มีให้สนุกกันอยู่เสมอกับเกมแข่งขันขนส่งย่อย ที่มีคู่แข่งออกบริการใหม่ๆ ดึงกลุ่มลูกค้าเข้ามาใช้บริการอยู่เสมอ

หรือว่าไม่จริง?

มาในคราวนี้ Marketeer ขอเล่าเรื่องการแข่งขันของธุรกิจขนส่งพัสดุย่อยในกลุ่มของบริการส่งพัสดุด่วนที่เรียกว่า Instant on Demand บริการรับสินค้าจากมือผู้ส่งไปส่งถึงมือผู้รับภายในไม่กี่ชั่วโมง ตอบโจทย์คนไทยที่เริ่มจะรออะไรนานๆ ไม่ได้

เมื่อพูดถึงตลาด Instant on Demand ในธุรกิจขนส่งพัสดุย่อย Marketeer ขอปูพื้นให้อ่านสักนิดนึงว่าในตลาดขนส่งพัสดุย่อยแบบด่วนพิเศษที่ส่งสินค้าถึงมือผู้รับภายในวันที่ส่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. Same Day Delivery ส่วนใหญ่เป็นบริการที่มีจุดรับพัสดุ และมีกำหนดเวลาให้บริการที่แน่ชัด เช่น DHL, Kerry Express, SCG Express และไปรษณีย์ไทย ที่มีจุดเด่นคือค่าบริการที่ไม่สูงจนเกินไป แต่จุดด้อยคือมีกำหนดเวลาปิดรับที่แน่ชัด ซึ่งส่วนใหญ่จะก่อนเที่ยง และถ้าส่งเลยในช่วงเวลาที่กำหนด นั่นหมายถึงพัสดุจะได้รับวันถัดไป
  2. Instant on Demand บริการรับพัสดุจากมือผู้ส่งไปยังมือผู้รับโดยตรง ผู้ส่งสามารถเรียกให้เข้าไปรับพัสดุจากมือในเวลาไหนก็ได้ และเพื่อนำไปส่งถึงมือผู้รับภายในไม่กี่ชั่วโมง เช่น Grab Express, Lineman และ Lalamove เป็นต้น

บริการรูปแบบนี้มีจะข้อดีคือ ผู้ส่งไม่ต้องเดินทางนำพัสดุไปฝากส่งที่จุดรับพัสดุ และไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาปิดรับพัสดุเหมือนในแบบแรก และพัสดุถึงมือผู้รับในเวลาที่รวดเร็ว แต่ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จากการคิดค่าบริการตามระยะทางจากมือผู้ส่งถึงมือผู้รับ ถ้าระยะทางยิ่งไกล ค่าบริการยิ่งแพง

 

สัดส่วนความต้องการส่งพัสดุด่วน 2559 แบบทั่วไป มากกว่า 99% Same Day น้อยกว่า 1% 2568 แบบทั่วไป มากกว่า 99% Same Day 22% Instant Delivery on Demand 3% ที่มา DHL, 2561

โดยปัจจุบัน ตลาดในรูปแบบ Instant on Demand ในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่เกิดใหม่ เพียงไม่กี่ปีจากผู้แข่งขันหลัก 3 ราย ได้แก่ Grab Express Lineman และ Lalamove ที่เปิดให้บริการ และส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการการบริการในรูปแบบนี้แฝงอยู่ทุกซอกมุม

แล้วพวกเขามีการแข่งขันกันอย่างไร

 

Grab Express มอเตอร์ไซค์ไม่พอ ต้องรถด้วย

หลังจากที่ แกร็บ เปิดให้บริการ Grab Delivery ให้บริการรับส่งพัสดุ-เอกสาร On Demand มานานพอสมควร ก็ได้ฤกษ์รีแบรนด์ พร้อมเปิดบริการใหม่ๆ เพื่อแข่งขันในศึก Instant Delivery on Demand ที่มีการเติบโตด้านจำนวนผู้ใช้ รายได้ และคู่แข่ง ที่ต่างสร้างแบรนด์จนผู้บริโภคจดจำ และเลือกใช้เป็นแบรนด์อันดับต้นๆ เมื่อต้องการใช้บริการส่งพัสดุด่วน

การที่แกร็บรีแบรนด์จาก Grab Delivery เป็น Grab Express มาจากเหตุผลหลักคือ

1. ชื่อ Grab Delivery ไม่สามารถตอบโจทย์ด้านการรับรู้ของผู้บริโภคถึงบริการรับส่งเอกสารและพัสดุเท่ากับคำว่า Express ที่ติดอยู่ในความทรงจำของคนไทยว่าคือบริการขนส่งพัสดุด่วน ทำให้ผู้ใช้บริการบางส่วนไม่ทราบว่า Grab มีบริการในรูปแบบนี้ด้วย

2. แกร็บต้องการบุกตลาดขนส่งพัสดุในรูปแบบ Instant Delivery on Demand จากการมองเห็นโอกาสของธุรกิจส่งสินค้าแบบเร่งด่วนในประเทศไทยที่มีโอกาสการเติบโตสูง จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ที่ในปีนี้คาดว่าอีคอมเมิร์ซจะเติบโต 25% จากปีที่ผ่านมา

 

และนอกเหนือจากการรีแบรนดิ้ง แกร็บยังได้รุกตลาดด้วยกลยุทธ์ใหม่อีก 4 กลยุทธ์คือ

  1. ชูบริการขนส่งด้วยรถยนต์และรถปิกอัพขึ้นมาเป็นจุดขาย รองรับผู้ใช้บริการที่ต้องการส่งพัสดุขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนมากชิ้นที่มอเตอร์ไซค์ไม่สามารถให้บริการได้

เพราะก่อนหน้าที่แกร็บจะมีบริการรับส่งพัสดุย่อยด้วยรถยนต์ และรถปิกอัพ มีลูกค้าแกร็บเรียกรถ Grab Car เพื่อว่าจ้างให้ไปส่งพัสดุตามสถานที่ต่างๆ อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าตลาดนี้มีโอกาส

  1. สร้างความมั่นใจในบริการด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น Photo Proof of Delivery ถ่ายรูปพัสดุตอนเข้ามารับ และถ่ายอีกครั้งตอนส่งถึงมือผู้รับ เพื่อป้องกันการส่งผิดพลาด และเป็นการกันผู้ส่งสลับสินค้าระหว่างส่ง

และฟีเจอร์ Real Time GPS ที่สามารถตรวจสอบสถานะพัสดุได้ตลอดทาง ซึ่งแกร็บเชื่อว่าฟีเจอร์นี้จะช่วยตอบโจทย์ร้านค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

  1. สามารถเรียกใช้บริการรถได้ 10 คันพร้อมๆ กัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่บริการ Grab ทุกบริการ ลูกค้าสามารถเรียกรถเพื่อใช้บริการได้เพียงครั้งละ 1 คันเท่านั้น และสามารถเรียกใช้บริการได้อีกครั้งต่อเมื่อบริการที่เรียกใช้ก่อนหน้านั้นสิ้นสุดลงเท่านั้น
  2. มีบริการแกร็บรีวอร์ด เก็บคะแนนสะสมเพื่อแลกเป็นของรางวัลต่างๆ เช่น ส่วนลดค่าส่ง เป็นต้น

การเปิดบริการ Grab Express เริ่มต้นยังคงให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเชียงใหม่ ก่อนที่จะขยายไปโคราชและพัทยาในอนาคต

ซึ่งผู้บริหารแกร็บเชื่อว่า บริการ Grab Express จะสามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี จากฐานผู้ขับมอเตอร์ไซค์และรถยนต์จำนวนมากในประเทศไทย

จุดแข็ง - จุดอ่อน Grab Express / Line Man / Lalamove Grab Express Line Man Lalamove รถที่ให้บริการ มอเตอร์ไซค์, รถเก๋ง, ปิกอัพ รถมอเตอร์ไซค์ มอเตอร์ไซค์, ปิกอัพ, รถยนต์ 5 ประตู ค่าบริการเริ่มต้น มอเตอร์ไซค์ สตาร์ทเริ่มต้น 40 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท รถเก๋ง สตาร์ทเริ่มต้น 150บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 12 บาท รถปิกอัพ สตาร์ทเริ่มต้น 250 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 15บาท เริ่มต้น 48 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท มอเตอร์ไซค์ สตาร์ทเริ่มต้น 48 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท (0-30 กม.) และคิดเพิ่ม กิโลเมตรละ 14 บาท ในกิโลเมตรที่ 31 ขึ้นไป รถเก๋ง 5 ประตู สตาร์ทเริ่มต้น 240บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 12 บาท รถปิกอัพ สตาร์ทเริ่มต้น 450 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 15บาท ความรวดเร็วในการให้บริการ ภายใน 5 กิโลเมตรไม่เกิน 30 นาที เฉลี่ย 50 นาที ภายใน 1 ชั่วโมง จำนวนเครือข่ายผู้ให้บริการ N/A N/A 40,000 ราย เรียกพร้อมกันได้สูงสุด 10 คัน 1 คัน ไม่มีกำหนด พื้นที่ให้บริการ กรุงเทพ ปริมณฑล และเชียงใหม่ อนาคตเปิดให้บริการเพิ่มที่นครราชสีมา และพัทยา กรุงเทพ และปริมณฑล กรุงเทพ และปริมณฑล ที่มา : Marketeer รวบรวม, สิงหาคม 2561

Lineman ต้องเป็น Top of Mind Brand

ไลน์แมนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าหลักตลาดใน Instant Delivery on Demand ที่ผู้ใช้บริการจดจำได้เป็นอย่างดี จากการตลาดที่เคยทำมาก่อนหน้านั้น

โดยไลน์แมนเริ่มต้นธุรกิจ Instant Delivery on Demand มาตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยการจับมือกับลาล่ามูฟขอใช้ฐานผู้ขับรถมอเตอร์ไซค์ของลาล่ามูฟในการให้บริการลูกค้าภายใต้ชื่อไลน์แมนแมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นบริการแรกของไลน์แมน

การเข้ามาในตลาดเร็วและผลักดันตลาดอย่างต่อเนื่อง และการมีฐานผู้ใช้เป็นผู้ใช้แชทไลน์จำนวน 42 ล้านราย ที่ผ่านมาชื่อไลน์แมนได้เป็น top-of-mind brand สำหรับผู้ใช้ได้ไม่ยาก

แต่ในวันนี้การแข่งขันในธุรกิจ Instant Delivery มีคู่แข่งที่เข้มข้นขึ้น จากการเห็นโอกาสที่มาจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่รู้จักการรอคอยน้อยลง และต้องการสินค้าทันทีเมื่อสั่งซื้อสินค้าอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง

ในครึ่งปีหลังนี้ไลน์แมนได้สู้รบกับคู่แข่งด้วยการวางกลยุทธ์ Champion ​รักษาตำแหน่ง Top of Mind Brand สำหรับผู้ใช้ 3 ประการได้แก่

  1. Champion speed รักษาเวลา Match Rate หรือการที่ผู้ใช้กดเรียกรถแล้วคนขับตอบรับงาน ให้ได้เฉลี่ยอยู่ที่ 13.9 วินาที ซึ่งเป็นเวลาที่ทำได้ในปัจจุบันไปพร้อมๆ กับเพิ่มความเร็ว Match Rate ให้ยิ่งขึ้นในอนาคต

และลดเวลาการจัดส่งสิ่งของให้น้อยลงจากปัจจุบันใช้เวลาเฉลี่ย 50 นาที นับจากผู้ใช้บริการกดเรียก แมสเซนเจอร์​​ จนถึงสิ่งของส่งถึงปลายทาง

  1. Champion Users สร้าง User Satisfaction หรือให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการลดอัตราการร้องเรียนจากปัจจุบัน 0.05% ให้น้อยลงกว่าเดิม
  2. Champion operation พัฒนาการจัดการให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเตรียมตัวรับการแข่งขันที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ปัจจุบันไลน์แมนมีบริการหลัก 4 บริการ จาก 5 บริการ ได้แก่ บริการแมสเซนเจอร์​, บริการส่งพัสดุ, บริการสั่งอาหาร ​และบริการเรียกรถแท็กซี่ โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้งานพุ่งกว่า 1 ล้านคนต่อเดือน ด้วยยอดสั่งซื้อเติบโตกว่า 489%

และการแข่งขันในธุรกิจนี้ไลน์แมนเชื่อว่าจะเติบโตได้อย่างดีในทุกๆ เดือนเหมือนที่ผ่านมาได้

จุดแข็ง - จุดอ่อน Grab Express / Line Man / Lalamove Grab Express Line Man Lalamove รถที่ให้บริการ มอเตอร์ไซค์, รถเก๋ง, ปิกอัพ รถมอเตอร์ไซค์ มอเตอร์ไซค์, ปิกอัพ, รถยนต์ 5 ประตู ค่าบริการเริ่มต้น มอเตอร์ไซค์ สตาร์ทเริ่มต้น 40 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท รถเก๋ง สตาร์ทเริ่มต้น 150บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 12 บาท รถปิกอัพ สตาร์ทเริ่มต้น 250 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 15บาท เริ่มต้น 48 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท มอเตอร์ไซค์ สตาร์ทเริ่มต้น 48 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท (0-30 กม.) และคิดเพิ่ม กิโลเมตรละ 14 บาท ในกิโลเมตรที่ 31 ขึ้นไป รถเก๋ง 5 ประตู สตาร์ทเริ่มต้น 240บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 12 บาท รถปิกอัพ สตาร์ทเริ่มต้น 450 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 15บาท ความรวดเร็วในการให้บริการ ภายใน 5 กิโลเมตรไม่เกิน 30 นาที เฉลี่ย 50 นาที ภายใน 1 ชั่วโมง จำนวนเครือข่ายผู้ให้บริการ N/A N/A 40,000 ราย เรียกพร้อมกันได้สูงสุด 10 คัน 1 คัน ไม่มีกำหนด พื้นที่ให้บริการ กรุงเทพ ปริมณฑล และเชียงใหม่ อนาคตเปิดให้บริการเพิ่มที่นครราชสีมา และพัทยา กรุงเทพ และปริมณฑล กรุงเทพ และปริมณฑล ที่มา : Marketeer รวบรวม, สิงหาคม 2561

Lalamove เติบโตเพราะตอบโจทย์ C-Convenient ตลาดส่งพัสดุ

ลาล่ามูฟได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์แรกๆ ที่เข้ามาในตลาด Instant Delivery on Demand ตั้งแต่ปี 2557 บนจุดยืนบริการขนส่งออนดีมานด์ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์

การเข้ามาของลาล่ามูฟในประเทศไทยมาจากการมองเห็นการเติบโตของชอปออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทย โดยเฉพาะคนเมืองที่มีเวลาน้อยลง แต่ต้องการสินค้าด่วนเมื่อสั่งซื้อเป็นที่เรียบร้อย

ซึ่งผู้บริหารลาล่ามูฟเคยกล่าวไว้ว่า เพราะด้วยเหตุนี้ลาล่ามูฟจึงเติบโตจากตอบโจทย์ผู้บริโภคในแง่ Convenient และเป็นการ Convenient ที่มากกว่าการจ้างวินมอเตอร์ไซค์ให้บริการ ที่บางครั้งมีปัญหาเรื่องการตกลงราคาค่าบริการ

ภายใต้การแข่งขันของปีนี้ นอกจากลาล่ามูฟใช้กลยุทธ์การตลาดดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องด้วยโค้ดส่วนลดเหมือนกับคู่แข่งรายอื่น ลาล่ามูฟยังมีจุดแข็งคือ

  1. มีพาร์ตเนอร์เป็นไลน์แมนที่ใช้ฐานคนขับมอเตอร์ไซค์ร่วมกัน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเรียกรถได้อย่างรวดเร็ว และเชื่อว่าในการร่วมมือกับไลน์แมน ลาล่ามูฟ น่าจะได้ส่วนแบ่งเมื่อผู้ใช้บริการไลน์แมน เนื่องจากลาล่ามูฟเป็นผู้เปิดให้ไลน์แมนได้ใช้ฐานคนขับเดียวกัน โดยที่ไลน์แมนไม่ต้องหาฐานคนขับเอง
  2. ผู้ใช้บริการสามารถเรียกรถให้มารับพัสดุ พร้อมระบุเวลาเข้ามารับได้ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่คู่แข่งยังไม่มี และนอกจากนี ลาล่ามูฟยังมีรถให้เลือก 3 ประเภทคือ มอเตอร์ไซค์ รถปิกอัพ และรถ 5 ประตู ให้เลือกตามความเหมาะสม และสามารถเรียกใช้บริการได้หลายออเดอร์พร้อมกัน ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยรถ 1 คันจะรับได้ 1 ออเดอร์เท่านั้น
  3. ส่งพัสดุถึงมือผู้รับภายใน 1 ชั่วโมง

และแม้ตลาด Instant Delivery on Demand จะมีการแข่งขันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น แต่ลาล่ามูฟก็ยังเชื่อว่าในปีนี้จะมียอดลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 250% จากปีที่ผ่านมา ผ่านการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจอาหาร เป็นต้น

โดยปีที่ผ่านมาลาล่ามูฟ มีรายได้จากการให้บริการ 550 ล้านบาท เติบโต 350%

ทั้งนี้ การแข่งขันในธุรกิจ Instant Delivery on Demand จะแข่งขันด้านการหาลูกค้ากันแค่ไหนแต่ต้องมองไปถึงด้านผู้ขับรถที่ให้บริการด้วย

เพราะการส่งพัสดุไม่เหมือนกับการส่งผู้โดยสาร หรือเอกสาร เพราะมีเรื่องน้ำหนักของพัสดุ สิ่งของที่ส่ง รวมถึงระยะทางจากที่จอดรถส่งไปถึงมือผู้รับ ซึ่งผู้ขับรถจะต้องเป็นผู้ยกสิ่งของเหล่านี้ด้วยตัวเอง และทำให้เกิดความรู้สึกไม่อยากให้บริการในกรณีที่พัสดุมีน้ำหนักจนเกินไป ซึ่งต่างจากธุรกิจขนส่งพัสดุย่อยอื่นๆ เช่น เคอรี่ ไปรษณีย์ไทย ที่ผู้ให้บริการอยู่ในอาชีพขนส่งพัสดุจริงๆ

จุดแข็ง - จุดอ่อน Grab Express / Line Man / Lalamove Grab Express Line Man Lalamove รถที่ให้บริการ มอเตอร์ไซค์, รถเก๋ง, ปิกอัพ รถมอเตอร์ไซค์ มอเตอร์ไซค์, ปิกอัพ, รถยนต์ 5 ประตู ค่าบริการเริ่มต้น มอเตอร์ไซค์ สตาร์ทเริ่มต้น 40 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท รถเก๋ง สตาร์ทเริ่มต้น 150บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 12 บาท รถปิกอัพ สตาร์ทเริ่มต้น 250 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 15บาท เริ่มต้น 48 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท มอเตอร์ไซค์ สตาร์ทเริ่มต้น 48 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 7.2 บาท (0-30 กม.) และคิดเพิ่ม กิโลเมตรละ 14 บาท ในกิโลเมตรที่ 31 ขึ้นไป รถเก๋ง 5 ประตู สตาร์ทเริ่มต้น 240บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 12 บาท รถปิกอัพ สตาร์ทเริ่มต้น 450 บาท คิดบริการกิโลเมตรละ 15บาท ความรวดเร็วในการให้บริการ ภายใน 5 กิโลเมตรไม่เกิน 30 นาที เฉลี่ย 50 นาที ภายใน 1 ชั่วโมง จำนวนเครือข่ายผู้ให้บริการ N/A N/A 40,000 ราย เรียกพร้อมกันได้สูงสุด 10 คัน 1 คัน ไม่มีกำหนด พื้นที่ให้บริการ กรุงเทพ ปริมณฑล และเชียงใหม่ อนาคตเปิดให้บริการเพิ่มที่นครราชสีมา และพัทยา กรุงเทพ และปริมณฑล กรุงเทพ และปริมณฑล ที่มา : Marketeer รวบรวม, สิงหาคม 2561

 

 


อ่านคอนเทนต์การตลาด อ่าน MarketeerOnline.co

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
WebsiteMarketeeronline.co / Facebookwww.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online