ในวันที่โควิด-19 เข้ามากระทบกับทุกภาคส่วน ส่งทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปต้องอยู่บ้าน และ Work from Home มากขึ้น จากพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ “ตลาดคอนเทนต์” โตขึ้น

ผู้คนอยู่กับหน้าจอดูรายการทีวี วาไรตี้ ซีรีส์เพิ่มมากขึ้นจากทั้งช่องทางดั้งเดิมผ่านทีวี และแพลตฟอร์ม OTT ต่างชาติที่มีอยู่มากมาย

แล้ว ทีวี ธันเดอร์ ผู้เล่นที่อยู่ในตลาดการผลิตคอนเทนต์ที่ส่งรายการป้อนช่องต่างๆ เห็นทิศทางอย่างไร

ย้อนกลับไปช่วงโควิด-19 ภัทรภร วรรณภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีวี ธันเดอร์ เปิดเผยว่า ช่วงนั้นแทบไม่ได้ออกกอง หรืออกไปถ่ายทำรายการ ซีรีส์ เลยเพราะด้วยข้อจำกัดในการรักษาระยะห่างต่างๆ รวมทั้งรายได้จากค่าโฆษณาที่ลดลงเกินครึ่ง

ส่งผลให้คาดว่ารายได้ในปีนี้ไม่ได้โตไปกว่าปีก่อน และคิดว่าจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาราว 10%

รายได้ในไตรมาส 2 ของ ทีวี ธันเดอร์อยู่ที่ 57.92 ล้านบาท ลดลง 32.28% ขาดทุนกว่า 9 ล้านบาท

ครึ่งปีแรก ทีวี ธันเดอร์ มีรายได้เท่าไร

รายได้รวม  145.12 ล้านบาท
ขาดทุน  6.98 ล้านบาท

ฐกฤต วรรณภิญโญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ทีวี ธันเดอร์รับรู้รายได้ Black log 150 ล้านบาท จากการผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มต่างๆ ในจำนวนนี้จะเป็นการสร้างซีรีส์เป็นส่วนใหญ่

แม้ภาพลักษณ์ของทีวี ธันเดอร์คนจะมองว่าเป็นผู้ผลิตรายการเกมโชว์ วาไรตี้ หรือละคร ที่ส่งลงตามช่องทีวี

แต่ทีวี ธันเดอร์ก็ยังหันมาผลิตซีรีส์ มีทีมงานที่โฟกัสกลุ่มซีรีส์อย่างจริงจัง  เพราะเทรนด์ซีรีส์โดยเฉพาะซีรีส์วายเติบโต

ปัจจุบันมีการผลิตรายการด้วยกัน 5 รายการ และซีรีส์ 7 เรื่อง

โดยทีวี ธันเดอร์ให้สัดส่วนการผลิตคอนเทนต์ลงช่องฟรีทีวี และบนแพลตฟอร์ม OTT เท่ากัน

สัดส่วนรายได้จากทีวี ธันเดอร์มาจากช่องทางไหน

รับจ้างผลิตคอนเทนต์ 60%
โฆษณา 35%
อื่นๆ 5%

แม้ตลาดคอนเทนต์จะเติบโต แต่ความท้าทายในการทำคอนเทนต์ ฐกฤต บอกว่า แม้เราต้องการทำคอนเทนต์ให้คนดู แต่สิ่งที่ท้าทายคือเรื่อง taste ของคนที่เปลี่ยนตลอดเวลา มีความหลากหลาย จึงทำให้ให้ต้องทำการบ้านเยอะขึ้น

อย่างพฤติกรรมคนดูทีวี ส่วนใหญ่เป็นวัย 35 ปีขึ้นไป คนเหล่านี้ชอบดูอะไรที่เข้าใจง่าย ไม่ชอบดูอะไรที่ซับซ้อน

เพราะฉะนั้นการทำคอนเทนต์ส่งลงช่องทางต่างๆ จึงต้องทำการตลาด และทำไม่เหมือนกัน

คอนเทนต์ฮีโร่ของทีวี ธันเดอร์ คือ Take me out , show me the money และซีรีส์ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง manner of death



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online