ท่ามกลางรายละเอียดปลีกย่อยของเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ องค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ การตั้งชื่อแบรนด์ เพราะไม่ว่าแผนธุรกิจจะดีเลิศแค่ไหน ผลิตภัณฑ์และบริการจะดีอย่างไร ถ้าตั้งชื่อพลาด เป้าหมายทั้งหมดที่วางไว้ก็ยากจะเกิดขึ้นจริง หรือเป็นไปอย่างติดขัด เปรียบเหมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรกๆ ของชุดสวยผิด ที่ต้องเสียเวลาในการสวมใส่
แน่นอนว่าทุกแบรนด์มีชื่อต่างกัน แต่การตั้งชื่อให้ดี คือจุดร่วมแห่งความแห่งสำเร็จที่ไม่ว่าแบรนด์ไหนก็สามารถนำไปใช้ได้
เทคนิค การตั้งชื่อแบรนด์ ให้ปัง มีดังนี้
สะดุดตาทุกครั้งที่ได้ยิน: อาจยังไม่ถึงขั้นรัก แต่ถ้าแค่เห็นชื่อแล้วสะดุดตา สามารถเรียกได้อย่างคล่องปากและจำง่าย ก็จะเป็นแต้มต่อในการสร้างความประทับใจ รวมถึงข้อได้เปรียบต่างๆ อีกมากมายที่จะตามมา คล้ายกับการได้เห็นได้ยินชื่อที่เพราะของใครสักคน ที่เราคงอยากทำความรู้จักหรือจำได้ไปเรียบร้อยแล้ว แม้ยังไม่เห็นหน้าและเจอตัวจริงของคนนั้นเลยก็ตาม
ดังนั้นเคล็ดลับข้อแรกในการตั้งชื่อแบรนด์คือควรเป็นคำที่สัมผัสคล้องจอง ไม่ว่าด้วยเสียง ตัวอักษรหรือตัวสะกด ยืนยันได้จากแม้มีถึง 4 พยางค์แต่ Coca-Cola ก็เป็นหนึ่งในชื่อแบรนด์ที่คนทั่วโลกจดจำได้มากสุด ควบคู่ไปกับ Coke ชื่อเรียกสั้นๆ เพียงพยางค์เดียวของแบรนด์น้ำอัดลมชื่อดัง
ใส่ใจเรื่องความถูกต้องและสอดคล้อง: ถัดจากเตะตาสะดุดหูแล้วเคล็ดลับในการตั้งชื่อแบรนด์ข้อถัดมาคือ ความถูกต้องและสอดคล้อง โดยควรเลี่ยงการสะกดแบบเล่นคำ ใช้คำที่อ่านยาก เช่น การละตัวอักษรบางตัวหรือใส่ตัวเลขเข้าไปแทน เพราะเมื่อเรียกยาก อาจทำให้จดจำได้ยากตามไปด้วย ส่วนในเรื่องความสอดคล้อง ชื่อที่ใช้ควรมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจที่ทำ เช่น หากเป็นสินค้าเทคโนโลยีอาจใช้ศัพท์เทคโนโลยีสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย
ลองอะไรใหม่ๆ บ้าง: ไม่ผิดหากจะมองบริษัทชื่อดังและมีประวัติศาสตร์เก่าแก่เป็นต้นแบบอย่าง IBM หรือ 3M ในการตั้งชื่อ แต่ในเมื่อเป็นแบรนด์ใหม่ก็ควรตั้งชื่อใหม่ๆ ด้วย เพราะนอกจากลดความสับสนจากการถูกมองว่าเป็นแบรนด์ในเครือ หรือแบรนด์ที่หวังลอกเลียนความสำเร็จแล้ว และยังเป็นวิธีสร้างความน่าสนใจอีกด้วย
แฝงนัยน่าสนใจเอาไว้: แม้การตั้งชื่อเป็นเคล็ดลับสำคัญในการสร้างแบรนด์ แต่ก็ไม่ควรเสียเวลาในส่วนนี้มากเกินไป โดยหากยังไม่ได้ชื่อที่ต้องการ หลังเฟ้นหาคำใหม่ๆ มานาน การใช้คำง่ายๆ แต่มีความหมายเชื่อมโยงหรือสื่อถึงแบรนด์ได้ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจ ยืนยันได้จากการที่ Steve Jobs เลือกใช้ Apple เป็นชื่อแบรนด์ที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเมื่อ 42 ปีก่อน ซึ่งเชื่อมโยงกับทั้ง Sir Issac Newton นักวิทยาศาสตร์คนดังในอดีต ผู้คิดค้นกฎแรงดึงดูดขึ้นมาได้หลังเห็นผล Apple ตก ที่ภายหลังถูกต่อยอดสู่เทคโนโลยีมากมาย
ขณะเดียวกันยังเชื่อมโยงกับตัว Jobs เองที่เคยทำงานในไร่ Apple ช่วงวัยรุ่น และโยงกับ Alan Touring นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่บั้นปลายชีวิตอาภัพ และสงสัยกันว่าเขาอาจตายจากการกัดผล Apple อาบสารพิษไซยาไนด์โดยบังเอิญอีกด้วย / entrepreneur, wikipedia
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



