BEM เจอพิษโควิดทำรายได้หาย ผ่าอาณาจักรทางด่วนและรถไฟฟ้าที่รอวันฟื้น (วิเคราะห์)

นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้หลากหลายบริษัทเลือกที่จะให้พนักงานทำงานที่บ้าน ส่งผลให้การเดินทางไปทำงานด้วยรถส่วนตัว และรถสาธารณะลดลง

รวมทั้งการประกาศเคอร์ฟิวในช่วงเวลา 22.00-04.00 น. ที่ห้ามผู้คนออกจากบ้านไปไหน (ไตรมาสแรกอาจจะกระทบไม่มากนัก)

ทั้งสองเหตุกาณ์นี้ส่งผลกระทบเต็มๆ กับBEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีธุรกิจหลักอย่างธุรกิจการทางพิเศษ หรือทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช, ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ, ทางพิเศษอุดรรัถยา) รวมถึงธุรกิจระบบรางอย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ที่แม้ไตรมาสแรกนี้รายได้รวมจะลดลงไม่มาก แต่กำไรหายไปถึง 40%

BEM มีธุรกิจด้วยกัน 3 อย่างคือ

– ธุรกิจการทางพิเศษ มีสัดส่วนรายได้ 64.7%

– ธุรกิจระบบราง มีสัดส่วนรายได้ 29.3%

– ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ มีสัดส่วนรายได้ 4.4%

(อ้างอิงจากปี 2562)

หากเจาะลึกแยกแต่ละธุรกิจพบว่า

ธุรกิจการทางพิเศษ รายได้ในไตรมาสแรกลดลง 281 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 2,581 ล้านบาท มาอยู่ที่ 2,300 ล้านบาท

เนื่องจากที่ได้บอกไปตอนต้น ผู้คนเดินทางน้อยลง งดเดินทางโดยไม่จำเป็น และทำงานจากที่บ้านตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. เป็นต้นมา ส่งผลให้รายได้ค่าผ่านทางที่เป็นรายได้หลักลดลงอย่างเห็นได้ชัด

รายได้ค่าผ่านทางเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)

ธุรกิจระบบราง มีรายได้ 1,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 82 ล้านบาท มาจากจำนวนผู้โดยสารเดินทาง และค่าโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-หลักสอง

แม้รายได้จะเพิ่มขึ้น แต่จากการที่คนทำงานจากที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดก็ส่งผลต่อการเดินทางของผู้โดยสารอย่างมากในเดือน มี.ค. พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นเพียง 2.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีผู้โดยสารเฉลี่ย 331,060 เที่ยว

ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ ดูจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายพื้นที่โฆษณาตามสถานี เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท อยู่ที่ 204 ล้านบาท

ไตรมาสสองคงต้องมาลุ้นดูว่า มาตรการเคอร์ฟิวที่เริ่มตั้งแต่เมื่อ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา จะกระทบรายได้หลักของ BEMมากน้อยขนาดไหน

แม้จะมีมาตรการผ่อนคลาย ผ่อนปรนต่าง ๆ ผู้คนเริ่มกลับมาทำงานมากขึ้น

แต่ก็ยังมองว่าบริษัทน่าจะยังเจ็บหนักต่อไม่น้อย

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online