หลังจากที่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา มาตรการกีดกันทางการค้า ที่ถูกประกาศโดย ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มสำแดงผล โดยมีเป้าหมายให้สหรัฐฯ พลิกกลับมาได้เปรียบ หลังจากที่ขาดดุลการกว่า 800,000 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ กลายเป็น สงครามการค้าโลก ที่เกิดผลกระทบกับหลายประเทศ หาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่า ชนวนของสงคราม ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า

ซึ่งนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้ที่จะยังคงดำเนินการต่อเนื่องไปอีก 2-4 ปีหลังการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วงปลายปีนี้  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคะแนนนิยมทางการเมืองจะสนับสนุนให้มีท่าทีแข็งกร้าวต่อไปหรือจะผ่อนปรนลง

อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายดังกล่าว นำมาสู่การตอบโต้ของประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นตัวบั่นทอนการค้าโลก และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า ซึ่งคาดว่าปี 2018 GDP ของโลกจะเติบโตราว 4.4% และลดลงเหลือ 4.0% ในปี 2019

— “จีนคือเป้าหมายหลัก —

 จีน กลายเป็นเป้าหมายหลักของสหรัฐฯในการกีดกันตั้งแต่ยางล้อ แผงเซลล์แสงอาทิตย์เหล็ก/อะลูมิเนียม โดยรอบล่าสุดเตรียมเก็บภาษีกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ได้แก่

• Round 1 เก็บจริง 6 .. 18 : 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องบิน ยานยนต์ อุปกรณ์กล้อง
• Round 2
รอติดตาม : 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ อาทิ เคมีภัณฑ์ พลาสติก ยานยนต์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากข้อพิพาทลากยาวออกไป ฐานะการเงินของภาคอุตสาหกรรมจีนอาจเผชิญกับความท้าทาย ซึ่งหากยอดขายภาคอุตสาหกรรมจีนขยายตตัวในระดับต่ำ จะกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของภาคอตุสาหกรรมจะ ถดถอยลงต่อเนื่องจากระดับ 5.84 เท่าในปี 2017

โดยหลายภาคอุตสาหกรรมของจีนมีความเสี่ยงท่ีจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง และมีการผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งเดิมที่เปราะบางอยู่แล้ว อย่างกลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหล็ก

ทั้งนี้ทางการจีนคงใช้นโยบายหลายรูปแบบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบการเงิน รวมถึงผลกระทบต่อการจ้างงาน ซึ่งท้ายที่สุดจะกลายเป็นความเสี่ยงเชิงนโยบายในระยะยาว

แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในสงครามการค้าโลก และผลกระทบจากจีน เกี่ยวอะไรกับ เศรษฐกิจไทย ครึ่งหลังปี 2018

ผลที่จะเกิดขึ้นกับไทย”—

นั้นเพราะไทยจะเป็นทั้งผู้ที่ได้รับทั้งประโยชน์และผลกระทบไปพร้อมๆ กัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2018 จะอยู่ในวงจำกัด ซึ่งในช่วงที่เหลือของปีไทยอาจได้ผลบวกในบางสินค้า แต่หากสงครามลากยาวต่อเนื่องเกินกว่าสิ้นปีนี้ คงกดดันการส่งออกของไทยต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งการเก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้งของจีนและสหรัฐฯ จะมีผลสุทธิที่เป็นลบต่อการส่งออกไทยในภาพรวมปี 2018 ราว 280-420 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยสินค้าที่ไทยจะได้รับประโยชน์แทนคู่กรณี ได้แก่ ส่งไปสหรัฐฯ : HDD, ICs พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ พลาสติกมีมูลค่าเพิ่ม​, ส่งไปจีน: พลาสติกขั้นต้น ผลิตภัณฑ์น้ำมันแปรรูป และส่งไปสหภาพยุโรป:เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์เหล็กบางชนิด

สินค้าที่ไทยถูกผลกระทบโดยตรง ได้แก่ Safeguards มาตรา 201 : แผงเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องซักผ้า และ National Security มาตรา232 : เหล็กและอะลูมิเนียม

สินค้าทีไทยถูกผลกระทบโดยอ้อม ได้แก่ ผ่านห่วงโซ่การผลิต : เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติกขั้นต้น และผ่านการทุ่มตลาดจากสินค้าจีน : ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า

แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินในปีนี้ยังเป็นแรงหนุนสำคัญต่อการส่งออกไทยให้ยังเติบโตได้ในระดับสูง จึงปรับประมาณการส่งออกปีนี้มาอยู่ที่ 8.8%

โดยส่งออก 5 เดือนแรกโตเฉลี่ย 11.6% เกือบครึ่งหนึ่งมาจากการส่งออกยานยนตร์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยมีมูลค่าส่งออกเฉลี่ย 20,806 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

—เศรษฐกิจครึ่งหลังปี 2018 มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีแรงกดกัน—

สำหรับเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า รายได้เกษตรกรน่าจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ หลังเดือนเมษายนรายได้พลิกกลับมาเป็นบวกในรอบ 9 เดือน

จากปัจจัยหนุนด้านผลผลิตเกษตรที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง ประกอบกับการกดตัวของราคาที่ลดลง โดยเฉพาะจากราคาข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ยางพาราน่าจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้รายได้ของฐานราก รวมไปถึงตัวเลขการจ้างงานที่มีทิศทางเริ่มดีขึ้น เพราะภาคเกษตรเริ่มจ้างงานสูงขึ้น

แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ภาพรวมภาวะการครองชีพครัวเรือนยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากมีค่าชี้วัดกว่า 5 มิติ แต่ทั้งนี้กำลังซื้อของฐานรากคงไม่แย่ไปกว่านี้แล้ว

ขณะเดียวกันค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามเงินเฟ้อ ความว่าภาครัฐคงจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ ทั้งมาตรการทางด้านร้ายได้ จากโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 และมาตรการทางด้านรายได้ ทั้งมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ เกิน 30 บาทต่อลิตร และ มาตรการตรึงราคา LPG (ก๊าซหุงต้ม) ที่ 363 บาทต่อถัง 15 กก.

—ปรับ GDP มาโต 4.5%—

โดยภาพรวมของเศรษฐกิจไทยปี 2018 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เติบโตในแนวกว้างมากขึ้น แต่แนวลึกยังเป็นประเด็น โดนได้รับแรงหนุนจากภาคต่างประเทศ รวมถึงการใช้จ่ายในประเทศมีแรงส่งต่อเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องแล้ว การใช้จ่ายในประเทศทั้งการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคเอกชนก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน

ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังผลผลิตทางการเกษตรที่คาดว่าจะออกมามาก รวมถึงรายได้เกษตรกรที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก ตลอดจนการเบิกจ่ายงบกลางปี 2018 ที่มีมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาทรวมถึงหลายโครงการลงทุนภาครัฐจะทยอยเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาได้ แม้จะล่าช้าอยู่บ้างแต่ก็ถือว่าอยู่ในทิศทางบวก

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งปีใหม่ จากเดิมเมื่อตอนต้นปีคาดว่าจะเติบโต 4.0% มาอยู่ที่ 4.5%

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online