ธุรกิจอีเวนต์ หลังโควิด ต้องใช้ Virtual Solution เข้ามาช่วย (วิเคราะห์)

“อุตสาหกรรมไมซ์” ที่มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ที่มีทั้งการจัดสัมมนา การประชุม อีเวนต์ งานแสดงสินค้า หนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศที่ตอนนี้หยุดชะงักเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

แม้ตอนนี้จะมีการคลายล็อกดาวน์มาเป็นระยะ และเฟสล่าสุดจะปลดล็อกในวันที่ 1 ก.ค. นี้ บรรยากาศหลังปลดล็อกภาพรวมตลาดเริ่มกลับมาเหมือนเดิม 80-90% แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของจำนวนผู้เข้าชม

ข้อจำกัดนี้คืออุปสรรคของผู้จัดงาน ที่พอคนมาร่วมงานน้อยก็เกิดความเสี่ยงที่ว่า จะจัดงานดีหรือไม่จัดดี

จาก Pain Point ข้อจำกัดนี้ และเจอตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างโควิด-19 ทำให้ผู้จัดอีเวนต์ต้องเร่งปรับตัว ปรับไปทำอีเวนต์แบบไฮบริดที่ผสมผสานการจัดงานแบบออนกราวด์และออนไลน์เข้าด้วยกัน

เห็นได้จากการปรับตัวของผู้จัดต่าง ๆ ที่มีการจัดสัมมนาออนไลน์ แฟนมีตติ้งออนไลน์ หรือแม้แต่คอนเสิร์ตไลฟ์สดออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา

ส่งผลให้การมาของ Virtual Event, Virtual Conference ต่าง ๆ มาเร็วกว่าเดิม และกลายเป็นพฤติกรรม New Normal ของธุรกิจไมซ์ ธุรกิจอีเวนต์ ที่เป็นช่องทางใหม่ให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้

เช่นเดียวกับไร้ท์แมน บริษัทสร้างสรรค์งานออกแบบและนวัตกรรมระดับโลก ที่จับมือกับ วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) ผู้ให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล และวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เปิดตัว “VIRTUAL SOLUTION” แพลตฟอร์มแรกในโลกที่พลิกโฉมรูปแบบการจัดอีเวนต์-งานนิทรรศการ นำเสนอบริการในรูปแบบ Total Solution ครบวงจร

กัมพล นิสิตสุขเจริญ กรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด เปิดเผยผ่านงานแถลงข่าวเปิดตัว VIRTUAL SOLUTION ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ และแอปพลิเคชัน Zoom ว่า

“Virtual Solution” จะเป็นปรากฏการณ์สำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ที่ประกอบไปด้วย อีเวนต์ สัมมนา การประชุม ที่จะทรานส์ฟอร์มจากออนกราวด์มาสู่ออนไลน์ หรือที่เราเรียกว่าการจัดงานแบบ Hybrid

การจัดงานในรูปแบบ Virtual จะเป็นเทรนด์ของการจัดงานแสดงสินค้า งานอีเวนต์ และงานประชุมสัมมนาในอนาคตที่จะมาเป็นอีกทางเลือกให้กับลูกค้า และจะมาทลายทุกข้อจำกัดของอุตสาหกรรมอีเวนต์ในอนาคต

 

โดย VIRTUAL SOLUTION สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับอนาคตนั้นมองได้ใน 2 รูปแบบคือ

Short-Term:  โควิด-19 นอกจากท่องเที่ยวที่กระทบมากสุดก็คืออุตสาหกรรมไมซ์ อีเวนต์ถูกยกเลิกทั้งหมด การจัดแสดงสินค้าอยู่ภายใต้ข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดนั้นกระทบ

“Virtual Solution” จะมาเป็นส่วนเสริมให้ผู้เข้าชมเข้างานได้ผ่านออนไลน์ ร่วมมือกับผู้จัดที่จัดออนกราวด์มาผสมกับรูปแบบออนไลน์เป็นแบบไฮบริด ที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องเดินทาง และยังเป็นโอกาสที่เปิดกว้างมากขึ้นด้วย

Long-Term: Virtual Solution คือเทรนด์ของการจัดงาน จัดอีเวนต์ที่จะต้องมีอยู่แล้ว แต่โควิด-19 เร่งให้มาเร็วขึ้น คือ the future is now ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือทางการตลาดให้ธุรกิจไปต่อแบบไม่มีข้อจำกัด

ยกตัวอย่างหน่วยงานต้องไปออกบูธที่ต่างประเทศ รูปแบบนี้จะยังไม่เกิดขึ้นอีกนาน การเกิดขึ้นของ virtual trade fair จึงตอบโจทย์

virtual trade จะเป็นที่นิยม มันจะเป็นไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเทรนด์นี้น่าจะเริ่มจากต่างประเทศก่อน

การมาของเทรนด์การจัดอีเวนต์ที่มาในรูปแบบ Virtual มาในรูปแบบไฮบริดของทั้งออนกราวด์และออนไลน์ผสมกัน แม้ “VIRTUAL SOLUTION” ของไร้ท์แมนจะไม่ใช่เจ้าแรก แต่การมาของโซลูชั่นใหม่นี้ใช้กลยุทธ์การ Synergy ที่ดึงจุดแข็งของแต่ละองค์กรมาใช้

เพราะสิ่งสำคัญนอกจากไอเดียแล้ว คือการประชาสัมพันธ์ มาร์เก็ตติ้ง เช่นเดียวกับออนกราวด์ที่ก็ต้องมีการทำการตลาด ประชาสัมพันธ์เช่นกัน

“VIRTUAL SOLUTION” ได้ยักษ์ใหญ่อย่างวายดีเอ็มมาช่วยจัดการ  ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า วายดีเอ็มจะเข้ามาช่วยในเรื่องการทำตลาดแบบ Total Solution

คือ ช่วยผู้จัดแสดงงานได้ตั้งแต่การหาผู้เข้าร่วมงานและผู้ชมงาน รวมถึงช่วยดูแลในส่วนของการออแกไนซ์งาน

และยังต่อยอดด้วยการเก็บข้อมูลหาความสนใจของผู้เข้าชมงานผ่าน Big Data & Data Analytics ที่จะทำให้ธุรกิจมีแต้มต่อทางการตลาด

เรื่องของเทคโนโลยี โปรแกรมมิ่ง ที่ได้วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การพัฒนาโซลูชั่นบนโลกเสมือนจริง ได้นำเอาเทคโนยี 3D และภาพ 360° มาช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงาน

คำถามที่ตามมาคือแล้ว “VIRTUAL SOLUTION” เหมาะกับธุรกิจประเภทไหน กรรมการบริหารไร้ท์แมน ระบุว่า ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมที่ได้ทั้งสองรูปแบบคือการจัดงานแบบไฮบริด หรือ การจัดงานออนไลน์ขึ้นมาเลย

Marketeer มองว่าสิ่งที่เป็นข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานลดลง และธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่เคยจัดขึ้นมาก่อนอาจจะเกิดขึ้น

โดยกรรมการบริหารไร้ท์แมนระบุว่า ค่าใช้จ่ายลดลง 90-95% ประหยัดเวลาการจัดงาน การบริหารจัดการ ลงมากกว่าครึ่ง สิ่งที่ได้กลับมาคือผลตอบแทนสูงขึ้น เพราะต้นทุนต่ำ

และเมื่อผู้เข้าชมมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้จัดงานไม่ต้องคิดหนักและวนไปกับคำถามว่า จะจัดงานดีหรือไม่จัดดี

ตลาด ธุรกิจอีเวนต์ มูลค่า 13,000 บาทนี้ กรรมการบริหารไร้ท์แมนระบุว่า Virtual Solution ตั้งเป้าในช่วงแรกส่วนแบ่ง 100 ล้านบาท

ท้ายที่สุดนี้ การมาของเทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtual ในธุรกิจอีเวนต์นั้นมองว่าไม่ได้จะมาดิสรัปหรือทำลายรูปแบบการจัดงานออนกราวด์แบบดั้งเดิม งานออนกราวด์จะไม่ได้หายไปไหน แต่เพื่อผสมผสานที่มาตอบสนองต่อทั้งผู้จัด และผู้บริโภค

แม้อุปสรรคในช่วงแรกคือ ความคุ้นเคยของผู้บริโภคที่ยังไม่คุ้นชิน เหมือนเทคโนโลยีที่มาใหม่ ๆ ต้องลองใช้ในระยะเวลาหนึ่งในการปรับตัว Virtual ก็เช่นเดียวกันเมื่อผู้บริโภคคุ้นชินแล้วมันก็จะกลายเป็น New Normal

ส่วน VIRTUAL SOLUTION จะเวิร์กและตอบโจทย์ และจะผสมผสานกับการจัดงานแบบออนกราวด์ได้ลงตัวมากแค่ไหน ต้องรอดูกับงานใหญ่งานแรกที่จะเกิดขึ้นอย่าง Virtual MOTORSHOW ในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15-26 ก.ค. 63 นี้ที่อิมแพค

VIRTUAL SOLUTION สามารถให้บริการแก่ภาคธุรกิจและนักการตลาดได้นั้น ประกอบด้วย 4 รูปแบบ ได้แก่

VIRTUAL VENUE: อาคารแสดงสินค้าและประชุมสัมมนาหลากดีไซน์หลายธีม บนพื้นที่รวมกว่า 1,000,000 ตารางเมตร

ต่อมาคือ VIRTUAL TRADE FAIR : งานแสดงสินค้าที่ให้คุณออกบูธเสมือนจริง

VIRTUAL CONFERENCE PRO: งานประชุมสัมมนาออนไลน์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการนำเสนอที่ล้ำสมัย

และ VIRTUAL EVENT: สร้างสรรค์งานอีเวนต์ที่ตอบโจทย์ทุกการสื่อสารแบบไร้ขีดจำกัด

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online