ส่วนแบ่งตลาดน้ำอัดลม 2563 ใครครอง ? พร้อมวิเคราะห์กลยุทธ์แบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่หันมาลุยตลาดน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล

ปีที่ผ่านมาตลาดน้ำอัดลมมีมูลค่า 56,000 ล้านบาท เติบโต 12% โดยในตลาดน้ำอัดลมนี้ “ตลาดน้ำดำ” โตที่สุด

แม้ตอนนี้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ตลาดน้ำอัดลมแบบปราศจากน้ำตาลกลับมาคึกคักอีกครั้ง

เมื่อทั้งเป๊ปซี่และโค้กต่างออกรสชาติใหม่มากระตุ้นตลาด

เป๊ปซี่ ส่งเป๊ปซี่ แมกซ์เทสต์กลิ่นครีมโซดา ที่กลิ่นเหมือนน้ำเขียว

ส่วนโค้ก ก็เพิ่งส่งโค้กแบบไม่มีน้ำตาลกลิ่นออเร้นจ์ ออกมาเช่นกัน

 

ส่วนแบ่งตลาดน้ำอัดลม

น้ำอัดลมสีดำ 71%

น้ำอัดลมสี 23%

น้ำอัดลมใสไม่มีสี 6%

 

ในตลาดน้ำดำ แม้กลุ่มน้ำอัดลมปราศจากน้ำตาลจะมีสัดส่วนไม่มากราว 5-10% แต่เติบโตแบบน่าสนใจ

ปี 2559  : 980 ล้านบาท
ปี2560 : 1,180 ล้านบาท
ปี 2561 : 1,800 ล้านบาท

อ่าน: ปี 2020 เป๊ปซี่จะเดินเกมอย่างไรในตลาดน้ำอัดลม 5.6 หมื่นล้าน

แล้วเพราะอะไรยักษ์น้ำอัดลมเหล่านี้ถึงเลือกที่จะออกรสชาติใหม่ในเซกเมนต์น้ำอัดลม (น้ำดำ) ปราศจากน้ำตาลนี้

Marketeer มองว่า

1. กระตุ้นตลาด ปีนี้การทำแคมเปญกระตุ้นตลาดไม่ว่าจะเป็นการจัดอีเวนต์ การเดินสายโปรโมตลงไปตามพื้นที่ การทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง หรือที่เคยทำอาจจะไม่เหมือนอย่างเคย

เพราะเหตุการณ์อย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทุกส่วน

ทำให้ทั้งโค้กและเป๊ปซี่ เลือกที่จะออกรสชาติใหม่แล้ววางขายแบบดื้อ ๆ

เพราะหากสังเกตเราแทบจะไม่เห็นการโปรโมต หรือโฆษณาน้ำอัดลมรสชาติใหม่ผ่านช่องทางอย่างทีวี สื่อนอกบ้าน หรือบิลบอร์ดเหมือนเคย

แต่ทั้งโค้กและเป๊ปซี่ใช้การตลาดอย่างแยบยล คือ การตลาดแบบ “ปากต่อปาก” ที่ให้ผู้บริโภคสังเกตเห็นเอง และบอกต่อกันผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งนับเป็นการตลาดที่ทรงพลังมากที่สุด

2. Seasonal ของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ทุก ๆ ปีในช่วง “ซัมเมอร์” ที่เป็นช่วงเวลาทองของตลาดน้ำอัดลม แต่ละแบรนด์ก็จะใช้ช่วงเวลานี้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา แม้ในปีนี้จะเลยมาที่ช่วงต้นฤดูฝนก็ตาม

เพราะผู้บริโภคเลือกดื่มน้ำอัดลมเพิ่มความสดชื่น ดับกระหาย ตลาดหน้าร้อนจึงเป็นช่วงที่สร้างยอดขายได้มากที่สุด

รวมทั้งเมื่อมีแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งส่งผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ออกมาเมื่อไร เราก็มักจะเห็นอีกแบรนด์ออกรสชาติใหม่ในเวลาที่ใกล้เคียงกันเสมอ

ทั้งสองแบรนด์จึงเลือกปล่อยเครื่องดื่มรสชาติใหม่ออกมา โดยเลือกเป็นน้ำอัดลม (น้ำดำ) ปราศจากน้ำตาล ที่สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค

อ่าน: ศึกแคมเปญน้ำอัดลม ซัมเมอร์ปีนี้ เกือบ(ไม่)ซ่า

3. พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังต้องการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลมให้ชื่นใจ

การเลือกดื่มเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลประเภทน้ำอัดลม จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดูเวิร์กที่สุด ส่งผลให้ตลาดน้ำอัดลมปราศจากน้ำตาลเติบโตอย่างน่าสนใจ และโตขึ้นเรื่อย ๆ

4. การแข่งขันกันระหว่างแบรนด์ แต่ละแบรนด์ย่อมไม่ต้องการให้รายได้ที่เข้าทั้งกระเป๋าซ้ายและกระเป๋าขวาออกไปอยู่กับคู่แข่งอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาแข่งกันเองในแบรนด์เดียวกันจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะถึงจะมีตัวเลือกมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะซื้อรสชาติไหนก็ยังเข้ากระเป๋าตัวเองอยู่ดี

5. เรื่องของภาษีน้ำตาลที่ผู้ผลิตจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นหากเครื่องดื่มของตัวเองมีปริมาณน้ำตาลเกินกำหนด ทำให้แบรนด์อาจจะต้องปรับขึ้นราคา เปลี่ยนไปใช้สารให้ความหวานแทน หรือลดขนาดไซส์ให้เล็กลง

แต่อีกหนึ่งทางเลือกก็คือ การออกเครื่องดื่มที่ทั้งตอบโจทย์ผู้บริโภค และตอบโจทย์ของบริษัทที่ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตต่อขวด ต่อกระป๋องเพิ่มมากขึ้นนั่นคือ การออกผลิตภัณฑ์ “เครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล” นั่นเอง

ตลาดน้ำอัดลมมีมูลค่าเท่าไร

ปี2559 : 51,500 ล้านบาท

ปี 2560 : 50,000 ล้านบาท

ปี 2561 : 50,900 ล้านบาท

และปี 2562 : 56,000 ล้านบาท

 

อ้างอิง- Marketeer รวบรวม, เป๊ปซี่

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online