พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างไรในปี 2022
เป็นคำถามที่นักการตลาดหลายคนตั้งถามกับตัวเองและทีมการตลาด เพื่อหาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อเชื่อมโยงกับแบรนด์เพื่อสื่อสารและทำตลาดผลักดันยอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในปี 2022 เป็นปีที่ผู้บริโภคอยู่กับโควิด-19 มานานกว่าสองปี ซึ่งแน่นอนว่าพฤติกรรมของพวกเขาเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร Head of Strategy มายด์แชร์ สรุปเป็นเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีส่วนสำคัญกับนักการตลาด 6 เทรนด์หลัก ประกอบด้วย
เทรนด์ที่1
Mindful Togetherness
เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิต
มายด์แชร์บอกกับเราว่าในวันนี้ผู้บริโภคมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง รู้จักกับการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับโควิด-19 และมีความพร้อมออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านเกือบปกติ แต่เป็นการใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
พฤติกรรมการใช้ชีวิตนอกบ้าน และมองว่าทำอย่างไรเพื่อที่จะใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่าในหลายปีที่ผ่านมา Digital Transformation ได้เข้ามาเปลี่ยนโลกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตนอกบ้านของผู้บริโภคอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั้งเกิดการการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้ามาเป็นตัวเร่งพฤติกรรมผู้บริโภคให้ปรับเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
พฤติกรรมเหล่านี้ มายด์แชร์แนะนำว่า นักการตลาดนำไปปรับใช้กับแบรนด์ 3 แนวทางได้แก่
-Phygital Community-
แม้ในวันนี้พฤติกรรมผู้บริโภคจะซื้อของออนไลน์มากขึ้น แต่ยังโหยการกลับมาใช้ชีวิตปกติ เพราะ Physical Experience เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยังขาดไม่ได้
มายด์แชร์แนะนำแบรนด์ตอบโจทย์พฤติกรรมนี้ด้วยการผนึกรวมระหว่างช่องทางจำหน่ายหน้าร้านและการขายออนไลน์ (Physical + Digital) เพื่อช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และสร้าง engage กับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น
และเป็นการเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ซื้อในเรื่องของ Hygienic Safety
ในอนาคตการปรับสู่ Physical + Digital ของแบรนด์ จะทำให้การเข้าไปช้อปปิ้งในห้างร้านของผู้บริโภค จะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือเล่าเรื่องราวของ Brand Story และ Interactive กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
-Contactless Connection-
แม้ Contactless Connection จะเป็น Subset ของ Phygital Community แต่เป็นพฤติกรรมที่เห็นชัดเจนในประเทศไทย
Contactless Connection เป็นประสบการไร้สัมผัสจะเข้ามาสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคในการใช้ชีวิตนอกบ้าน
เช่นการรับบัตรจอดรถแบบไร้สัมผัส การชำระค่าทางด่วน และอื่นๆ
พฤติกรรมนี้จะมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางการจำหน่ายหน้าร้าน และการออกแบบสินค้าทีนำเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในเรื่องของความสะอาดและสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น
เพราะในยุคหลังจากนี้จะไม่สามารถกลับไปในยุค Old Normal อีกต่อไป
-Omnichannel Retail-
แบรนด์จะต้องปรับตัวในยุค Post-Pandemic โดยการรวบข้อมูลจากช่องทางต่างๆ เข้าด้วยกัน สร้าง Touchpoint ต่างๆให้เกิดการซื้อและรับสินค้าสะดวกทั้ง Online และ Offline
เพราะในวันนี้แบรนด์ไม่ควรมาตอบคำถามว่ามีช่องทาง Ecommerce หรือยัง แต่แบรนด์ควรตอบคำถามว่าได้เติมเต็มประสบการณ์ในรูปแบบ Omnichannel อย่างไร้รอยต่อหรือยัง เพราะ Omnichannel ไม่ใช่มีช่องทางที่หลากหลายเท่านั้น แต่ต้องนำทุกช่องทางมา Integrate เข้าด้วยกัน ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงการขาย สร้างความสะดวกของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์
เทรนด์ที่2
Homebody Economy?
ผู้บริโภคยังคงหาประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดจากการอยู่บ้านอีกต่อไปหรือไม่
ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีพฤติกรรมอยู่ติดบ้าน ใช้ชีวิตอยู่กับบ้านเป็นเวลานาน
ส่วนปีนี้การใช้ชีวิตอยู่กับบ้านยังคงอยู่หรือไม่
มายด์แชร์บอกกับเราว่า ยังคงอยู่ เพราะผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังใช้ชีวิตทำงานที่บ้าน และเรียนที่บ้านอยู่ และอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการไปทำงานที่ออฟฟิศอีกด้วย
เมื่อผู้บริโภคยังอยู่กับแบรนด์ มายด์แชร์ แนะนำ 3 แนวทางที่แบรนด์สามารถปรับใช้รับกับเทรนด์นี้ได้คือ
-Hometainment-
Hometainment หรือ home + entertainment เป็นหนึ่งในโมเมนต์ที่เข้ามาเติมเต็มชีวิตในบ้าน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่โหยหาประสบการณ์ที่ยังอยู่ไกลตัวที่ยังไม่สามารถออกไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์นั้นได้อย่างเต็มที่ เช่นท่องเที่ยว การตั้งแคมป์ และอื่นๆ
แบรนด์หรือแฟลตฟอร์มควรสนองประสบการณ์ด้าน Hometainment ในรูปแบบต่างๆ ที่เหนือความคาดหมายของผู้บริโภคที่ไม่จำกัดเพียงคอนเทนต์ และเพลงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงแฟชั่น กีฬา เกม เพราะเรายังได้เห็นการไลฟ์แฟชั่นโชว์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตที่บ้านด้วย
รวมถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่บ้าน เช่น ที่ญี่ปุ่นอยู่ในระหว่างการพัฒนาจอทีวีที่มีรสชาติ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถคอนเน็ตกับโลกภายนอกได้
-Statement of Place and Space-
ความหมายของสถานที่และพื้นที่จะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านการออกแบบหรือการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ของสถานที่ให้มีคุณค่าและความหมายที่ลึกซึ้งและหลากหลายกว่าเดิม
ในส่วนของพื้นที่ ความยืดหยุน จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การสร้าง Space Design จะต้องตอบโจทย์ฟังก์ชันนอลที่หลากหลายสามารถปรับเปลี่ยนตอบโจทย์การใช้งานแต่ละรูปแบบได้
เช่นออฟฟิศดีไซน์ พื้นที่ห้องประชุมสามารถปรับเปลี่ยนเป็นห้องประชุมขนาดเล็กและใหญ่ได้ หรือเป็น Town Hall ได้
ที่อยู่อาศัยสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามการใช้งานในแต่ละช่วงเวลาได้ เช่นช่วงเวลาทำงานเป็นพื้นที่ทำงาน หลังเลิกงานปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ออกกำลังกาย หรือปรับเป็นพื้นที่รับรองเพื่อนที่เข้ามาสังสรรค์ในบ้านได้
ส่วนเรื่อง Place หรือสถานที่ มายด์แชร์ให้ความเห็นว่าการกลับไปสถานที่ต่างๆ มีความหมายมากขึ้นสำหรับผู้บริโภค เทคโนโลยี อย่าง AR / QR Code / VR จะเข้ามาสร้างประสบการณ์กับผู้บริโภคในสถานที่ต่างๆ จะเข้ามาเติมเต็มมากกว่าเดิม เช่นการนำ QR Code มาให้ผู้บริโภคสแกนเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในอดีตของสถานที่นั้นๆ เชื่อมโยงผู้บริโภคระหว่างอดีตกับปัจจุบัน
-Survive or Alive?-
แบรนด์ควรปรับจูนคอนเทนต์ หรือไดเรคชั่นที่คุยกับผู้บริโภค
จากสองปีที่ผ่านมาผู้บริโภคอาจจะตั้งคำถามว่าทำอย่างไรถึงจะไม่ติดโควิด-19 หรือมีชีวิตรอดอย่างไร
แต่เพราะผู้บริโภคอยู่กับความไม่แน่นอนจากโควิด-19 มานานถึง 2 ปี วันนี้พวกเขาไม่ต้องการให้แบรนด์ออกมาบอกว่าสู้ๆ นะ ให้กำลังใจอยู่บนพื้นที่สีเทาๆ
แต่ผู้บริโภคอยากจะให้แบรนด์พูดถึงความตื่นเต้นที่จะกลับไปใช้ชีวิตภายนอกมากขึ้น กระตุ้นให้ผู้บริโภคออกไปเติมเต็มแพชชั่นและความฝันของเขามากกว่า
เทรนด์ที่3
Nostalgia Reminiscing
ย้อนถึงนึกเวลาในอดีตที่น่าจดจำ
เทรนด์ที่ผู้บริโภคย้อนนึกถึงช่วงเวลาความทรงจำ อดีตที่น่าจดจำ หรือย้อนยุคต่างๆ จะกลับมาเข้าอยู่ในชีวิตผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะ Gen Y และ Gen Z ที่มายด์แชร์บอกว่าเติบโตมากับดิจิทัล
จากเทรนด์นี้นักการตลาดสามารถสื่อสารในรูปแบบ
-Down the Memory Lane-
คำว่า Digital Lifestyle ถูกครอบด้วยคำว่า Speed Instant และ Convenient แต่เสน่ห์ของอนาล็อกได้เข้าไปชดเชยความง่าย สะดวก ในยุคของดิจิทัล
แบรนด์ใช้ความเป็นอนาล็อกมาสื่อสารถึงผู้บริโภคได้ อย่างเช่นเป๊ปซี่จับมือกับกล้องโพลารอยด์ ออกกล้องเป๊ปซี่โพลารอยด์ และได้รับความนิยมมาก
พิซซ่าฮัทนำ AR เข้ามาเชื่อมผู้บริโภคให้สามารถเล่นเกมแพคแมนซึ่งเป็นเกมในอดีตบนโลกเสมือนผ่านกล่องพิซซ่า
แต่ดิจิทัลทั้งนี้ทั้งนั้น ด้วยความที่เราอยู่ในยุค digital เทรนด์ข้อนี้ก็อาจจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเติมเต็มวิถีของผู้บริโภคด้วย
เทรนด์ที่4
Live More Than One Life
ยุคของโลกเสมือนจริง
เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในชีวิตผู้บริโภคมากขึ้นและทำให้เส้นแบ่งระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนจางลง และหลายๆ อย่างได้ปรับเปลี่ยนเป็น Virtual ในรูปแบบต่างๆ
สำหรับนักการตลาดสามารถนำเทรนด์นี้มาปรับใช้ 2 แนวทางได้แก่
-Mega Metaverse-
กระแสที่มาแรงในช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งเทคโนโลยีที่แบรนด์สามารถนำพาผู้บริโภคไปอยู่ในโลกเสมือนจริงอีกโลกนึงนี้ได้ผ่านเทคโนโลยีอย่าง AR/ VR นอกจากจะทำให้แบรนด์สามารถ Engage กับผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งแล้ว ยังทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริงอีกด้วย
-No More Middle Man-
การเกิดขึ้นของ blockchain ได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการกระจายอำนาจ (decentralize) เกิดขึ้น ผลพวงของการกระจายอำนาจทางด้านการเงินที่ทำให้เกิด cryptocurrency ที่ว่ายังกระจายไปสู่วงการเกมและศิลปะ
เทรนด์ที่5
Brighter, Bolder, Better, Build Back
ผู้บริโภคให้ความสำคัญและใส่ใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น
ยุคที่ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญและความใส่ใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น เริ่มเห็นความเชื่อมโยงตัวเอง คนใกล้ตัว และสังคม สิ่งแวดล้อม
ผู้บริโภคแสดงออกมาในรูปแบบของ
-Play a Part-
การมีส่วนร่วมในกระแสสังคม จากการมองเห็นว่าสิทธิและเสียงสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และสังคมได้จริง
-Well – Balance Wellness-
โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหันกลับใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ในปีนี้และอนาคตผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตที่เกิดจากความเครียดกับการใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 มานานกว่า 2 ปี
เทรนด์ที่6
Interactive Future
เทคโนโลยีจะเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์และ journey ของผู้บริโภคได้มากกว่าเดิม
ประกอบด้วย
-Voice, Visual, Video, and Virtual Assistant-
มายด์แชร์มองว่าVoice, Visual, Video, and Virtual Assistant เป็น Game Changer ในยุค 2022 ที่จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการกระตุ้นและประสบการณ์การช้อปปิ้งของผู้บริโภคให้สนุกสนาน ตื่นเต้นและสะดวกสบายมากขึ้น
สามารถค้นหาข้อมูลด้วยภาพ ใช้ไลฟ์สตรีมมิ่งวิดีโอเอามาเสริมเพื่อให้ผู้บริโภค Interactive กับผู้ขายโดยตรง ได้เห็นสินค้าจริง เพิ่มความอุ่นใจในการซื้อ และสามารถ Engage ได้อย่างเรียลไทม์
-Shoppable Media-
สื่อที่เป็นได้มากกว่าการสร้าง Awareness และ Engagement หรือการทำหน้าที่ในการปิดการขายได้เลย ทำให้ journey ของผู้บริโภคกระชับกว่าเดิม
จากที่ผู้บริโภคมีประสบการณ์ช้อปปิ้งบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และหาความสะดวกสบายในการช้อปมากขึ้น เช่นเห็นสินค้าแล้วชอบและอยากช้อปได้ทันทีในแพลตฟอร์มที่เห็น
โดยในปีนี้มายด์แชร์มองว่าโซเชียลคอมเมิร์ซจะเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุด และมีบทบาทในชีวิตประจำวันผู้บริโภคมากขึ้น
-In Control and On Demand-
เทคโนโลยีและแฟลตฟอร์มต่างๆ บนโลกออนไลน์จะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในการควบคุม จัดการกับเวลาหรือคอนเทนท์ที่จะเข้าถึงได้ตามความสะดวกและเหมาะสม เพื่อนำเวลาไปทำอย่างอื่นมากกว่าการอยู่บนโลกออนไลน์ เป็นต้น
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



