สังคมผู้สูงอายุ ไทยพร้อมหรือยัง ? บทวิเคราะห์พฤติกรรมคนสูงวัย สิ่งที่นักการตลาดทุกวัยต้องรู้
โลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ
และเป็นเรื่องที่นักการตลาดทราบกันดีว่าอีกไม่นานประชากรโลกก็เริ่มทยอยพาตัวเองเข้าสู่โลกของคนสูงวัยมากขึ้น
ในปีที่ผ่านมาจากข้อมูลของกรมสถิติแห่งชาติพบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนคนสูงวัยมากถึง 16.1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 10.67 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศทั้งสิ้น 66.41 ล้านคน
การเติบโตของจำนวนประชากรสูงวัยของประเทศไทยกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง ในแง่ของกำลังการซื้อและอื่นๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ เศรษฐกิจของประเทศและโลกให้เดินต่อไปข้างหน้า
เมื่อประชากรสูงวัยคือโอกาสที่จะขับเคลื่อนโลกใบนี้ต่อไปในอนาคต
แล้วนักการตลาดล่ะ รู้จัก “ชาวสูงวัย” ดีพอหรือยัง
อิษณาติ วุฒิธนากุล Senior Client Officer ยิปซอสส์ ประเทศไทย ได้เล่าถึงรายงานวิจัยชุด “Getting Older – Our Aging World” ที่ยิปซอสส์ได้ลงสำรวจพฤติกรรม ทัศนคติ ของคนสูงวัยและผู้ที่ยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุทั่วโลก ให้เราฟังว่า
ในวันนี้พฤติกรรมและทัศนคติของคนสูงวัยในประเทศไทยได้เปลี่ยนไป จากเดิมที่ใครๆ มองคนสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปว่า เป็นกลุ่มที่ไม่ทันเทคโนโลยี ไม่ชอบเรียนรู้ และไม่ชอบสิ่งใหม่ๆ
แต่ความจริงแล้วประชากรสูงวัยไทยไม่ได้เป็นเช่นนั้น
เพราะจากรายงาน “Getting Older – Our Aging World” พบว่า ผู้สูงวัยไทย มีทัศนคติเกี่ยวกับวัยตัวเองดังนี้
64% รู้สึกว่าตัวเองอ่อนกว่าอายุจริง
75% ยินดีที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
46% การก้าวสู่วัยสูงอายุคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต
47% ต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ๆ หลังเกษียณ
นอกจากนี้ คนสูงวัยยังมีแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยี และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น
อิษณาติได้บอกกับเราว่าจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าในปี 2018 ประชากรสูงวัยไทย มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากถึง 10% จากผู้สูงอายุในประเทศไทยทั้งหมด
ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 2008 ที่ประชากรสูงอายุไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียง 1% เท่านั้น
และเมื่อศึกษาถึงไลฟ์สไตล์ของคนสูงวัยจากรายงาน Getting Older – Our Aging World ยังพบกว่าการใช้ชีวิตของคนสูงอายุได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก เพราะในวันนี้คนสูงวัยไม่ได้อยู่บ้านเลี้ยงหลานอีกต่อไป แต่เขายังมีไลฟ์สไตล์ในกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
56% ออกกำลังกาย
49% เดินทางท่องเที่ยว
34% เพาะปลูก
27% เยี่ยมญาติ/เพื่อน
27% เดินออกกำลังกาย
22% ร่วมกิจกรรมชุมชน
29% ช้อปปิ้ง
12% หาสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
10% ไปเป็นอาสาสมัคร
7% เล่นโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ และไอจี
7%เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ
อีก7% เล่นโยคะ
5%สัตว์เลี้ยง
5% เรียนคอร์สออนไลน์ต่างๆ
อีก5% เล่นการพนัน
2% เรียนรู้เครื่องมือใหม่ต่างๆ
2% ดูภาพยนตร์
นอกจากไลฟ์สไตล์ในกิจกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไปแล้ว คนสูงวัยยังมีพฤติกรรมการจับจ่ายที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยพวกเขาใช้เงินไปกับค่าอาหารและซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมากที่สุด
95% อาหาร
78% รับประทานอาหารนอกบ้านในโอกาสพิเศษ
78% ใช้เงินเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
73% เสื้อผ้า
73% ใช้เงินเพื่อการผ่อนคลาย
71% เดินทางท่องเที่ยว
68% อุปกรณ์สื่อสาร
63% ใช้จ่ายเพื่อสังคม เพื่อนฝูง รวมถึงการดื่ม-กิน
61% ไปงานสังคมต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ
61% ใช้เพื่อดูแลสุขภาพ เช่น การตรวจร่างกาย
58% ยานพาหนะ
48% การออม ยกเว้น ออมเพื่อชีวิตบั้นปลาย
48% ตกแต่ง – ต่อเติมที่อยู่อาศัย
41% เก็บเงินไว้ใช้ยามแก่
39% เครื่องแต่งกายไว้ออกสังคม
34% ลงทุนในหุ้น และรูปแบบอื่นๆ
34% ของขวัญพิเศษ
27% ใช้จ่ายเพื่อความงามต่างๆ เช่น ทำผม เสริมความงาม
27% ใช้จ่ายเพื่องานอดิเรกที่ชอบ
20% การศึกษาและเรียนพิเศษของลูกหลาน
17% เครื่องประดับ และแฟชั่นต่างๆ
7% การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
ถึงแม้การจับจ่ายของคนสูงวัยจะเปลี่ยนไป แต่เมื่อสอบถามถึงคนไทยอายุไม่ถึง 60 ปี ถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุกลับพบว่า พวกเขาเน้นการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ และการออมเงินหลังเกษียณเป็นอันดับต้นๆ
79% ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
72% รับประทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
59% เก็บออมเพื่อให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ
37% หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์
33% หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
30% เรียนรู้และเพิ่มทักษะในงานอดิเรกใหม่ๆ
29% มีบทบาทในชุมชน
28% พบปะเพื่อนฝูง และอยู่ในแวดวงสังคมเพื่อนที่ดี
22%รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับหุ้นส่วน
22% ทำกิจกรรมด้านกีฬาสม่ำเสมอ
22% ดูแลปรับปรุงที่อยู่อาศัย
อีก22% ใช้วีลแชร์อย่างชำนาญ
8% หาที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับคนสูงอายุ
สังคมผู้สูงอายุ กับความกังวลของคนสูงวัย
แม้ผู้สูงอายุจะเตรียมความพร้อมของตัวเองเพื่อก้าวสู่โลกของผู้สูงวัยแล้ว แต่เมื่อสอบถามคนไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พวกเขาก็ยังมีความกังวลหลายๆ เรื่องคือ
51% ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้
41% เจ็บป่วย
34% ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
32% มีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต
27% เสียความทรงจำ
20% ญาติและเพื่อนฝูงค่อยๆ จากไป
15% สูญเสียสายตาและการได้ยิน
10% ถูกทิ้งให้ล้าหลังด้านเทคโนโลยี
10% ผมหงอกและศีรษะล้าน
10%เบื่อหน่าย
อีก 10% ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว
7% ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่
และเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุโลก พวกเขากลับมีความกังวลในเรื่องของเงินไม่พอใช้มากที่สุด
30% กลัวมีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต
25% กลัวมีปัญหาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย
24% เสียความทรงจำ
22% ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้
20% การจากไปของคนในครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูง
20% ความเจ็บป่วย
19% ถูกทิ้งให้เปล่าเปลี่ยว เหงา เศร้า
18% ไม่มีอิสระ
16% ตาย
13% หูตึง/ตามองไม่เห็น
ความกังวลต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นความกังวลที่คนสูงวัยคิดไปเอง เพราะรายงานของยิปซอสส์ยังพบว่ามีคนทั่วโลกที่อายุต่ำกว่า 60 ปี เริ่มมองว่าการเลี้ยงดูบุพการีในวัยชราเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทำ
คนทั่วโลกคิดอย่างไรกับการดูแลบุพการีตอนแก่เฒ่า
ควรดูแลบุพการี | ไม่จำเป็นต้องดูแล | |
ทั่วโลก | 57% | 18% |
ไทย | 54% | 18% |
ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ | 23% | 33% |
อเมริกา | 55% | 13% |
จีน | 82% | 3% |
สวีเดน | 24% | 45% |
อินเดีย | 75% | 8% |
เมื่อรู้จักสูงวัยมากขึ้นแล้ว เป็นหน้าที่นักการตลาดที่จะมัดใจชาวสูงวัยไทยให้มากขึ้น เพราะในวันนี้นักการตลาดกว่า 79% ยังใช้ ‘อายุ’ เป็นตัวชี้วัดในการกำหนดตัวตนของผู้สูงวัย แทนที่จะศึกษาจากความชอบ ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการที่แท้จริง ความเข้าใจผิดเหล่านี้ทำให้เราไม่รู้จักผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง ไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เราประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและวางแผนต่างๆ ไม่ถูกทิศทาง
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



