แอปเปิ้ลในไทย รายได้เท่าไร ? เจาะขุมทรัพย์ แอปเปิ้ล และแนวโน้มหลังเปิด Apple Store Central World (วิเคราะห์)

วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 คือหนึ่งในวันที่สาวกแอปเปิ้ลรอคอยกับการเปิด แอปเปิ้ล เซ็นทรัลเวิลด์ แอปเปิ้ล สโตร์ สาขาที่ 2 ในประเทศไทย ตามโร้ดแมปที่แอปเปิ้ล อิงค์ ได้วางไว้ เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางในการโชว์เคสสินค้า จัดจำหน่าย และบริการที่เข้ามาเสริมช่องทางตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ในประเทศไทย

การเปิดตัวของแอปเปิ้ล สโตร์ ในประเทศไทยนับตั้งแต่แอปเปิ้ล สโตร์ ไอคอนสยาม เปิดตัววันแรกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 หลายคนมองว่าจะทำให้แอปเปิ้ลสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน

โดยเฉพาะในวันที่แอปเปิ้ล สโตร์ เข้ามาเปิดหน้าร้านแข่งกับตัวแทนจำหน่าย (ในบางโลเคชั่น) เสียเอง และทำให้ร้านตัวแทนจำหน่ายบางรายต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ หันมาให้ความสำคัญกับสินค้าแบรนด์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่แอปเปิ้ลแทน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องลงแข่งในสนามเดียวกับร้านค้าเจ้าของแบรนด์ในทำเลบางแห่ง

เนื่องจากการตั้งราคาของแอปเปิ้ล สโตร์ เป็นราคามาตรฐานเดียวกับตัวแทนจำหน่าย เพียงแต่ตัวแทนจำหน่ายอาจจะให้ส่วนลดในช่วงเวลาที่มีการจัดแคมเปญโปรโมชั่นเท่านั้น

หลังการเปิดแอปเปิ้ล สโตร์ มานานเกือบสองปี และจะเปิดสาขาที่สองในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ เรามาดูกันหน่อยว่า แอปเปิ้ลสามารถทำรายได้ในประเทศไทยมากขึ้นหรือไม่

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้การจดทะเบียนของแอปเปิ้ล ประเทศไทย ในชื่อบริษัท แอปเปิ้ล เซาท์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า มีรายได้ดังนี้

2560       52,194.71 ล้านบาท กำไร 771.13 ล้านบาท

2561       53,525.03 ล้านบาท กำไร 1,472.80 ล้านบาท

2562       53,332.43 ล้านบาท กำไร 1,074.40 ล้านบาท

จากรายได้ของ แอปเปิ้ลในไทย ทำให้เราเห็นว่าการเข้ามาดำเนินธุรกิจของแอปเปิ้ล สโตร์ ในประเทศไทย นับตั้งแต่พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้รายได้รวมทั้งหมดของแอปเปิ้ลเติบโตแต่อย่างใด

โดยเฉพาะในปี 2562 ซึ่งเป็นปีแรกที่แอปเปิ้ล สโตร์ ไอคอนสยาม สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจของแอปเปิ้ล ประเทศไทย ตลอดทั้ง 12 เดือน นับตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม รายได้รวมแอปเปิ้ล ประเทศไทย กับลดลงจาก 53,525.03 ล้านบาท เหลือ 53,332.43 ล้านบาท

เมื่อดูที่ผลประกอบการของแอปเปิ้ลทั่วโลกในปีที่ผ่านมาพบว่า แอปเปิ้ลมีการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น) 2% หรือคิดเป็นมูลค่า 559,388.13 ล้านบาท หรือ 17,788 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็น 1 ใน 2 ภูมิภาครองจากอเมริกาที่มีผลประกอบการเติบโต

ในปีที่ผ่านมาแอปเปิ้ลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 8,181,821.87 ล้านบาท หรือ 260,174 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยรายได้ทั้งหมดนี้มาจาก

อเมริกา 3,676,653.02 ล้านบาท (116,914 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโต 4%

ยุโรป 1,895,906.88 ล้านบาท (60,288 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 3%

จีน 1,373,563.91 ล้านบาท (43,678 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 16%

ญี่ปุ่น 676,309.94 ล้านบาท (21,506 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 1%

เอเชีย (ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น) 559,388.13 ล้านบาท (17,788 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโต 2%

ส่วนในเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดจากประเทศจีนสู่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ยอดรายได้ของเอเชีย (ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น) มีการเติบโตเพียงภูมิภาคเดียว และการเติบโตของเอเชีย (ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น) ยังเป็นส่วนเดียวทำให้รายได้รวมของแอปเปิ้ลเติบโต

รายได้ของแอปเปิ้ล อิงค์ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,833,798.07 ล้านบาท (58,313 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)จากมกราคม-มีนาคม 2562 ที่มีมูลค่า 1824426.71 ล้านบาท (58,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

แบ่งเป็น

อเมริกา 801,062.17 ล้านบาท (25,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จาก มกราคม-มีนาคม 2562 ที่ 804,930.21 ล้านบาท (25,596 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ยุโรป 449,510.57 ล้านบาท (14,294 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จาก มกราคม-มีนาคม 2562 ที่ 410,515.67 ล้านบาท (13,054 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

จีน 297,336.11 (9,455 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากมกราคม-มีนาคม 2562 ที่ 321,330.55 ล้านบาท (10,218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ญี่ปุ่น 163,715.68 ล้านบาท (5,206 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จาก มกราคม-มีนาคม 2562 ที่ 173,967.57 ล้านบาท (5,532 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

เอเชีย (ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น) 122173.54 ล้านบาท (3,885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จาก มกราคม-มีนาคม 2562 ที่ 113,682.71 ล้านบาท (3,615 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ทั้งนี้ แม้แอปเปิ้ล สโตร์ ในประเทศไทย ในวันนี้จะไม่ได้ทำให้รายได้แอปเปิ้ล ประเทศไทย เติบโต แต่การเปิดสโตร์ในไทยทั้ง 2 แห่ง เป็นการสร้างประสบการณ์กับแบรนด์แอปเปิ้ล และเป็นการตอกย้ำกับคนไทยว่าแอปเปิ้ลมองประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสำคัญในเชิงธุรกิจจนต้องเข้ามาเปิดสโตร์ด้วยตัวเอง

 

Marketeer FYI

รายได้แอปเปิ้ลมาจากสินค้าและบริการอะไร

iPhone 4,477,526.50 ล้านบาท (142,381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 14%

Mac 809,458.65 ล้านบาท (25,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโต 2%

iPad 669,202.80 ล้านบาท (21,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโต 16%

Wearable, Home and Accessories (24,482 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโต 4%

Service 769,897.70 ล้านบาท (46,291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโต 16%

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online