ในปี 2016 รายได้จากธุรกิจเพลงบนโลก Digital เติบโตขึ้น 17.7% และมีมูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนสำคัญเกิดจากการเติบโตของ Streaming โดยมีส่วนแบ่งสูงถึงประมาณ 60 % ของมูลค่ารายได้ทั้งหมด และรายงานจาก Neilsen ยังได้เปิดเผยอีกว่าในไตรมาสแรกของปี 2017 Music Streaming ยังมีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 35 % เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2016 นี่คือการเปลี่ยนผ่านอย่างแท้จริงของ Digital Music จากการ Download สู่การ Streaming

ในปัจจุบันมีผู้ที่สมัครใช้บริการ Music Streaming อยู่ประมาณ 112 ล้านคน และตัวอย่างที่น่าสนใจคือตลาดใหญ่อย่างจีนและอินเดียที่ผู้ใช้ประมาณ 90 % ฟังเพลงผ่าน Smart Phone และประมาณ85 % ของวัยรุ่นอายุระหว่า 13-15ปี เข้าถึงเพลงผ่านการ Streaming

จากการสำรวจของ MiDiA นั้นพบว่าธุรกิจ Music Streaming นั้นมีการแข่งขันที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้ให้บริการเจ้าใหญ่อย่าง Spotify ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ 43 % และ Apple Music ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ 21 % โดยในปี 2016 นั้น Spotify นั้นมีจำนวนสมาชิกอยู่ประมาณ 40 ล้านคน และ Apple Music ที่มีอยู่ 20 ล้านคน ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้นำในวงการแต่ทั้งสองเจ้าก็กำลังเผชิญกับความท้าทายจากผู้เล่นเจ้าอื่นๆอย่าง Amazon Music Youtube Google Play และ Pandora ที่กำลังพัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างน่าสนใจ ในส่วนของค่ายเพลงที่ทำกำไรจากการ Streaming นั้นก็มี Universal Music โดยมีส่วนแบ่งถึง 30.5 % ตามาด้วย Sony Music ที่ 22.7% และ Warner Music ที่ 19.3 %

การ Streaming และอิทธิพลของ Social Media นั้นได้เปลียนโฉมหน้าของการทำการตลาดสำหรับวงการเพลงไปอย่างสิ้นเชิง ในปัจจุบันหลายๆคนนิยมการเรียกความสนใจของผู้ฟังด้วยการปล่อยบางส่วนของเพลงผ่าน Social Media  ไม่ว่าจะเป็น Instagram และอัลบั้มต่างๆ ก็มีการโปรโมทผ่านทาง Twitter  นี่คือการปรับตัวขนานใหญ่ของธุรกิจดนตรีในการที่จะสื่อสารกับกลุ่มผู้ฟัง ซึ่งตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะผู้ที่ทำการตลาดด้านนี้สามารถเก็บข้อมูลของกลุ่มผู้ฟังได้ว่าพวกเค้าฟังเพลงบ่อยแต่ไหนและพวกเค้าฟังกันที่ไหนบ้าง

Playlist ยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญสำหรับการทำการตลาด ผู้ฟังมีความรู้สึกในเชิงบวกกับเพลงที่ถูกจัดมาให้จากบรรดาผู้ให้บริการต่างๆ จากข้อมูลของ Neilsen ระบุว่า 60% ของผู้ฟังในตลาดของอเมริกานั้นมักเลือกใช้บริการ Playlist ที่ทางผู้ให้บริการคัดเลือกมาให้และนี่คือช่องทางสำหรับนักการตลาดในการที่จะเข้าถึงผู้ฟังด้วยโฆษณาแบบเฉพาะกลุ่มโดยดูจากลักษณะของ Playlists ที่พวกเค้าเลือก ในส่วนของผู้ที่เป็นคนสร้าง Playlists นั้นนอกจากจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางด้านดนตรีแล้ว พวกเค้ายังพึ่งพาข้อมูลที่ได้จาก ผู้ฟังมาเป็นส่วนประปอบสำคัญในการสร้าง Playlists อีกด้วย

นอกเหนือจากการที่วงดนตรีต่างๆ จะโปรโมทการแสดงสด ตารางทัวร์ หรือของที่ระลึกต่างๆเพื่อเพิ่มรายได้แล้ว พวกเค้ายังใช้ Social Media ในการเข้าถึงบรรดาแฟนๆของพวกเค้าเพื่อเป็นการสร้างกระแสที่ได้ผลอีกวิธีหนึ่งด้วย

การสมัครใช้บริการ Streaming ได้กำชัยชนะเหนือการ Download ไปเรียบร้อยเนื่องจากพฤติกรรมการเสพเพลงของกลุ่มผู้ฟัง การ Streaming นั้นผู้ฟังที่ส่วนมาเป็นคนรุ่นใหม่นิยมเข้าถึงผ่าน Smart Phone และจากการเติบโตของ Streaming นี่เอง ได้มีการคาดการณ์กันว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งต่อไปที่จะเมาถึงคือเทคโนโลยี Virtual reality หรือ VR ที่ศิลปินจะสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ฟังผ่านทาง Content รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทาง Music Video การแสดงสด รวมไปถึง VDO Game ที่จะสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้กับกลุ่มผู้ฟัง เมื่อเทคโนโลยีนี้พร้อมใช้งานสำหรับสาธารณะ

 

ธุรกิจดนตรี
ทีปพิพัฒน์ บัวหมื่นไวย
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร
IPG Mediabrands

 

 

 

 

 

 

 


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online