เนสท์เล่ ประเทศไทย สานต่อปีที่ 8 “เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ” ร่วมชุมชนจ. พระนครศรีอยุธยา ขยายอีก 2 โครงการใหม่ ครอบคลุมการจัดการทรัพยากรน้ำในคลองขนมจีนใน 3 แนวทางหลัก เรียนรู้-ปกป้อง-ฟื้นฟู ตั้งเป้าขยายพื้นที่อนุรักษ์ให้ได้ตลอดความยาว 21 กม. ของคลองฯ
นางสาวนาริฐา วิบูลยเสข ผู้อำนวยการบริหารหน่วยธุรกิจน้ำดื่ม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า น้ำดื่มเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ โดยหน่วยธุรกิจน้ำดื่มเนสท์เล่ ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการด้านความยั่งยืน “เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ (Nestlé Waters cares for Water)”
ตามคำมั่นสัญญาของหน่วยธุรกิจน้ำดื่ม เนสท์เล่ในการชดเชยน้ำทั้งหมดคืนสู่ชุมชนและธรรมชาติ หรือ “Net Water Positive” ภายในปี 2025 โดยทดแทนน้ำที่บริษัทฯ ใช้ทั้งหมดมากถึง 1 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการผลิตที่โรงงานเนสท์เล่ วอเตอร์สทั้ง 2 แห่งที่จ. พระนครศรีอยุธยา และ สุราษฎร์ธานี
ซึ่งนับเป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนระดับสากลจาก Alliance for Water Stewardship (AWS)
บริษัทฯ สานต่อปีที่ 8 ของโครงการ “เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ” ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2015 โดยร่วมกับชุมชนในจ. พระนครศรีอยุธยา ผ่านกิจกรรมมากมายในโครงการฯ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรน้ำในคลองขนมจีนให้กับนักเรียนและชุมชนที่จ. พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบัน บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการชดเชยน้ำกลับคืนสู่ชุมชนและธรรมชาติ 100%
ปี 2023 จะเป็นปีที่โครงการฯ ครอบคลุมภายใต้แนวทางหลัก 3 ด้าน อย่างครบวงจร ได้แก่ เรียนรู้ ปกป้อง และฟื้นฟู สอดคล้องกับความมุ่งมั่น สู่เส้นทางแห่ง ‘การดูแลและฟื้นฟู’ หรือ Regeneration เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
ประกอบด้วยโครงการหลัก
- โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ ต่อยอดปีที่ 8 ด้วยการสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรน้ำให้กับนักเรียนและชุมชนในคลองขนมจีน ด้วยการขยายการมีส่วนของชุมชนทั้ง 6 ตำบลและ 7 โรงเรียนตลอดคลองขนมจีน ปัจจุบัน มีนักเรียนและชุมชนเข้าร่วมโครงการกว่า 6,000 คน
- ตลาดนัดขยะชุมชน บริษัทฯ ร่วมมือกับวงษ์พาณิชย์ในการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้กับชาวบ้าน ตั้งแต่ปี 2022 โดยเริ่มตั้งแต่ครัวเรือน เปลี่ยนขยะให้เป็นรายได้ของชาวบ้าน เพื่อไม่ให้มีขยะหลุดลอดลงในแหล่งน้ำ ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนคลองขนมจีนสามารถขายขยะเพื่อสร้างรายได้กว่า 12 ตัน ซึ่งช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 9,600 กิโลคาร์บอน (Kgs CO2e)
2 โครงการขยายใหม่ ปี 2023
ดังนี้ 3. เนสท์เล่รักษ์ชุมชน นำผักตบชวาสู่รายได้ ส่งเสริมให้ชาวบ้านเก็บผักตบชวาที่เป็นวัชพืชในแหล่งน้ำ มาขายเป็นวัตถุดิบอัดเป็นไม้เทียมทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้รับประทานอาหาร ให้กับโรงเรียน โดยริเริ่มกิจกรรมใน 7 โรงเรียนโดยรอบคลองขนมจีนก่อน เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับนักเรียน โรงเรียน และชุมชน
- เนสท์เล่รักษ์น้ำ คืนปลาสู่คลองขนมจีน บริษัทฯ ยังได้มีการจัดทำบ่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาท้องถิ่นหายาก 6 สายพันธุ์ ได้แก่ ปลากระทิง ปลาหลดนา ปลารากกล้วย ปลาหมูแดง ปลากราย ปลาแดง เพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และฟื้นฟูพันธุ์ปลาหายากเหล่านี้กลับคืนสู่คลองขนมจีน
โครงการทั้งหมดล้วนเป็นเป็นหนึ่งในแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ของบริษัทฯ
นายสุชาติ พันธุ์เพ็ง ตัวแทนชุมชนคลองขนมจีน กล่าวว่า “คลองขนมจีนเคยประสบปัญหาน้ำในคลองไม่สะอาด รวมทั้งขยะและวัชพืชที่อยู่ในคลอง สะสมมาเรื่อย ๆ ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนไป”
“พอเนสท์เล่เข้ามาทำโครงการ “เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ” เห็นความเปลี่ยนแปลงในคลองขนมจีนโดยตลอด จากตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ (ปี 2015) ปัจจุบัน ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับชุมชนของเรา”
“นักเรียนและชาวบ้านได้มีความรู้ความเข้าใจ และได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองขนมจีน และจัดการทรัพยากรน้ำด้วยตัวเราเอง ทำให้คลองของเราใสสะอาดและอุดมสมบูรณ์ มีปลาในแหล่งน้ำ และสามารถพายเรือสัญจรในคลองตามวิถีชีวิตแบบเดิมได้”
นาริฐา เสริมว่า “พื้นพัฒนาคลองขนมจีน ปัจจุบันอยู่ในช่วงตรงกลางคลองฯ หลังจากนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าร่วมกับชุมชนพัฒนาการอนุรักษ์ให้กระจายตัวสู่พื้นที่คลองฯ ตลอดความยาว 21 กม. ของคลองฯ คืนวิถีชีวิตดั้งเดิมให้กับชาวบ้านซึ่งเป็นกำลังหลักในการอนุรักษ์ และบริษัทฯ จะได้เรียนรู้ไปกับชุมชน เพื่อพัฒนาคลองฯ ให้อุดมสมบูรณ์ต่อไป”
วันนี้ (20 พ.ย. 2566) เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข แบรนด์พรีเซนเตอร์น้ำดื่มเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ นำทีมผู้โชคดีกว่า 30 คน ร่วมทำกิจกรรมพิเศษ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพคืนสู่ธรรมชาติในชุมชนในจ. พระนครศรีอยุธยา ผ่านโครงการ “เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ” อีกด้วย
อนึ่ง บริษัทฯ ยังได้ขยายโครงการ “เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ” ไปยังจ. สุราษฎร์ธานี หลังเริ่มงานมาได้ประมาณ 1 ปี ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาพื้นที่พัฒนา อย่าง แหล่งน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง และร่วมหาชุมชนในพื้นที่เข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวต่อไป
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ