เกิดอะไรขึ้นบ้างบนโลกดิจิทัลในปีที่ผ่านมาและอะไรจะเป็นเทรนด์ ที่มีอิทธิพลในปี 2018 ยุทธิพงศ์ จิว Digital PR Marketing Group Head บริษัท IPG Mediabrands Thailand ได้สรุปในแต่ละเรื่องต่างๆรอบตัวไว้อย่างน่าสนใจใน 10 เรื่อง

1.ต้องหา mass ที่เป็น segments ให้เจอ

เพราะลูกค้าจะถูกแบ่งเป็นเซ็กเมนต์มากขึ้น ในเมื่อวันนี้ใครๆก็สร้างคอนเทนต์ได้ และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วลูกค้าเราอยู่ตรงไหน กำลังเสพคอนเทนต์แบบไหน

ต้องยอมรับว่าดิจิทัลคือ mass อย่างเช่นปี 2017 ตอน google ประกาศผลเรื่องคำค้นหาหรือเพลงฮิตซึ่งเพลงพวกนั้นหลายคนอาจจะไม่รู้จักเลยเกินครึ่งแล้วเพลงที่ขึ้นอับดับ 1 คือเพลงของค่ายอิสระที่มีวิว 200 กว่าล้านวิว เป็นเพลงแนวอินดี้มากๆ ซึ่งคนฟังเป็นmassรากหญ้า

“เป็นปีแรกที่ผมรู้สึกว่ามีคนกลุ่มนี้อยู่ในโลกเดียวกับเราไม่คิดว่าคนกลุ่มนี้มีตัวตนมากขนาดนี้ สมัยก่อนเรายังคิดว่าคนใช้อินเทอร์เน็ตคือคนกรุงเทพ แต่พอมาเจอ mass กลุ่มนี้ซึ่งเป็นคนท้องถิ่น
รู้เลยว่าไม่ใช่แล้ว”

เราจะรู้กันว่าคนญี่ปุ่นมี subculture ค่อนข้างเยอะ ซึ่งวันนี้ประเทศไทยก็เช่นกัน จะมีกลุ่มคนที่รักอะไรสักอย่างก็จะรักมากไปเลย ในขณะที่คนไม่รู้จักก็จะไม่รู้จักเลย ซึ่งเราต้องเจาะกลุ่มคนตรงนี้ให้ได้ แล้วต้องหาช่องทางการสื่อสารให้เจอ

2.Content Influencer ยังคงมาแรง

แต่จะเปลี่ยนเป็น Segments ของ Influencer มากขึ้น ประเทศไทยมีแฟนเพจประมาณ 150,000 เพจ ซึ่งถ้าแค่คิดว่าเป็นเพจที่เป็นInfluencer ครึ่งหนึ่งก็จะประมาณ 70,000 เพจ เฉพาะแค่บน Facebook ยังไม่นับรวม Instagram, Twitter,Youtube ที่มี Influencer เต็มไปหมด บางครั้งการใช้ mass influencer ที่มี follower จำนวนมากเป็นแสน เป็นล้าน อาจจะกว้างเกินไป สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดต้องการสื่อสารด้วย และทำให้ influencer คนเดิมๆโปรโมตสินค้าในหมวดเดียวกันของหลายๆ brand

ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องบิวตี้ ความสวยความงาม เช่นสายป่านจะเป็นแนวรากหญ้า สอดอสไตล์ก็อีกรูปแบบหนึ่ง หรือแม้กระทั่งจือปากก็เป็นอีกแบบ หรือในเรื่องการท่องเที่ยวของคนไทยก็จะมีเพจท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆที่มีเซ็กเมนต์ย่อยลงไปอีกเช่น เที่ยวราคาถูก เที่ยวคนเดียว เที่ยวเป็นกลุ่มเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

3.พลังดารายังขายได้

แต่จะเปลี่ยนจากการใช้ไอจีมาสร้าง Facebook แฟนเพจมากขึ้น เช่นอั้ม (พัชราภา) ก็เริ่มหันมาทำ Content บน Facebook จากที่เคยอยู่แต่บนไอจี หรืออย่างวีเจจ๋า ที่ทำรายการท่องเที่ยว หรือพลอยชิดจันทร์ ต่างก็เริ่มมาสร้าง Channel YouTube เริ่มทำเป็นลิงค์ เรื่องลูก เลี้ยงลูก 4 คน แล้วก็มาบิวท์ แฟนเพจ

“ผมว่าประชากรไอจีเองยังไม่ได้เยอะมากเต็มที่ก็ 10 กว่าล้านคน แต่ Facebook ประกาศมาแล้วว่า 44 ล้าน มีปลาเต็มไปหมด และทุกคนเริ่มเห็นแล้วว่า เฟซบุ๊กมันทำเงินได้มากกว่า”

4.จับตาดู Blogger

ลูกค้าเริ่มให้ความสำคัญอยากจะจัด Blogger Day มากขึ้น อย่าง SCB ตอนเปิดตัว Easy เขาก็ทำ Blogger Day หรือลูกค้าเรียลเอสเตทก็อยากจัด Blogger Day ลูกค้ามองว่าบล็อกเกอร์เป็นเพจที่มีอิทธิพล

“ถามว่ามีอิทธิพลเพราะว่าสำเนียงของพวก Blogger พูดหรือ Influencer พูดจะมีความเป็นเพื่อนมากกว่า ถ้าทำคอนเทนต์เดียวกันลงใน Print หรือเพจเกี่ยวกับลงทุน คนจะมาแสดงความคิดเห็นในเพจลงทุนในเชิงให้ความสนใจหรือขอคำแนะนำ มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด”

“อย่างแคมเปญล่าสุด ที่ทำให้คอนโดของสิงห์ เราก็แบ่งในส่วนของ Influencer กับ Publisher ก็เห็นชัดเจนว่าคนมามี engagement มาพูดเพราะว่าสำเนียงมันดูเหมือนเพื่อนแต่สื่อไม่สามารถที่จะทำตัวเป็นเพื่อนได้เพราะต้องทำตัวให้
มีความน่าเชื่อถือด้วย”

Blogger จะมีความเฉพาะตัวมากขึ้นคือผู้บริโภคอาจจะเห็นคอนเทนต์จากสื่อ แล้วไปดู ว่าBlogger พูดอย่างไร แต่ก็ต้องระวังอย่าทำให้ตัวเองช้ำ คืออย่าขายของเกินไปจะอยู่ได้ไม่นาน

“ยอมรับว่าลูกค้าให้ความสำคัญมากขึ้น อยากจะขยับความสัมพันธ์กับ Blogger เช่นปีใหม่จัดงานให้หน่อยเราก็ต้องดูว่าเป็น Blogger ที่วินัยจริงๆ ไม่ใช่เป็นที่นิยมขึ้นมาเพราะความหวือหวา ชั่วคราว”

5.ขายเป็นขาย ไม่ต้องมาตีเนียน

เช่น เพจเกี่ยวกับโปรโมชั่นที่มีความชัดเจนว่าตั้งมาเพื่อขายของอยู่แล้ว คนเข้ามาก็เพื่อหาของพวกนี้อยู่แล้วอย่างเช่น “โปรไฟไหม้“ “ชี้เป้าโปรถูก” “ปั่นโปร”

 6.ได้เวลา QR Code

เมื่อหลายปีก่อนเคยคิดว่าคิวอาร์โค้ดต้องมาแน่ๆ เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะเอามาใช้ประโยชน์อะไร ถ้าจะให้เอาไปใช้ซื้อของแล้วสแกน ก็ใช้บัตรรูดหรือใช้เงินสดไปก็ได้ หาวิธีการใช้ได้น้อยมากกว่า แต่ปีนี้สถาบันการเงินต่างๆ เริ่มเอามาใช้ประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้น คาดว่า QR Code เป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่น่าจับตาในปี 2018

7.Streaming เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดในปี 2017 ปีหน้า 2018 ก็น่าจะมาแรงขึ้น

“ผมเคยรู้สึกว่าไม่เมกเซนส์เลย ทำไมเราต้องเปิดเน็ตเพื่อฟังเพลง พอปีที่ผ่านมาลองโหลดมาใช้ ก็พบว่ามันเวิร์ค ก็เลยกลายเป็นว่าฟัง spotify ฟัง joox ดู netflix หรือยูทูบอาจจะมีการออกแอปฯ ฟังเพลงออกมา ดังนั้นหลายเรื่องที่เคยคิดว่าไม่มีทาง มันได้หมดเลย ถ้าเป็นสมัยก่อน เน็ตก็ช้าแพงก็แพง เรื่องพวกนี้ไม่เวิร์คแน่”

8.ปีนี้ AR และVR เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น

Pokémon GO เมื่อปี 2016 คือปรากฏการณ์ Augmented reality หรือ AR ที่ไอเดียดีและเกมที่ไม่ยากเกินไปสำหรับการใช้งานจริง ทำให้บางประเทศยังมีการจับโปเกม่อนกันอยู่ และคาดว่าอาจจะมีลูกเล่นหรือเกมใหม่ๆเกิดขึ้นได้อีกในปีนี้

ส่วนVR (Virtual reality) ยังไม่ Mass เพราะราคายังแพงเช่น Google ออกการ์ดบอร์ดมาก็จริงแต่ยังไม่สะดวก หรือ Facebook ที่มี โอคูลัส รีฟ วิชวล เรียลลิตี้ VR แว่นตาเสมือนจริง แต่ราคายังแพงมาก ถ้าเมื่อไหร่ที่ถูกมันจะกลายเป็น Mass ไปเองโดยปริยาย

9.Voice เทคโนโลยี มาแน่ เพราะ Voice เริ่มฉลาดมากขึ้น

สมัยก่อนพูดไปยังพิมพ์ผิดๆถูกๆ แต่เดี๋ยวนี้เริ่มถูกแบบ 80/ 20 แล้วก็จะเข้ามามีบทบาทเรื่องการ search บน google ต่อไปในการทำ content อาจต้องให้support กับเรื่อง Voice Search ด้วย

“แต่ก็ยังมองไม่เห็นว่าจะทำยังไงเพราะถ้าเรานับบน SEO (Search Engine Optimization) มันยังมาจาก Text แต่ถ้าเป็น Voice จะอ่านยังไง เรายังไม่รู้แต่รู้ว่ามาแน่ๆ”

10.สุดท้าย ยุทธิพงศ์ ให้ความเห็นถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่ยังคงอยู่แน่นอ

เขามองว่าคนรุ่นใหม่ไม่ได้อ่านน้อยลง เพียงแต่ซื้อหนังสือน้อยลงมา แต่สิ่งพิมพ์ต้องเปลี่ยนรูปแบบไปมากกว่า เช่นต้องสร้างสิ่งมีความเป็นพิเศษออกมา เช่นพิมพ์เพื่อการสะสม ในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่นในปีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคต หรือใช้ความสวยงามประณีตเป็นจุดขาย อาจจะตั้งราคาสูงขึ้นแต่ยังมีกลุ่มคนที่อยากซื้อ หรือ การมี cover ที่เป็นคอนเทนต์ที่แข็งแรง ร้อยเรียงเป็นระบบ อ่านครั้งเดียวก็สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากการนำเสนอในออนไลน์ซึ่งต้องสั้นย่อยง่าย เหมือนการทานขนมที่เรียกว่า News Snack บนออนไลน์


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online