ปีที่ผ่านมา HONDA มียอดขายรถจักรยานยนต์ 1.42 ล้านคัน ในขณะที่ภาพรวมตลาดยอดขายทุกแบรนด์รวมกัน 1.81 ล้านคัน ซึ่งนั้นแปลว่า HONDA มียอดขายเกือบๆ 80% ของตลาดทิ้งห่างเบอร์ 2 อย่าง YAMAHA ที่มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10 %  ไปอย่างขาดลอย

มองดูผิวเผินอาจดูว่าด้วยชื่อชั้นแบรนด์ HONDA และยอดขายที่เป็นเบอร์ 1 แบบทิ้งขาด อาจจะไร้ซึ่งความท้าทายในการทำธุรกิจเมืองไทย ยิ่งหากมองย้อนกลับไปในอดีต HONDA มียอดขายเป็นเบอร์ 1 ในตลาดรถจักรยานยนต์ในบ้านเรานานกว่า 25 ปี

ชัยชนะผูกขาด ไม่ใช่ความท้าทาย

และหากใครคิดว่า HONDA หมดความท้าทายในตลาดบ้านเราด้วยความสำเร็จแบบผูดขาด นั้นแปลว่าใครคนนั้นกำลังมองเกมธุรกิจ HONDA ผิดพลาด เพราะสิ่งที่ HONDA กำลังเผชิญอยู่วันนี้นั้นคือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวมไปถึงพฤติกกรมลูกค้าที่เปลี่ยนด้วยเช่นกัน

และ HONDA รู้ดีว่าโจทย์ทางการตลาดครั้งนี้ยากกว่าที่ผ่านๆ มานั้นคือการ เอาชนะความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้นโยบายการตลาดของ HONDA มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีอยู่ 4 ข้อใหญ่ แต่มีอยู่ 2 ข้อที่ถือเป็นเกมธุรกิจใหม่ที่ HONDA ไม่เคยทำมาก่อน

หนึ่งในธุรกิจใหม่ก็คือ Retail ที่ไม่ได้จำกัดตัวเองแค่ขายรถจักรยานยนต์เหมือนอย่างในอดีตแต่ HONDA กำลังจะขายอาหารสินค้าแฟชั่นและ Accessories โดยใช้ชื่อร้านรูปแบบใหม่ว่า Cub House โดยตั้งเป้า 10 สาขาภายในปีนี้

 

กลยุทธ์การตลาด Honda

ถึงจะตั้งเป้าไว้ที่ 10 สาขาในปีนี้ แต่ สุชาติ อรุณแสงโรจน์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ก็บอกว่าอาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่า 10 สาขา ก็ต้องดูว่า 1 -2 สาขาแรกของ Cub House จะได้ผลตอบรับในแง่เม็ดเงินว่ามากน้อยแค่ไหน ?   

แต่สมมติหากโมเดลรูปแบบร้าน Cub House ประสบความความสำเร็จ HONDA ก็มองว่าสัดส่วนรายได้จะเปลี่ยนแปลงจากร้านรูปแบบเก่าอย่าง wing center และร้านธรรมดาทั่วไป

 

กลยุทธ์การตลาด Honda

มองง่ายๆ คือ HONDA  กำลังออกนอกกรอบการทำตลาดเดิมๆ โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ HONDA ทำธุรกิจ Retail Lifestyle ซึ่งก็เหมือนในอดีตที่ ปตท. เริ่มหันมาทำธุรกิจที่ไม่ได้ขายแค่น้ำมันแต่ยังมีร้านสะดวกซื้อ,กาแฟ,ไก่ทอด

แต่หากการคิดนอกกรอบครั้งนี้ล้มเหลว HONDA เองคงต้องนั่งทบทวนว่าสิ่งที่ตัวเองเป็น First Move ในตลาด ทำไมไม่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า

ที่สำคัญธุรกิจ Retail สินค้าแฟชั้นและอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับมือใหม่ เพราะต้องเรียนรู้ระบบการบริหารสินค้าและเทรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เข้ามาถึงนั้นคือเทรนด์ Hybrid และ EV ที่เวลานี้มีกลุ่มแบรนด์จีนตัวเล็กๆ หลายรายกำลังนำเข้ามาขายในบ้านเราด้วยราคาประมาณ 40,000 – 50,000 บาท/คัน

หมากเกมนี้ HONDA จึงดูเหมือนจะออกตัวช้ากว่ากลุ่มแบรนด์จีน เพราะ HONDA เพิ่งประกาศว่าในปีนี้ตัวเองจะมีรถจักรยานยนต์ Hybrid และ EV มาขายในบ้านเรา อย่างละ 1 คันจากทั้งหมดปีนี้จะเปิดตัวรถรุ่นใหม่ 10 คัน (ยังไม่ระบุวันวางจำหน่ายที่แน่ชัดสำหรับ Hybrid และ EV)

เหตุผลที่ HONDA ออกสตาร์ทช้ากว่ากลุ่มแบรนด์จีนนั้น เหตุผลมาจากการจะสร้างรถจักรยานยนต์ 2 ระบบนี้ให้มีคุณภาพนั้นต้องใช้เวลาในการคิดค้นค่อนข้างนาน เพราะในอดีตนั้น HONDA เคยขายรถจักรยานยนต์ระบบ EV ในญี่ปุ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในแง่รายได้ เพราะยังมี “จุดอ่อน” ในตัวรถอยู่หลายจุดที่ต้องแก้ไข

แม้ครั้งนี้ HONDA จะบอกว่ารถจักรยานยนต์ Hybrid และ EV ของตัวเองจะสมบูรณ์แบบกว่ามากหากเทียบกับคันเก่าที่ขายในญี่ปุ่น แต่ HONDA เองก็มีความกังวลใจอยู่ไม่น้อยกับรถจักรยานยนต์ 2 คันที่กำลังจะวางขายในปีนี้

 

กลยุทธ์การตลาด Honda

ถึงมีโจทย์การตลาดมากมายที่ HONDA ต้องตอบออกมาเป็นรูปธรรมกับจุดเริ่มต้นสู่การเปลี่ยนแปลง แต่นี้คือความจริงที่หนีไม่พ้น

ว่าอนาคตอันใกล้รถทุกคันจะเลิกเติม “น้ำมัน เปลี่ยนมา ชาร์จไฟ”

เพราะฉะนั้นคู่แข่งคนสำคัญของ HONDA ไม่ใช่เบอร์สองอย่าง YAMAHA  แต่เป็นเทคโนโลยีและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่างหาก   


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 

 

 

 

 

 



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน