โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เค้กก้อนใหญ่นี้จะตกเป็นของใคร ? (วิเคราะห์)

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินตะวันออก มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท ยังไม่จบ  เมื่อกลุ่มซีพีได้กลับมาอีกครั้ง

.
เป็นศึกชิงความใหญ่ระหว่างเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งค่ายซีพีและพันธมิตร กับหมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ค่ายบางกอกแอร์เวย์ส ที่ผนึกกำลังกับคีรี กาญจนพาสน์ แห่ง บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์
.
ภายหลังคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และกองทัพเรือ ได้ตัดสิทธิ์การประมูลของกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เนื่องจากนำส่งข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนอด้านการเงินช้ากว่ากำหนด ในวันเปิดรับซองประกวดราคา เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562
.
ซึ่งทางกลุ่มได้ยื่นขอความคุ้มครองการประมูลและยื่นฟ้องกองทัพเรือต่อศาลปกครองเพื่่อให้คณะกรรมการคัดเลือกรับข้อเสนอที่ส่งช้าเกินเวลาเข้าพิจารณา
.
21 ส.ค. 62 ศาลปกครองยกคำร้องของธนโฮลดิ้งฯ เห็นชอบไม่รับซองในส่วนที่ยื่นเกินเวลา ทำให้ธนโฮลดิ้งฯ ไม่ยอมและร้องต่อไปยังศาลปกครองสูงสุด
.
ส่วนผลการประมูลในเบื้องต้น กิจการร่วมค้าบีบีเอส นำโดยบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เป็นผู้ยื่นข้อเสนอและผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่รัฐ
.
ชนะกลุ่ม Grand Consortium ประกอบด้วย บมจ. แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้, บมจ. คริสเตียนีและนีลเส็น และ บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น
.
โดยตอนแรกมีข่าวมาว่าหลังจากคณะกรรมการฯ ขอเวลาในการตรวจสอบเงื่อนไขและที่มาที่ไปให้เรียบร้อย จะประกาศผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562
.
แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 62 ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รับพิจารณาคัดเลือกเอกสารกลุ่มซีพีและพันธมิตร และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเปิดซองเอกสารตามขั้นตอนการคัดเลือกต่อไป โดยถ้าข้อเสนอของกลุ่มซีพีผ่านเกณฑ์การพิจารณาซอง 2 ก็จะเข้าสู่การพิจารณาซอง 3 (ข้อเสนอด้านราคา)
.
ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดให้คู่ความให้ข้อมูลในวันที่ 31 ต.ค. นี้ ซึ่งภาครัฐพร้อมที่จะชี้แจง และศาลมีกำหนดนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 7 พ.ย. นี้ ซึ่งจะได้ข้อสรุปว่ากลุ่มซีพีจะอยู่ในกระบวนการประมูลจนจบขั้นตอนหรือไม่
.
เป็นศึกชิงอภิมหาโครงการของกลุ่มทุนรายใหญ่ของประเทศที่่แต่ละรายต้องการขยายอาณาจักรการลงทุนและต่อยอดรายได้จากโครงการที่มีอยู่แล้วในมื

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เนื้อหอม


.
บางกอกแอร์เวย์สจำเป็นต้องมองหาโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เพราะธุรกิจการบินมีการแข่งขันที่รุนแรงมาก กำไรลดกันถ้วนหน้า และยังเป็นธุรกิจที่ตัวเองมีประสบการณ์จากการเป็นเจ้าของสนามบินที่สมุย และทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบินอยู่แล้ว
.
บีทีเอสมองเป็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจมายังสาธารณูปโภค ขนาดใหญ่อื่นๆ ของประเทศ เพิ่มเติมจากโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างอีกด้วย
.
ส่วนซีพี ต้องการโครงการนี้มาต่อจิ๊กซอว์ในการสร้างรายได้จากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่จะต้องไปลงนามในสัญญาในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ และดูเหมือนว่าโครงการนี้ ปัญหาในการก่อสร้างน้อยกว่าไฮสปีดเทรน ที่กินพื้นที่หลายจังหวัดมา
.
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าโครงการยักษ์นี้จะตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนรายใดของประเทศ

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online