ปี 2563 เป็นปีหนึ่งที่หนักและเลวร้ายที่สุดของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม
แต่ดูท่าจะเป็นฝันร้ายที่ยังไม่ยอมจบ
ตามคาดคนที่เจ็บที่สุดคือ วิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค แห่ง บริษัท ไมเนอร์ กรุ๊ป (MINTX) เจ้าของธุรกิจโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
ซึ่งมีโรงแรมที่ลงทุนเองจำนวนประมาณ 379 แห่ง รับจ้างบริหารอีก 156 แห่งใน 55 ประเทศทั่วโลก มีจำนวนห้องพักทั้งสิ้น 75,968 ห้อง
แม้รายได้หลักของไมเนอร์กรุ๊ปจะมีถึง 3 ธุรกิจหลัก คือ โรงแรม อาหาร และสินค้าไลฟ์สไตล์ แต่กว่า 70% จะเป็นรายได้จากโรงแรม
จากรายได้ 129,889 ล้านบาท กำไร 10,697 ล้านบาท ในปี 2562 เหลือรายได้เพียง 58,695 และขาดทุนถึง 21,407 เท่านั้น ในปี 2563
CENTEL หรือกลุ่ม โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ของตระกูล “จิราธิวัฒน์”
มีโรงแรมภายใต้การบริหารทั้งเป็นเจ้าของเองและรับจ้างบริหาร ประมาณ 45 โรงแรม
แต่รายได้หลักของ CENTEL ไม่ได้มาจากธุรกิจโรงแรม
ปี 2562 รายได้ 21,191 ล้านบาท มาจากโรงแรม 8,895 ล้านบาท หรือ 42% เท่านั้น แต่มาจากธุรกิจอาหาร 12,295 ล้านบาท หรือ 58%
ปี 2563 รายได้ทั้งหมดลดเหลือ 13,249 ล้านบาท ขาดทุน 2,775 บาท
“แอสเสท เวิรด์ คอร์ป” หรือ AWC ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ก็หนักไม่แพ้กัน ในขณะที่โรงแรมของกลุ่มไมเนอร์กระจายอยู่ในต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรปเป็นหลัก แต่ AWC ยึดเมืองท่องเที่ยวในเมืองไทยเป็นหลัก
จำนวนทั้งหมดทั้งที่ก่อสร้างเสร็จแล้วและกำลังพัฒนาประมาณ 30 โรงแรม
ปีที่แล้ว กำไร 1,054 ล้านบาท ส่วนปี 2563 ขาดทุน 1,881 ล้านบาท
เจ็บแต่ไม่ยอมจบ เพราะมั่นใจว่าโควิดน่าจะจบปีนี้แน่นอน
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วัลลภา ไตรโสรัส (สิริวัฒนภักดี) ซีอีโอ ของ AWC จึงได้ทุ่มเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซื้อโครงการโรงแรมและอสังหาฯ เข้าพอร์ต
และยังบอกว่ากำลังพิจารณาซื้ออีกหลายโรงแรมที่เสนอเข้ามาขายกับ AWC อย่างต่อเนื่อง
ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ของ กลุ่มว่องกุศลกิจ และวัธนเวคิน มีโรงแรมที่เป็นเจ้าของเองและรับจ้างบริหารประมาณ 73 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ อีก 5 แห่ง
เพราะวิกฤตโตวิด บริษัทจึงประกาศวางแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2564-2568) โดยจะให้ความสำคัญกับการขยายการลงทุนในกลุ่มโรงแรมบัดเจตเป็นหลัก แทนโรงแรมระดับบน ภายใต้งบลงทุน 8,000-10,000 ล้านบาท ทั้งในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และประเทศที่มีศักยภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ดุสิตธานี เป็นอีกกลุ่มโรงแรมหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา มีการไดเวอร์ซิฟายเพื่อกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจอื่น ๆอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ทัน
ปัจจุบันดุสิตธานีมีโรงแรมที่เป็นเจ้าของเองและรับจ้างบริหาร 40 โรงแรม ใน 14 ประเทศทั่วโลก
วิกฤตโควิดในปี 2563 ทำให้ดุสิตธานีประสบกับตัวเลขขาดทุนเป็นครั้งแรกถึง 1,011 ล้านบาท
ปี 2564 แสงสว่างข้างหน้ายังไม่ชัดเจน จะรักษาคน รักษาโรงแรม กันอย่างไร ต้องเอาใจช่วย
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



