การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563 ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินมาตรการ Lockdown ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักและภาวะเศรษฐกิจหดตัวรุนแรง
GDP ปี 2563 หดตัว 6.1% จากขยายตัว 2.4% ในปี 2562
รวมถึงธุรกิจก่อสร้างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ศูนย์วิจัยกรุงศรี ระบุว่า มูลค่าการลงทุนด้านก่อสร้างโดยรวมขยายตัวเพียง 1.4%
ชะลอลงจาก 2.3% ในปีก่อนหน้า
ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศหดตัว 4.0% ต่อเนื่องจากปี 2562 ที่หดตัว 3.4%
ตามปัจจัยจาก 1.การก่อสร้างภาครัฐเติบโต 4.8% ปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
2.การก่อสร้างภาคเอกชนหดตัว 2.9% ผลจากกำลังซื้อชะลอตัวตามภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
รวมถึงผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชะลอการเปิดโครงการใหม่ จำนวนบ้านเปิดขายใหม่ปี 2563 อยู่ที่ 65,065 ยูนิต ลดลง 41.6%
โดยหันไปเน้นการระบายสต๊อกเพื่อรักษาสภาพคล่องและกระแสเงินสด
3.ปริมาณการส่งออกวัสดุก่อสร้างหดตัว 17.8% ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ CLM
แล้วทิศทางธุรกิจวัสดุก่อสร้างปีนี้เป็นอย่างไร
ไตรมาส 1/2564 ปริมาณการผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการลงทุนภาคก่อสร้าง ที่เติบโต +13.5%
ซึ่งขับเคลื่อนโดยการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ โดยเฉพาะงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กก่อสร้างในประเทศเพิ่มขึ้น 8.2% YoY และ 1.6% YoY ตามลำดับ
ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายกระเบื้องและสุขภัณฑ์เซรามิกเติบโต 8.4% YoY และ 2.2% YoY ตามการฟื้นตัวของการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชน (+0.4% YoY) และกิจกรรมปรับปรุง/ซ่อมแซม
ด้านมูลค่าการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้น เหล็กก่อสร้างเพิ่มขึ้น 38.0% YoY ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ โดยตลาดหลักเติบโตในอัตราสูง เช่น อินโดนีเซีย (+84.1% YoY) มาเลเซีย (+49.9% YoY) และลาว (+10.6% YoY) เป็นต้น
ด้านการส่งออกปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้น 11.6% YoY โดยตลาดเมียนมายังคงขยายตัวได้ดี (+31.3% YoY) แม้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศ
สำหรับทิศทางในระยะ 3 ปีข้างหน้า ศูนย์วิจัยกรุงศรีมองว่า
ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามภาวะการก่อสร้าง
โดยคาดว่ามูลค่าการลงทุนภาคก่อสร้างโดยรวมจะขยายตัว 4.9-5.2% ในปี 2564-2566 มาจากแรงสนับสนุนจาก
การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 7.0% ต่อปี โดยโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับ EEC (มีเอกชนร่วมลงทุนด้วย) มีความคืบหน้าและเริ่มดำเนินการบ้างแล้ว ได้แก่ โครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (เริ่มงานก่อสร้างแล้ว)
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัว 2.1% ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง
มูลค่าการส่งออกปี 2564-2566 คาดว่าจะกลับมาเติบโตหลังจากซบเซามากในปี 2563 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการลงทุนก่อสร้างในประเทศ CLV โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการมีแนวโน้มขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
อย่างไรก็ตาม ตลาดเมียนมามีแนวโน้มทรงตัวหรือชะลอลง จากความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนทั้งประเภทที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่อยู่อาศัย
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



