ในวันนี้ถ้าเราสร้างคลิปวิดีโอขึ้นมาสักคลิปหนึ่ง แล้วต้องการหารายได้จากสิ่งที่เรานั้นสร้างขึ้นมา หลายคนคงนึกถึง YouTube เป็นอันดับแรก ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถอัพโหลดคลิปขึ้นไป แล้วรอรับรายได้ที่มาจากค่าโฆษณา

แม้จะเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่กว่าจะมีรายได้ที่มากพอก็ต้องใช้เวลาพอสมควร การจะมีรายได้ 10,000 บาท คลิปนั้นจะต้องมียอดชมสูงถึง 1,000,000 วิว ซึ่งไม่สามารถบอกได้เลยว่า จะต้องใช้เวลากี่วันถึงจะไปตรงจุดนั้นได้

แต่ถ้าวันนี้มีทางเลือกใหม่ที่จะช่วยให้คุณสามารถหารายได้ ที่เกิดจากคลิปที่สร้างขึ้นมา ได้ง่ายกว่าเดิมมีใครสนใจกันไหม ?

Marketeer ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ปิยนันต์  ชวเลขยางกูร  CEO, นฤมล ชวเลขยางกูร Co-Founder & COO, ณัฐพร  สุชาติกุลวิทย์ Co-Founder & CMO และ ชัยภร กิติพรเกษม  Chief Innovation and Product officer (CIPO) ของ “LiveLoom”

ทั้งหมดนี้จะมาช่วยเล่าถึงที่มาที่ไป และความแตกต่างของ “LiveLoom” แพลตฟอร์มที่จะเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการรับชม Video Content รวมไปถึงเป็นแหล่งรวบรวม Video Content ที่แตกต่าง และหลากหลาย มากมายจากทั่วโลก

เรียงจากซ้ายไปขวา – ชัยภร กิติพรเกษม, ปิยนันต์ ชวเลขยางกูร, นฤมล ชวเลขยางกูร และ ณัฐพร สุชาติกุลวิทย์

จุดเริ่มต้นของ “LiveLoom”

“LiveLoom”มีจุดเริ่มต้นมาจากที่เดิมบริษัททำเกี่ยวกับ Video Solution อยู่แล้ว โดยเริ่มจากการทำ Live Stream ที่มีชื่อว่า “Thai Livestream” การันตีด้วยผลงานกว่า 800 อีเวนท์ ซึ่งเชื่อว่าการถ่ายทอดสดของงานอีเวนท์ใหญ่ ๆ ใน Facebook กว่า 70% คือฝีมือของทีมนี้ทั้งนั้น

ต่อจากนั้นจึงขยับมาจำหน่ายและให้เช่าอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิดิโอ พร้อม ๆ รับทำ Video Platform ให้ทั้งองค์กรเอกชนและหน่วยงานราชการมาหลายงาน ทว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่มองว่า งานที่กำลังทำอยู่มีความแข็งแรงและเชี่ยวชาญพอแล้ว จึงถึงเวลาที่ขยับขยายเสียที

ในช่วง 2 ปีหลัง เราเห็นว่า Video Platform ที่ทำให้คนอื่นไปมาก สามารถนำมาทำให้โตแบบสตาร์ทอัพได้ จึงเพิ่มเป็น Business Units ตัวที่ 3 เพื่อทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ คือ เราเชี่ยวชาญด้านวีดิโอ มีทีมและอุปกรณ์ที่พร้อมอยู่แล้ว จึงเกิดเป็นแพลตฟอร์ม ที่ชื่อว่า“LiveLoom”

รู้จัก “ LiveLoom ”

ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ LiveLoom คือ Pay-Per-View Video Platform สำหรับเจ้าของคอนเทนต์เพื่อสร้างรายได้ การถ่ายทอดสดหรืออัพโหลดวิดีโอ และเปิดให้ผู้ชมทั่วไปเข้ามาจ่ายเงินเพื่อรับชมคอนเท้นท์นั้น ๆ

ซึ่ง “LiveLoom” ถือเป็น Video Platform ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกนี้ เพราะเดิมที่มีอยู่ถ้าไม่ให้ดูฟรีไปเลย ก็จะเป็นแพลตฟอร์มที่จะเข้าไปดูจะเป็นแบบ Subscription คือต้องสมัครสมาชิกและค่าชำระค่าบริการเป็นรายเดือนก่อน แล้วค่อยดูแบบบุฟเฟ่ต์ แต่ยังไม่มีแพลตฟอร์มไหนที่ให้เลือกจ่ายเป็นคลิป ๆ ไป

ดังนั้น “LiveLoom” จึงเข้ามาในช่องวางที่มีอยู่ โดยมาพร้อมกับจุดแข็งอันหลากหลาย ทั้งผู้ผลิตมีเครื่องมือในการสร้าง Video Platform หรือช่องทางสำหรับสร้างรายได้ของตนเอง โดยเป็นช่องทางในการเผยแพร่ Video Content ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับชมได้ทั่วโลก

อีกทั้งยังสามารถหารายได้จาก  1.ขายบัตรเข้าชม Livestream รูปแบบ Pay-Per-View (PPV), 2. Video on Demand (VOD), 3. การระดมทุนเพื่อบริจาค (In-Video Donations) โดยที่ผู้ผลิตไม่ต้องลงทุน หรือเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่สำคัญยังสามารถติดตามผู้รับชมและยอดขายได้แบบ Real-time นอกจากนี้ “LiveLoom” ซัพพอร์พผู้ผลิตทั้งข้อมูล ผู้ซื้อ และ Report ครบถ้วน สามารถนำไปต่อยอดทำ Marketing ได้

“LiveLoom” จึงเหมาะกับบรรดาครีเอเตอร์ที่ต้องการมีรายได้จาก Video Content ซึ่งเมืองไทยเองก็มีครีเอเตอร์เก่งๆมากมาย แต่ยังขาดพื้นที่ในการนำเสนอ และแรงจูงใจในสรรสร้างผลงาน โดยขณะนี้ทาง “LiveLoom”ติดต่อกับครีเอเตอร์ระดับท็อปของเทืองไทย ทั้งดนตรี ภาพยนตร์ การศึกษา หรือคอนเทนต์ประเภทอื่น ๆ เพื่อเข้ามาใน“LiveLoom”ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะมีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว ทำให้“LiveLoom”ก็จะค่อย ๆ เป็นที่รู้จักของกลุ่มครีเอเตอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ

ปรกติแล้วหากต้องการรายได้ 10,000 บาทใน YouTube จะต้องมียอดเข้าชมทั้งหมดสูงถึง 1,000,000 วิว ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ค่อนข้างยากมาก แต่ถ้าเข้าร่วมกับ LiveLoom คนสร้างสามารถกำหนดราคาเองได้ ว่าต้องการมากน้อยแค่ไหน

ถ้าเกิดคิดว่าคอนเทนต์ที่ทำขึ้นมาหายาก และไม่มีใครทำขึ้นมาได้ ครีเอเตอร์ก็สามารถกำหนดราคาเองได้เลย โดยที่ทาง LiveLoom จะคิดค่าบริการแบบ Fair Revenue Share โดยจะคิดส่วนค่าใช้บริการ 10-30% แทนที่จะคิดเป็นอัตราคงที่เหมือนที่อื่น ๆ ยิ่งสร้างรายได้มากก็จะต้องจ่ายน้อยลง

คนไทยพร้อมที่จะจ่ายแล้ว สำหรับ Content ดีมีคุณภาพ

อย่างไรก็ตามถึง “LiveLoom” จะออกแบบมาเพื่อทำให้ บรรดาครีเอเตอร์สามารถหารายได้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังต้องเผชิญความท้าทายที่ว่า คนไทยพร้อมที่จะจ่ายเงินแล้วหรือยัง ?

ทั้ง 4 ท่านมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ในปีนี้สิ่งที่เห็นอย่างหนึ่งคือ ทุกอย่างที่อยู่ในโลกของออนไลน์กำลังเติบโตทั้งหมด ทั้งการซื้อสินค้า สั่งอาหาร หรือแม้กระทั่งจ่ายเงินเพื่อเล่นเกม เรามองว่าEcosystemพร้อมแล้ว

ส่วนในด้านของพฤติกรรมเนื่องจากว่า ไม่เคยมีใครนำวิดีโอที่เป็นดิจิทัลฟอร์แมตมาขาย เมื่อก่อนจะคนจะซื้อวิดิโอในรูปแบบของแผ่น จับต้องได้ ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อรับชม แต่วันนี้เราแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของโลกทั้ง Spotify หรือ Netflix เข้ามาในเมืองไทย ก็มีคนยอมจ่ายเพื่อเสพดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งจุดนี้เรามองว่า คนไทยมีพฤติกรรมที่พร้อมจ่ายแล้ว

ฉะนั้นแล้วเมื่อคนไทยพร้อมที่จะจ่ายเงินแล้ว ความท้าทายของเราจึงอยู่ที่ว่า ต้องทำให้ครีเอเตอร์มีรายได้จริง ๆ  และยั่งยืน เป็นแพลตฟอร์ที่มีความเสถียร ปกป้องคอนเทนต์ของตัวเองได้ ดูแลคอนเทนต์ของลูกค้า เนื่องจากคอนเทนต์ก็เหมือนสินค้าที่ถูก Delivery เราต้องมั่นใจว่าคอนเทนต์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายของครีเอเตอร์ด้วย สร้างรายได้และเติบโตขึ้นไป

ซึ่งที่สุดแล้วในความภูมิใจคือคนไทยสามารถทำคอนเทนต์ ไปขายยังต่างประเทศได้ เหมือนเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับดิจิทัลอีโคโนมี่

ต้องเป็น Video Marketplace

ทั้งนี้ “LiveLoom” ไม่ได้วางตัวเองว่าจะต้องอยู่ภายในประเทศเท่านั้น เพราะมองว่า คอนเทนต์ของไทยก็สามารถเข้าถึงกลุ่มคนในประเทศอื่นได้ ในขณะเดียวกันครีเอเตอร์ในประเทศอื่น ๆ ก็สามารถทำให้ผู้ชมในประเทศอื่นดูได้เช่นกัน

และด้วยการคิดแบบ Startup จึงวางเป้ามายที่จะทำให้ตัวเองเป็น “Video Marketplace” ที่มีฟังก์ชั่นและฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับวิดิโอทุกอย่างภายใน 5 ปีต่อจากนี้

โดยเริ่มจากเป้าหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน แล้วค่อยขยัยไปเอเชีย แล้วค่อยไปถึงระดับโลก

ซึ่งจริง ๆ แล้ว “LiveLoom” คือ 1 ใน 10 ทีม Startup ที่ได้เข้าร่วมโครงการ Digital Ventures Accelerator ของดิจิทัล เวนเจอร์ส ซึ่งกำลังจะแสดงผลงานด้วยการนำเสนอธุรกิจ ต่อหน้าคณะกรรมการชั้นนำจากต่างประเทศ สื่อมวลชน และนักลงทุนที่งาน DVAb1 Demo Day วันที่ 29 มีนาคม 2018 นี้

โดยร่วมชมและให้กำลังใจทีมที่ชื่นชอบไปด้วยกัน ผ่าน Facebook Live ที่เพจ Digital Ventures

 


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online