ร้านสะดวกซื้อที่เกาหลี แข่งให้สุดแล้วไปหยุดที่เดลิเวอรี่ (วิเคราะห์)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนี่งในเซกเมนต์ของตลาดค้าปลีกไทยที่มีการแข่งขันกันสูงคือ “ตลาดร้านสะดวกซื้อ” ที่หันไปทางไหนก็เจอ เดินห่างไปไม่ไกลก็มีแต่ร้านให้เราเข้าไปซื้อของเต็มไปหมด

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่เปลี่ยนไป ต้องการความเร็ว และความสะดวก รวมทั้งการขยายสาขาด้วยการขายแฟรนไชส์ ทำให้ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อในไทยมีกว่า 18,000 สาขา

และร้านที่ครองส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาดนี้ไม่ใช่ใครอื่นนั่นก็คือ “7-Eleven” ของตระกูลเจียรวนนท์ ที่บริหารโดยบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) เพราะแค่เจ้าเดียวก็มีสาขา ณ สิ้นไตรมาส 3/2562 ที่ 11,640 สาขาเข้าไปแล้ว

ตอนนี้แต่ละเจ้าต่างหากลยุทธ์มาแข่งขันกันมีครบจบในที่เดียว มาทั้งทีต้อง “สะดวก” ที่สุด เห็นได้จากล่าสุดทั้ง เซเว่นฯ แฟมิลี่มาร์ท ท็อปส์เดลี่ ต่างผุดบริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ 24 ชม. ให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้ลองไปใช้บริการ

ขณะที่ในประเทศไทยตลาดร้านสะดวกซื้อน่าจะยังพอมีช่องขยายตัวได้ เพราะหากเทียบจากความหนาแน่นของร้านสะดวกซื้อต่อประชากรในไทยจะพบว่า 1 สาขา ต่อประชากร  3,697 คน

ขณะที่ประเทศในเอเชียอย่าง “เกาหลีใต้” ที่มีมูลค่าตลาดร้านสะดวกซื้อราว 23 ล้านล้านวอน หรือราว 2.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ พบว่ามีร้านสะดวกซื้อหนาแน่นที่สุดในโลกเมื่อวัดจากความหนาแน่นของจำนวนร้านต่อพื้นที่

โดยปัจจุบันเกาหลีใต้มีร้านสะดวกซื้อกว่า 40,000 สาขา ซึ่งหากเทียบความหนาแน่นต่อจำนวนประชากรจะคิดเป็น 1 สาขาต่อประชากร 1,417 คน เรียกได้ว่ากำลังถึงจุดอิ่มตัว

สิ่งที่ผู้ประกอบการ ร้านสะดวกซื้อที่เกาหลี ทำร่วมกันคือ มีการตั้งข้อกำหนดระยะห่างในการตั้งสาขาของทั้งแบรนด์เดียวกัน และแบรนด์คู่แข่ง เพื่อลดความกดดันและความหนาแน่นของร้านสะดวกซื้อในพื้นที่เดียวกัน

เพราะมีสาขามาก แบรนด์เหล่านี้ก็เลยต้องหากลยุทธ์ใหม่ที่จะดึงลูกค้าให้มาใช้บริการ มียอดใช้จ่ายต่อบิลมากขึ้น

แล้วร้านสะดวกซื้อในเกาหลีใต้ใช้วิธีไหน…

นอกจากจะแข่งกันด้วยการเพิ่มเซอร์วิสใหม่ๆ การการันตีคุณภาพอาหาร เพิ่มเทคโนโลยีเข้ามาใหม่จำพวกเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ร้านค้าไร้พนักงานเพื่อมุ่งไปเป็นร้านค้าปลีกแห่งอนาคต

อีกหนึ่งคำตอบของร้านเหล่านี้คือการเปิดบริการ “เดลิเวอรี่” ที่กำลังร้อนแรงในตลาดร้านสะดวกซื้อในเกาหลีใต้ เพราะเจ้าใหญ่ TOP4 ของตลาดต่างลงมาเปิดบริการเพิ่มเซอร์วิสเดลิเวอรี่กันหมดแล้ว

แล้วแต่ละเจ้าเปิดบริการเดลิเวอรี่แบบไหน อย่างไร

CU ภายใต้การดูแลของ BG Fretail และเป็นธุรกิจร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ จับมือกับ “Yogiyo” แพลตฟอร์มบริการสั่งอาหาร โดยมีเปิดบริการเดลิเวอรี่แล้ว 3,000 สาขาทั่วประเทศ

และยังตั้งเป้าภายในไตรมาสแรกของปีนี้ร้าน CU จะมีบริการเดลิเวอรี่เพิ่มเป็น 5,000 สาขา

GS25 แบรนด์เบอร์สองในตลาดสะดวกซื้อที่อยู่ในเครือ GS Retail ที่ล่าสุดเพิ่งเปิดตัวบริการเดลิเวอรี่กับร้านสาขา 7 แห่งในกรุงโซล กับแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ “Coupang Eats” ภายใต้บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Coupang Inc. ก่อนที่จะขยายการให้บริการไปร้านสาขาทั่วประเทศ

ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้ากว่า 200 รายการ และให้ไปส่งที่บ้าน รวมทั้งสั่งอาหารกลางวันจำพวกแซนด์วิช และเครื่องดื่มที่มีวางจำหน่ายในร้านได้อีกด้วย

ซึ่งก่อนหน้านี้ GS25 ได้เปิดตัวบริการจัดส่งสำหรับร้านค้าผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อย่าง Yogiyo เมื่อ เม.ย. ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก ในระยะเวลา 9 เดือนนับตั้งแต่เปิดให้บริการมีออเดอร์เฉลี่ยต่อเดือนราว 3,000 ออเดอร์

ในเดือนเมษายนปีที่แล้ว

emart24 น้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดเมื่อปี 2014 อยู่ภายใต้การดูแลของเครือ Shinsegae ก็ได้เปิดให้บริการเดลิเวอรี่กับร้านสาขา 35 แห่ง ตั้งแต่ช่วงต้นปี

 

/// retailnews.asia, koreabizwire, asia.nikkei

ก่อนหน้านี้ร้านสะดวกซื้อในเกาหลีใต้ทั้ง CU, GS25, emart24 ปรับโมเดลการทำธุรกิจจากที่เปิดบริการ 24 ชม. เริ่มหันมาเปิดปิดร้านตอนช่วงเวลากลางคืนในสาขาที่ทำรายได้ไม่ตามเป้า

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online