อัปเดตมาตรการภาครัฐเยียวยาโควิด-19 (อัปเดต 23 มีนาคม 2563) มีอะไรบ้าง

การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีแนวทางในการเยียวยาประชาชน 2 ประการคือ

  1. ลดราคาค่าไฟฟ้าลง 3% ตลอด 3 เดือน นับตั้งแต่บิลเรียกเก็บค่าไฟฟ้าประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563
  2. คืนค่าประกันมิเตอร์ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ

โดยค่าประกันมิเตอร์นี้จะเป็นการประกันที่การไฟฟ้าเรียกเก็บไว้เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้จ่ายไฟฟ้าในระยะเวลาที่กำหนด

ที่ผ่านมา การไฟฟ้าได้เรียกเก็บค่าประกันมิเตอร์ไว้ตามขนาดของมิเตอร์ได้แก่

มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมิเตอร์ขนาดนี้จะเป็นมิเตอร์ที่ใช้งานในบ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก

มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท มิเตอร์ขนาดนี้เป็นมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่นิยมใช้

มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท เป็นมิเตอร์ที่ใช้อยู่ในบ้านพักขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด

มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท เป็นมิเตอร์ที่บ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้

ทั้งนี้ การดูขนาดมิเตอร์สามารถดูได้จากตัวมิเตอร์ที่ติดหน้าบ้านได้โดยตรง และตัวเลขกำกับมิเตอร์ ตัวเลขที่อยู่นอกวงเล็บหมายถึงขนาดแอมแปร์ของมิเตอร์ และตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บเป็นตัวเลขที่บอกถึงกระแสไฟฟ้าที่ได้ใช้สูงสุดในช่วงเวลาสั้นๆ ว่าสามารถใช้ได้กี่แอมแปร์

 

การประปา

การประปามีแนวทางในการเยียวยาประชาชน 2 แนวทางเหมือนกับการไฟฟ้าคือ

  1. ลดราคาค่าน้ำประปาลง 3% ตลอด 3 เดือน นับตั้งแต่บิลเรียกเก็บค่าน้ำประปาประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563
  2. คืนค่าประกันมิเตอร์ให้กับผู้ใช้น้ำประปาทั่วประเทศ

 

กรมสรรพากร

กรมสรรพากรออกมาตรการเยียวยาหลายมาตรการ ได้แก่

  1. ขยายเวลายื่นภาษีเงินได้ประจำปี ภงด. 90 และ ภงด. 91 ในปี 2562 จากเดิมสิ้นสุดมีนาคม 2563 เป็น 30 มิถุนายน 2563
  2. ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการ (ยกเว้นมูลนิธิหรือสมาคม) และบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้จากค่าจ้างทำของ ค่าบริการ นายหน้า ค่าวิชาชีพอิสระ

การลดภาษี ณ ที่จ่าย มีอัตราการลดอยู่ 2 เฟส ได้แก่

เฟสแรก

อัตราภาษี ณ ที่จ่ายเหลือ 1.5% ในกรณีที่มีรายได้ระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2563 โดยผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดาสามารถจ่ายด้วยวิธีการใดก็ได้

เฟสสอง

อัตราภาษี ณ ที่จ่ายเหลือ 2% ในกรณีที่มีรายได้ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2563 โดยผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดาจ่ายผ่าน e-Withholding Tax เท่านั้น

  1. ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย SME ที่เข้าร่วมมาตรการ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ของรัฐบาล หัก รายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม 1.5 เท่า ในช่วงเมษายน-ธันวาคม 2563

ในกรณีที่

-มีรายได้ครบ 12 เดือน โดยรายได้รวมกันไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี

-จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน

-จัดทำบัญชีเดียว

-มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2562

  1. สนับสนุน SME จ้างงานต่อเนื่อง ค่าจ้างหักรายจ่ายได้ถึง 3 เท่า โดยเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา เมษายน-กรกฎาคม 2563

ในกรณีที่

-มีรายได้ครบ 12 เดือน ไม่เกิน 500 ล้านบาท

-จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน

-มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2563

-คงการจ้างงานของลูกจ้างที่ประกันตนและมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท ต่อคนต่อเดือน

-จำนวนลูกจ้างต้องไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้าง ณ วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม 2562

  1. เพิ่มสภาพคล่องผู้ส่งออกที่ดี ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.490/2562 เรื่องเกณฑ์การจัดระดับผู้ประกอบการผู้ส่งออกที่ดี และผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน

โดยผู้ส่งออกที่ดีที่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัท หรือ บริษัท มหาชน จะได้รับคืน VAT เร็วกว่าปกติ ซึ่งระยะเวลาในการคืนภาษีจะขึ้นอยู่กับวิธีการยื่นแบบ

ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต คืน VAT ภายใน 15 วัน จากเดิม 30 วัน

ยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา คืน VAT ภายใน 45 วัน จากเดิม 60 วัน

  1. เพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุนและตลาดทุน โดยผู้ลงทุน SSF ลดหย่อนภาษีเพิ่ม 2 แสนบาท

ในกรณีที่

-เป็นกองทุน SSF หรือ Super Saving Fund: กองทุนรวมเพื่อการออม ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

-ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 ปี

-ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท แยกจากวงเงิน SSF

-ไม่อยู่ใต้เพดานเงินสะสมเพื่อการเกษียณอายุ 5 แสนบาท

  1. สนับสนุนการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ผ่านการบริจาค เข้าบัญชีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

สามารถยื่นเรื่องผ่าน e-Donation ระหว่างวันที่ 5 มีนาคม 2563-5 มีนาคม 2564

บุคคลธรรมดา บริจาคเงิน หลังลดหย่อนภาษี ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน หักรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ

ผู้ประกอบการ VAT บริจาคทรัพย์สินยกเว้น VAT

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ร่วมมือกับสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการต่างๆ ของแต่ละธนาคารที่แตกต่างกันไป

อย่างเช่น

​ธนาคารกรุงเทพ

ในกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจ

-พักชำระเงินต้นสินเชื่อเดิมที่มีกับธนาคาร สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

ให้สินเชื่อเพิ่มในลูกหนี้ SMEs ผ่านโครงการ ‘สินเชื่อบัวหลวง SME บรรเทาทุกข์จากภาวะเศรษฐกิจ’ ในวงเงินต่อรายสูงสุด 30 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR -1% ต่อปี หรือพิจารณาผ่อนผันตามความเหมาะสมแต่ละกรณี

สำหรับลูกหนี้รายใหญ่พิจารณาสินเชื่อเพิ่มตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี

ลูกหนี้ สินเชื่อบัตรเครดิต ผ่อนผันลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติ 50% พร้อมผ่อนผันลดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระเหลือไม่เกิน 10% ยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ และผ่อนผันให้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บไม่เกิน 3 รอบบัญชี

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อบุคคล ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ผ่อนผันให้ปลอดการชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ปรับยอดผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% ไม่เกิน 24 เดือน พร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ระยะเวลาหนึ่ง และผ่อนผันยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ

 

​ธนาคารกสิกรไทย

กลุ่มลูกค้าธุรกิจ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ (ประเภทเงินกู้): ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

วงเงินหมุนเวียน (ประเภทตั๋ว): ขยายตั๋วครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร: ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

 

ลูกค้ารายย่อย

สินเชื่อบ้านกสิกรไทย และสินเชื่อที่อยู่อาศัยอื่นที่มีหลักประกัน: ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล: ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยถึงรอบบัญชีเดือนธันวาคม 2563

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์: ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 60% ระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนสูงสุด 7 เดือน โดยรวมสัญญาล่าสุดต้องไม่เกิน 7 ปี

 

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าธุรกิจด้วยการ พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน ขยายระยะเวลาวงเงินหมุนเวียน (P/N, T/R, P/C สูงสุด 6 เดือน

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย: พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์: พักชำระค่างวดสูงสุด 6 เดือน

สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล: พักชำระยอดขั้นต่ำสูงสุด 6 เดือน

 

ธนาคารกรุงไทย

ลูกหนี้ธุรกิจ พักชำระหนี้เงินต้นตามระดับผลกระทบ ทั้งนี้ไม่เกิน 12 เดือน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ

สำหรับลูกค้ารายที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิม สามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และเป็นไปตามเกณฑ์ของ บสย.

 

​ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สินเชื่อธุรกิจ (ยกเว้น Business Banking) ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากภาวะเศรษฐกิจเป็นการชั่วคราวปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้พิจารณาตามความรุนแรงของปัญหาเป็นรายกรณี

ลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคล พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด

ลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด (แล้วแต่กรณี)

ลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ พักชำระหนี้ สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด

อ่านรายละเอียดมาตรการของธนาคารได้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

ประกันสังคม

นายจ้าง-ลูกจ้าง ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยจากเดิมหักเดือนละ 5% เหลือ 4% ทั้งสองฝ่าย ระยะเวลา 6 เดือน (มีนาคม-สิงหาคม 2563)

 

สำหรับผู้ประกันตนเองปรับลดจาก 432 บาทต่อเดือน เป็น 336 บาทต่อเดือน

นอกจากนี้ ยังมีการขยายเวลาส่งเงินสมทบสำหรับนายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 สำหรับงวดเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

งวดเดือนมีนาคม นำส่งภายใน 15 กรกฎาคม 2563

งวดเดือนเมษายน นำส่งภายใน 15 สิงหาคม 2563

งวดเดือนพฤษภาคม นำส่งภายใน 15 กันยายน 2563

 

ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย มีผล 1 มีนาคม 2563

ประกอบด้วย

นายจ้างไม่ให้ทำงาน

รับเงินกรณีว่างงานจากประกันสังคม 50% ของค่าจ่าง ไม่เกิน 180 วัน

หน่วยงานภาครัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว

รับเงินกรณีว่างงานจากประกันสังคม 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 60 วัน

 

ผู้ประกันตนลาออก

รับเงินกรณีว่างงานจากประกันสังคม 45% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 2 ปี)

ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง

รับเงินกรณีถูกเลิกจ้างจากประกันสังคม 70% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน (บังคับใช้ 2 ปี)

 

เราจะก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online