เพราะแฟชั่นเป็นวงการที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์จึงต้องมีการกระตุ้นด้วยสิ่งใหม่ ๆ และมีเวทีให้ได้ปลดปล่อยไอเดียอยู่เสมอ จนต่อยอดสู่งานแฟชั่นโชว์ที่มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง

ท่ามกลางงานแฟชั่นโชว์ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก 4 งานใหญ่ที่ได้รับการยอมรับมากสุด และถูกจับตามองมากสุด คือ New York Fashion Week, London Fashion Week, Milan Fashion Week และ Paris Fashion Week

Eleanor Lambert

ตีกรอบแคบลงมาอีก ให้เหลือเฉพาะ 4 งานนี้ New York Fashion Week คืองานที่ยืนหนึ่ง เพราะเป็นงานที่เกิดก่อนตั้งแต่ปี 1943 และจัดก่อนในแต่ละปี โดยผู้ที่เป็นคนต้นคิด New York Fashion Week ขึ้นคือ Eleanor Lambert นักประชาสัมพันธ์คนสำคัญในวงการแฟชั่นของสหรัฐฯ ซึ่งต่อมาผุดไอเดียจัดอีกงานขึ้นมา

พิพิธภัณฑ์ศิลปะมหานครของนิวยอร์ก (The Met) 

Met Gala คืออีกงานที่ว่า โดยตัวงานจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1948 ผ่านงานเลี้ยงอาหารค่ำให้คนในวงสังคมชั้นสูงของนิวยอร์กได้มาพบปะกัน ซึ่งทุกคนที่มาร่วมงานต้องซื้อบัตรเข้างานใบละ 50 ดอลลาร์ (ราว 1,700 บาทตามค่าเงินปัจจุบัน) เพื่อระดมทุนให้กับสถาบันเครื่องแต่งกาย ในเครือพิพิธภัณฑ์ศิลปะมหานครของนิวยอร์ก (The Met)  

นอกจากเป็นงานให้คนในวงสังคมชั้นสูงของนิวยอร์กได้มาพบกันแล้ว งาน Met Gala ยังเป็นโอกาสให้ผู้หญิงได้แต่งตัวมาประชันกันอีกด้วย ส่วนเงินจากการขายบัตรก็จะได้นำมาใช้เป็นทุนสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันเครื่องแต่งกายตรงตามที่ Eleanor Lambert ตั้งใจ

Diana Vreeland

งาน Met Gala มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในปี เมื่อ The Met ได้ Diana Vreeland บรรณาธิการ Harper’s Baazar และ Vogue มาเป็นที่ปรึกษา

งาน Met Gala ปี 1973 

เธอได้ออกไอเดียให้ผู้มาร่วมงานใส่ชุดตามธีมที่กำหนดให้นางแบบมาร่วมงาน มีการขายสปอนเซอร์ ประเดิมด้วยงานในปี 1973 ที่ธีมงานคือ Balenciaga แบรนด์แฟชั่นสเปนชั้นนำ มีรัฐบาลสเปนเป็นสปอนเซอร์ และราคาบัตรเข้างานเพิ่มขึ้นเป็น 850 ดอลลาร์ (ราว 29,000 บาทตามค่าเงินปัจจุบัน)

ไอเดียของ Diana Vreeland เพิ่มสีสันและช่วยให้งาน Met Gala เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนคนดังในวงการอื่น ๆ โดยเฉพาะวงการบันเทิงอยากมาเข้าร่วม ขณะเดียวกันยังเป็นอีกเวทีให้ดีไซเนอร์ได้ประชันกันผ่านการออกแบบชุดให้คนดังในแต่ละปีอีกด้วย

คอนเซ็ปต์แต่งตัวตามธีมของ Met Gala ที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี เช่น ธีมรัสเซียในปี 1976 ธีมราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรียในปี 1979 และอินเดียในปี 1985 ธีมจีนในปี ยิ่งทำให้งานดังขึ้นเรื่อย ๆ

เพราะเหล่าคนดังต่างก็อยากเห็นว่า คนอื่น ๆ จะแต่งตัวกันอย่างไร และดีไซเนอร์ต่างก็แข่งกันออกแบบชุดเพื่อให้ชุดและคนดังคนนั้นเด่นสุดในงาน

ช่วงกลางยุค 90 มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้น 2 อย่างกับงาน Met Gala คือราคาบัตรที่เพิ่มเป็น 1,000 ดอลลาร์ (ราว 34,000 บาทตามค่าเงินปัจจุบัน) และการได้ Anna Wintour บรรณาธิการ Vogue ณ ขณะนั้นได้มาเป็นแม่งาน

Anna Wintour

Anna Wintour คงคอนเซ็ปต์ที่ Diana Vreeland ได้กำหนดไว้ แต่ได้เพิ่มเติมด้วยการให้คนดังจากวงการอื่น ๆ เช่น วงการกีฬา วงการหนังและวงการเพลง หรือแม้กระทั่งวงการเทคโนโลยีเข้ามาเป็นประธานจัดงานร่วม ซึ่งเป็นการเพิ่มสีสันของงาน

Met Gala ปี 2016 

เช่น ปี 2016 ในธีม Fashion in the Age of Technology ที่ได้ Jonathan Ives อดีตหัวหน้าฝ่ายออกแบบของ Apple ผู้ออกมาแบบ iPhone มาเป็นประธานร่วม  

ขณะที่บางปีก็เน้นไปที่การยกย่องผลงานของดีไซเนอร์ดัง เช่น ในปี 2017 ในธีม Comme des Garcon ที่ยกย่อง Rei Kawakubo ดีไซเนอร์ดังชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งแบรนด์นี้

Met Gala ปี 2017

แต่ไม่ว่าธีมงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร Met Gala ยังคงเป็นงานที่ให้ดีไซเนอร์ได้ส่งชุดมาประชันกัน และเปิดโอกาสคนดังได้แต่งตัวมาอวดกัน ซึ่งจากการที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทต่อการโปรโมต ถ้าใครแต่งตัวได้เตะตาที่สุด ภาพข่าวก็จะยิ่งถูกแชร์ออกไป ทำให้ดังมากยิ่งขึ้น และได้เรียกความสนใจในประเด็นที่อยากแสดงออกอีกด้วย 

เช่น ชุดราตรีกระโปรงยาวสีเหลืองทองของ Rihanna ประดับลวดลายจีน ที่เรียกกันว่าชุดไข่เจียว ในงานปี 2015 

และชุดเดรสเรียกร้องให้เก็บภาษีคนรวยของ Alexandria Ocacio-Cortez ส.ส. หญิงขวัญใจชาวอเมริกันรุ่นใหม่กับสีทอง 3 ชั้นของ Lil Nas X แรปเปอร์วัยรุ่น ในงานปี 2021

งาน Met Gala บางปีก็มีชุดคอนเซ็ปต์หลุดโลกที่คนนอกวงการแฟชั่นต้องงงเมื่อเห็นภาพ เช่น ชุดดำคลุมทั้งตัวซึ่ง Demna Gvasalia ดีไซเนอร์ใหญ่ของ Balenciaga ที่ดังแสบ ๆ ไอเดียแสบ ๆ ที่ออกแบบให้ Kim Kadarshian ใส่มางานในปี 2021

หรือชุดที่เข้าธีม เน้นขายไอเดียและนึกสนุก แต่กลับได้เป็นข่าวดัง เช่น ชุดมาสคอตแมวสีขาวที่มีต้นแบบมาจากแมวของ Karl Lagerfeld ดีไซเนอร์ดังผู้ล่วงลับที่ Jared Leto นักแสดงหนุ่มใหญ่และนักร้องนำวง 30 Second to Mars ใส่มาในงานปีนี้

รวมไปถึงชุดที่ทั้งเด่นและเข้ากับธีมงาน เช่น ชุดราตรียาว ลายหน้า Karl Lagerfeld ที่ Jeremy Pope นักแสดงหนุ่มผิวดำ ใส่ในงานปีนี้

ประเด็นน่าสนใจอีกอย่างของงาน Met Gala คือเป็นงานที่ย้ำความดังของคนดังในแต่ละปี โดยปีนี้ที่วงการบันเทิงเกาหลีใต้ดังไปทั่วโลก ทางผู้จัดก็ได้เชิญ Song Hye Kyo นักแสดงหญิงเกาหลีใต้คนดัง และ Jennie สมาชิกวง Blackpink มาร่วมงานด้วย

Song Hye Kyo กับ Jennie ในงาน Met Gala ปีนี้ 

เรื่องราวทั้งของงาน Met Gala แสดงให้เห็นถึงแผนการโปรโมตที่ประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากทำให้งานจัดได้ต่อเนื่องมาเกือบทุกปี หากไม่เกิดวิกฤตใหญ่ (เช่น วิกฤตโควิดที่ทำให้ต้องระงับการจัดงานในปี 2020) จนปลุกวงการแฟชั่นให้คึกคักได้อยู่ตลอด

Met Gala ยังระดมเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนสถาบันเครื่องแต่งกายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเมื่อปี 2021 ระดมเงินบริจาคได้ถึง 16.4 ล้านดอลลาร์ (ราว 656 ล้านบาท)

ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากทั้งแบรนด์สินค้า แบรนด์แฟชั่นกับคนดังเห็นตรงว่าเป็นงานใหญ่ และหากดังในงานนี้จะคุ้มเกินคุ้ม ดังนั้นจึงพร้อมจ่าย ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจเป็นเช่นไรและราคาบัตรแพงแค่ไหน

ยืนยันได้จากแม้ราคาบัตรในปีนี้สูงถึง 50,000 ดอลลาร์ (ราว 1.7 ล้านบาท) แล้วเพิ่มขึ้นมากมายหลายเท่าจากเพียง 50 ดอลลาร์ (ราว 1,700 บาทตามค่าเงินปัจจุบัน) ของงานครั้งแรกเมื่อปี 1948/cnn, theguardian, wikipedia, wwd



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน