กลยุทธ์ที่ทำให้ทั้งตัวผมและลูกค้าผมในปีที่ผ่านมา สามารถมีชีวิตที่มีประสิทธิภาพและไม่หยุดอยู่กับที่กับสิ่งยาก ๆ ที่ต้องทำ หรือน่าเบื่อหน่าย เช่น การเขียนวิทยานิพนธ์ไปจนถึงการล้างจาน ซึ่งล้วนมาจากความคิดที่ไม่มีเหตุผลทำให้เราไม่สามารถทำเรื่อง ๆ นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. ฉันต้องทำมันให้เสร็จในทีเดียว
2. ฉันต้องรู้ลำดับสิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะเริ่มสิ่ง ๆ นั้นได้
3. ฉันต้องทำให้มัน Perfect
4. มันต้องไม่ยากที่จะทำมันให้เสร็จ
5. ฉันต้องไม่รู้สึกกังวลเวลาทำสิ่งนั้นให้เสร็จให้หมด
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่จะกำจัดความคิดผิด ๆ เหล่านี้โดยใช้ Three-Minute Exercise (TME)
A. เริ่มทำงาน: หาอะไรทำ
B. ความคิดผิด ๆ: ให้คิดว่ามันง่ายที่จะทำมันได้
C. ผลที่ตามมาของพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์: การผัดวันประกันพรุ่ง
D. เริ่มตั้งคำถามของความคิดผิด ๆ: อะไรคือหลักฐานว่ามันจะง่าย
E. การคิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพ: มันเป็นไปได้ยากที่จะทำอะไรสำเร็จได้ง่าย ๆ ส่วนมากแล้วมันจะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว ไม่สบาย ผมไม่ชอบแต่ผมโอเคกับมันที่สิ่งที่ต้องทำนั้นยาก ผมแค่ร้องเศร้ามันออกมาว่ามันยาก ผมทำสิ่งยาก ๆ มาก่อนในอดีต และผมก็จะทำมันอีกในอนาคต การแก้วิธีนั้นเริ่มจากการเริ่มและให้มันค่อย ๆ พาตัวเราไป มันไม่ใช่ว่าสิ่งนั้นจะทำให้เราขี้เกียจแต่เป็นความคิดที่ “ต้อง” ทำมัน ด้วยการฝึกฝนอยากมากมาย ผมเรียนรู้ที่จะอยู่กับความไม่สบายถึงแม้ว่าผมจะไม่ชอบมันเลยแม้แต่นิดเดียว
F. การมีพฤติกรรมใหม่: ยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขกับสิ่งที่ยากและมุ่งหน้าต่อไปกับสิ่งที่ต้องทำในวันนั้น ๆ
10 วิธีที่จะสามารถประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในชีวิต
1. ตั้งตารางชีวิตก่อนวันพรุ่งนี้ว่าจะทำอะไรในสิ่งที่เราอยากจะทำ รวมถึงตั้งเวลาเริ่มที่ดีที่สุดในกิจวัตรและตั้งเวลาที่มีเหตุผลสำหรับมัน
2. ให้รางวัลหรือโทษกับสิ่งที่คุณทำ ถ้าคุณทำบางอย่างได้ให้รางวัลตัวเอง อย่างเช่นกินของที่ตัวเองชอบ หรือถ้าคุณล้มเหลวในกิจวัตรนั้น คุณยอมบริจาคเงินให้กับนักการเมืองที่คุณไม่ชอบ
3. บอกเพื่อนและคนใกล้ตัวในสิ่งที่คุณจะทำ ทุกคืนบอกพวกเขาว่าคุณอยากจะทำอะไรให้เสร็จในวันนั้น ๆ และบอกให้เขารู้ในวันนั้นที่คุณทำว่าคุณทำอะไรมา และทำเหมือนเดิมในวันต่อมา
4. ใช้วิธี 3 นาทีผัดวันประกันพรุ่ง ใช้เวลา 3 นาทีเพื่อทำอะไรบางอย่างถึงแม้ว่าในสามนาทีอาจจะดูไม่ใช่เวลาที่มากนักที่จะสามารถทำอะไรให้สำเร็จได้ ไอเดียของมันก็คือใช้จังหวะนี้เพื่อให้มันดำเนินต่อไป คุณอาจจะล้มเลิกมันก็ได้ แต่อย่างน้อยคุณได้เริ่มก้าวแรกแล้ว หรือบางทีคุณได้เริ่มมันคุณอาจจะทำมันมากกว่า 3 นาทีเพราะสิ่งที่คุณเริ่มต้นใน 3 นาทีแรก
5. ใช้หลักการของพรีแม็ก นักจิตวิทยา David Premack แนะนำว่าใช้พฤติกรรมความถี่สูงเพื่อเสริมพฤติกรรมความถี่ต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกินกาแฟบ่อย ๆ แต่คุณไม่ค่อยจัดเตียง คุณลองห้ามกินกาแฟแล้วจัดเตียงก่อน
6. ใช้วิธีจัดอันดับ จัดอันดับสิ่งที่คุณต้องการจะประสบความสำเร็จในวันนั้น เขียน A ในสิ่งที่ต้องสำคัญที่สุด และ C กับสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุด และ B ในสิ่งต่าง ๆ เมื่อคุณมีเวลาจัดการในกิจกรรมที่คุณทำ ทำ A ก่อน แล้วทำ B และทำ C