Paypal ทำไมจึงทุ่มงบซื้อกิจการของ Paidy บริษัทกลุ่ม Fintech สัญชาติญี่ปุ่น (วิเคราะห์)
แพลตฟอร์มชำระเงินใหญ่สัญชาติอเมริกันขอทุ่มครั้งสำคัญเพื่อลดระยะห่างจากคู่แข่ง
Paypalเข้าซื้อกิจการของ Paidy บริษัทกลุ่ม Fintech ญี่ปุ่นข้อตกลงมูลค่า 2,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 88,300 ล้านบาท) เพื่อเจาะตลาดการซื้อสินค้าแบบ ซื้อเลย (ผ่อน) จ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later) ที่โตอย่างมากในหลายประเทศช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
การซื้อกิจการครั้งนี้ของ Paypal มีขึ้นหลัง Square ซื้อกิจการ After Pay บริษัทในตลาด Buy Now Pay Later ของออสเตรเลีย ส่วน Amazon ก็จับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Affirm บริษัทในตลาดเดียวกันของสหรัฐฯ
นอกจากลดระยะห่างจากคู่แข่งแล้ว ยังเปิดช่องให้Paypalทำเงินจากตลาด E-commerce ญี่ปุ่นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและสหรัฐฯ อีกด้วย
ในส่วนของ Paidy ก่อตั้งเมื่อปี 2008 ถือเป็น Fintenh ‘เนื้อหอม’ ด้วยจำนวนผู้ใช้ 6 ล้านคน และไปเตะตาบริษัทการเงินใหญ่ ๆ อย่าง Visa และ Goldman Sachs สนใจร่วมลงทุน
จนกลายเป็นบริษัทเกิดใหม่ที่รอดตายและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง (Start-up Unicorn) ของญี่ปุ่น และดันมูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 39,200 ล้านบาท)
และหลังกระบวนการซื้อกิจการทั้งหมดเสร็จสิ้น Paidy จะเข้าไปเป็นบริษัทใต้ชายคา Paypal โดยที่ Riku Sugie ยังเป็น CEO และทำงานร่วมกับผู้บริหารชุดเดิมที่ก่อตั้งบริษัทร่วมกันมา
สำหรับเทรนด์ Buy Now Pay Later เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ เป็นสินเชื่อเพื่อซื้อสินค้ารูปแบบหนึ่ง แต่เป็นเงินก้อนไม่ใหญ่ ขั้นตอนสมัครไม่ยุ่งยากและเลือกกรอบเวลาผ่อนชำระได้ จึงได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่กลุ่ม Millennial และ Gen Z
Buy Now Pay Later ทวีความนิยมยิ่งขึ้นในสถานการณ์โควิด ที่ทุกคนต่างหาช่องทางเข้าถึงเงินเพื่อมาจับจ่ายใช้สอย โดยบริษัทในตลาด Buy Now Pay Later แต่ละแห่งจะทำเงินจากค่าธรรมเนียมและค่าปรับต่าง ๆ เมื่อผู้ใช้จ่ายเกินกำหนด
นี่จึงทำให้มีความกังวลว่าคนรุ่นใหม่อาจก่อหนี้โดยไม่จำเป็นหากบริหารเงินไม่ดีหรือใช้จ่ายเกินตัว/cnn
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ