแทรกเนื้อหาหรือ Logo ของแบรนด์ (Tie-In) ก็ควรมีความแนบเนียน และไม่รบกวนการเล่นเกมส์จนเกินไป เช่นถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นที่หลงไหล Motor Sport เกมส์ที่ใช้อาจเป็นการแข่งจักรยานต์ความเร็วสูง เพราะถ้าผิดตั้งเลือกเกมส์ ทุกอย่างที่ตามมาก็จะผิด จะพังทั้งหมดไม่ต่างจากใส่เสื้อแล้วติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก ที่ต้องเสียเวลามาไล่ติดกระดุมใหม่ทั้งหมด

ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม : องค์ประกอบสำคัญถัดมาที่จะตัดสินว่า Gamification Campaign นั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ คือเทคโนโลยีที่ใช้ เพราะ Campaign ลักษณะนี้เป็นการสร้างประสบการณ์ และถ้าเกิดจุดสะดุดแม้เพียงเล็กน้อย อาจเป็นเหตุให้ความน่าสนใจลดลง ส่วนเทคโนโลยีร่วมสมัยอื่นๆ อย่าง การสื่อสารระยะใกล้ (NFC) และการระบุตำแหน่งผ่านคลื่นวิทยุ (RFID) ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะช่วยให้การสัมผัสประสบการณ์ Gamification สะดวก ไม่ยุ่งยากและคล่องตัว

สร้าง Engagement ด้วยวิธีสุด Create : ในเมื่อจุดประสงค์หลักของ Gamification คือความสนุก ดังนั้นเพื่อสร้างความมีส่วนร่วม (Engagement) จึงต้องใส่ความสร้างสรรค์เข้าไปด้วย พร้อมกันนี้ระหว่างออกแบบ Campaign ควรนำข้อมูลเชิงลึกด้านจิตวิทยามาใช้ประกอบกันด้วย เช่น แสดงแต้มของผู้ชนะให้คนทั่วไปได้เห็นเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในโลกเสมือน มี Item ต่างๆ ที่ช่วยให้เกมส์สนุกและเล่นต่อไปอีกเป็นเวลานาน สอดคล้องกับผลการศึกษาของหนังสือ Gamification by Design ที่ว่าเคล็ดลับความสำเร็จของ Gamification 75% มาจากข้อมูลจากจิตวิทยา ส่วนอีก 25% มาจาก Technology

มีรางวัลไว้จูงใจ : ขึ้นชื่อว่าเกมส์ไม่ว่าเป็นประเภทใด รางวัลและสิ่งจูงใจต่างๆ เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้ผู้เล่นรู้ว่าเมื่อเล่นจบจะได้อะไร โดยในบริบทของ Campaign นี่คือแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมที่เพื่อการรางวัลจากแบรนด์ เช่น ของที่ระลึก ส่วนลด Gift Voucher หรือ Promotion ลด-แลก-แจก-แถมตอบแทนเมื่อกิจกรรมจบ โดยที่ฝั่งแบรนด์ได้ข้อมูลโดยตรงจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ตามเงื่อนไขการให้และรับ (Give and Take)

นำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอด : เพราะทุก Campaign มีค่าใช้จ่าย เมื่อทำแล้วต้องคุ้มงบประมาณที่ทุ่มไปและต้องได้อะไรคืนกลับบ้าง สำหรับ Gamification Campaign สิ่งสำคัญที่สุดที่แบรนด์ต้องการคือข้อมูลโดยตรงจากผู้บริโภค ซึ่งเกิดขึ้นแบบตามเวลาจริง (Real Time) และแตกต่างกันไปเฉพาะบุคคล (Personalized) โดยทั้งหมดถือเป็นข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่ควรถูกนำไปต่อยอด สร้าง พัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น / marketingprofs

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online