“สุขภาพและความงาม” นับเป็นจิ๊กซอว์หนึ่งของสิ่งที่ประกอบกันเป็นความมั่นใจในการใช้ชีวิต และเมื่อผู้คนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตดีขึ้น เสริมสร้างความมั่นใจให้เปล่งประกายสู่สายตาคนรอบข้างหรือสังคม สิ่งที่มักจะเริ่มทำเป็นอันดับแรก ๆ คือการหันมาดูแลสุขภาพร่างกาย ทั้งอาหารการกินที่ดี การออกกำลังกาย ผสมผสานกับการใช้สกินแคร์ ปรับการแต่งตัว รวมไปถึงการเข้าคลินิกความงาม เพื่อเสริมจุดเด่นของตนเองหรือแก้ไขสิ่งที่ตนเองยังไม่พึงใจ
จึงทำให้ในช่วงระยะเวลา 5 – 10 ปีที่ผ่านมา แบรนด์ผลิตภัณฑ์และบริการด้านความงามและสุขภาพส่วนใหญ่จึงคิดค้นและนำเสนอแคมเปญหรือใช้กลยุทธ์การตลาด ผ่านทางประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในการแก้ไขรูปลักษณ์หรือลักษณะของผิวพรรณ โดยมุ่งไปสู่สิ่งที่ผู้บริโภคใฝ่หาและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสังเกตดี ๆ ภายหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นิยามด้านสุขภาพและความงาม รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่ผู้คนเริ่มวิตกกังวลกับภัยสุขภาพและวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด และเริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยด้านชีวิตและสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้เกิดพฤติกรรมในการเลือกใช้สินค้าและบริการมีความรอบคอบและระมัดระวังมากกว่าเดิม เพื่อให้เกิด “ความมั่นใจทางด้านความปลอดภัย”
จากพฤติกรรมดังกล่าวทำให้แบรนด์สุขภาพและความงามต้องปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง จากสูตรสำเร็จเดิมของแบรนด์ความงามที่มักให้ความสำคัญในมิติเดียวคือ “ทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในประสิทธิภาพและการเลือกใช้สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของตน” มาจนถึงสถานการณ์ที่ผู้บริโภคมองหา “ความยั่งยืน”[1] อันเกิดจากความมั่นใจในการเลือกใช้แบรนด์ที่ตอบโจทย์ในทุก ๆ มิติ โดยองค์กรต้องเพิ่มความใส่ใจในรายละเอียด ทุกกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการแล้ว ยังต้องทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่า สินค้าและบริการทุกอย่างได้นำมาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสำหรับทุกคน สังคม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมโดยรวม
ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมความงามโดยแพทย์ (Aesthetics Beauty Industry) ที่ใกล้ตัวทุกคนมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีตัวเลือกที่หลากหลาย ซึ่งปัจจัยหลักในการเลือกรับบริการคลินิกความงามนั้น นอกจากพิจารณาจากความเชี่ยวชาญของแพทย์ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่เลือกใช้ และการให้บริการที่ถูกต้องตามหลักการสาธารณสุขแล้ว อีกหนึ่งข้อสำคัญคือ การเข้าถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยก่อนที่จะตัดสินใจรับบริการใดๆ ซึ่งเจ้าของคลินิกหรือแพทย์ผู้ให้การรักษา ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคให้ได้ว่า ผลิตภัณฑ์และบริการของตนได้มาตรฐานและตั้งอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยในทุกขั้นตอน
ด้วยเหตุนี้ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ จึงมีการนำแนวคิดในเรื่อง “Safety First” มาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานและการสื่อสารถึงผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการการตรวจสอบให้แน่ใจถึงคุณภาพของสินค้าและบริการของตน พร้อมทั้งสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบถึงแนวทางการเลือกใช้สินค้าและบริการให้เกิดประสิทธิภาพและปราศจากอันตรายด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือด้วย เพื่อที่จะให้ความปลอดภัยดังกล่าว สะท้อนให้เกิดความยั่งยืนและคุณภาพในการใช้ชีวิตของผู้คนและสังคมอีกด้วย
“เมิร์ซ เอสเธติกส์” ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมความงามระดับโลก วิสัยทัศน์ขององค์กร นอกจากจะสนับสนุนให้ทุกคนมั่นใจและโอบรับความเป็นตัวเองแล้ว ยังต้องการขับเคลื่อนธุรกิจในอุตสาหกรรมความงามโดยแพทย์ให้กลายเป็นบริษัทนวัตกรรมความงามที่น่าเชื่อถือและได้รับการไว้วางใจมากที่สุด
และเพื่อขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นและยกระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมความงามมากยิ่งขึ้น เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ได้ริเริ่ม “โครงการคลินิกส่งตรวจภาวะดื้อโบ” โดยให้การสนับสนุนและความร่วมมือกับ “ศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน ศิริราชพยาบาล” ที่จัดตั้งโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้คนไทยได้เข้าถึงการวินิจฉัยและให้ความรู้ในวงกว้างเกี่ยวกับภาวะดื้อโบได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเปิดให้คนไทยมารับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลศิริราชแล้ว เมิร์ซยังร่วมกับพันธมิตรคลินิกความงามมากกว่า 40 แห่งทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสร้างเครือข่ายในการช่วยเก็บข้อมูล และตัวอย่างเลือดของคนที่สงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะดื้อโบ รวมถึงการนำส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจที่ศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซินในขั้นตอนถัดไป และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อบรรเทาความกังวลและช่วยลดความรุนแรงของภาวะดื้อโบได้อีกด้วย
อย่างที่ทราบกันว่า โบทูลินัมท็อกซิน เป็นหนึ่งในนวัตกรรมยอดฮิตที่ช่วยลดเลือนริ้วรอยและยกกระชับใบหน้าที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง การทำหัตถการทางความงามโดยมิได้มีความรู้ครอบคลุมก็นำมาพร้อมกับความเสี่ยงให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโดยไม่จำเป็นได้เช่นกัน
ศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจถึงภาวะดื้อโบ ดังนี้
“ภาวะดื้อโบเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่ง แต่ยังไม่ได้มีการพูดถึงแพร่หลายในวงการแพทย์นัก เริ่มจากที่ผู้รับบริการบางส่วนฉีดโบแล้วกลับไม่ได้ผลลัพธ์ที่ควรจะเป็น และแพทย์ส่วนใหญ่ยังคงคุ้นเคยกับการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการลองเปลี่ยนยี่ห้อหรือเพิ่มปริมาณโดส แทนที่จะเจาะจงไปยังสาเหตุว่า แท้จริงร่างกายอาจเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านสารในโบทูลินัมท็อกซินแล้วก็เป็นได้ เมื่อร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านฤทธิ์ของโบทูลินัมท็อกซินแล้ว ต่อให้คน ๆ นั้นเปลี่ยนแบรนด์หรือฉีดโบไปเยอะแค่ไหนก็จะไม่เห็นผล และที่สำคัญ หากผู้ที่มีภาวะดื้อโบ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ ที่สามารถใช้โบทูลินัมท็อกซินในการบรรเทาอาการได้ในวัยที่เพิ่มขึ้น ก็จะไม่สามารถใช้โบทูลินัมท็อกซินได้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงทางสาธารณสุขอย่างยิ่ง”
จากความท้าทายดังกล่าว ศ.พญ.รังสิมา ร่วมกับ รศ.ดร.นพ.ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ จากภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งใจจะแก้ไขวิกฤติของผู้รับบริการที่สงสัยมีภาวะดื้อโบผ่านการก่อตั้งศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซินและริเริ่มทดสอบวิธีวัดปริมาณภูมิคุ้มกันในเลือดของผู้ที่รับการรักษาด้วยโบเกิดความล้มเหลว รวมไปถึงพัฒนาชุดความรู้ใหม่ให้กับแพทย์ผิวหนังที่เกี่ยวข้องไม่ให้รักษาแบบผิดวิธีจนทำให้ร่างกายดื้อโบไปมากกว่าเดิม
ทั้งนี้ รศ.ดร.นพ.ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้คำแนะนำถึงการเข้าตรวจวินิจฉัยภาวะดื้อโบว่า
“การทดสอบเพื่อตรวจวัดปริมาณภูมิคุ้มกันต่อโบทูลินัมท็อกซินนั้นได้ผ่านกระบวนการพัฒนา และการตรวจสอบความถูกต้องมาแล้ว ทำให้สามารถตรวจพบหาภาวะดื้อโบได้อย่างแม่นยำ โดยปัจจุบัน เรามี ‘โครงการส่งตรวจภาวะดื้อโบ’ ที่ทำร่วมกับเมิร์ซและคลินิกเสริมความงามหลายแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้ที่สงสัยว่าตนมีภาวะดื้อโบเข้าถึงการตรวจได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งหลังคลินิกได้ช่วยส่งตัวอย่างเลือดมาที่ศูนย์ฯ ของเรา ผู้ที่รับการตรวจจะทราบผลได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ว่าควรหยุดใช้โบหรือกลับมาใช้โบได้อีกครั้งเมื่อไร และสามารถใช้โบยี่ห้ออื่นได้หรือไม่ โดยส่วนใหญ่หากพบว่ามีภาวะดื้อโบจริง หมอจะแนะนำให้เข้ามาตรวจอีกครั้งภายใน 6 เดือน”
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบว่าตนเองมีภาวะดื้อโบหรือไม่ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดการเข้าตรวจหาภาวะดื้อโบ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Merz Beauty Connect โทร. 0 2026 1111 หรือ Line : @merzbeautyconnect
สรุป
เมื่อพูดถึงสุขภาพและความงาม ผู้คนมักจะมองหาสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มให้ภาพลักษณ์ดูดีและจุดประกายความมั่นใจ แต่หลังจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ผู้คนเริ่มวิตกกังวลถึงภัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ส่งผลให้ทุกครั้งที่เลือกใช้สินค้าและเข้าถึงบริการ จะมีการเลือกใช้อย่างระมัดระวัง โดยมีปัจจัยความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการอุปโภคบริโภค
จากพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้แบรนด์ด้านสุขภาพและความงามต้องปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจให้เกิด “ความยั่งยืน” องค์กรต้องใส่ใจในรายละเอียดทุกมิติ ตั้งแต่คุณภาพของสินค้าและบริการ รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคให้ได้ว่า สินค้าและบริการของตนได้มีส่วนผลักดันคุณภาพชีวิตคนให้ดีขึ้น และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสำหรับทุกคน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม
ในฐานะที่ “เมิร์ซ เอสเธติกส์” เป็นธุรกิจด้านสุขภาพความงาม เป้าหมายระยะยาวของแบรนด์คือการก้าวสู่ผู้นำนวัตกรรมความงามที่น่าไว้วางใจมากที่สุด เพื่อขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ อีกทั้งยกระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมความงามมากยิ่งขึ้น เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน ศิริราชพยาบาล ริเริ่ม “โครงการคลินิกส่งตรวจภาวะดื้อโบ” เพื่อเป็นอีกช่องทางให้คนไทยเข้าถึงการวินิจฉัยและได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะดื้อโบในวงกว้าง ขณะเดียวกัน โครงการดังกล่าวมีส่วนในการพัฒนาความรู้ชุดใหม่ให้กับทางแพทย์ผิวหนังที่เกี่ยวข้องไม่ให้รักษาแบบผิดวิธีจนทำให้เกิดภาวะดื้อโบไปมากกว่าเดิม
[1] https://www.popticles.com/branding/what-is-sustainable-brand/
บทความโดย : เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ รัตนจันทร์ รองประธานบริหาร บริษัท Merz Aesthetics ประเทศไทย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เภสัชกรหญิงกิตติวรรณคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยาและนวัตกรรมความงามมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหาร บริษัท Merz Aesthetics ประเทศไทย บริษัทชั้นนำระดับโลก ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องอัลเทอร่า และเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม เพื่อทุกความมั่นใจของคนไทย ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2015 โดยเป็นบริษัทในเครือ Merz ฟาร์มา เยอรมนีกลุ่มบริษัท Merz ฟาร์มา ประเทศเยอรมนี สั่งสมประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางด้านเวชภัณฑ์ยาและเทคโนโลยีความงาม มากว่า 114 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำ อันเป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือของแพทย์ความงามและผู้บริโภค ทางด้านนวัตกรรมความงามและเวชภัณฑ์ยากลุ่มโบทูลินั่มทอกซิน และเครื่องมือแพทย์เพื่อการดูแลรักษาผิวพรรณและรูปร่างได้รับความไว้วางใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามกว่า 90 ประเทศทั่วโลกConfidence to be คือปณิธานองค์กรที่เรายึดมั่น Merz ตั้งอยู่เพื่อขับเคลื่อนทุกความมั่นใจของคนไทย ผ่านพันธกิจองค์กร 3 ประการ ได้แก่ การทำให้ทุกคน ‘Look better, Feel better, Live better’ และเรายังคงเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีความงามและนวัตกรรมการรักษาระดับโลกสู่คนไทยทุกคนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.merzclubthailand.com และติดตาม Merz Aesthetics ได้ที่
Facebook: Merz Aesthetics Thailand
Instagram: @merzaesthetics_th
YouTube: Merz Aesthetics Thailand
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



