หมดไฟ อย่าปล่อยไป รู้เท่าทันภาวะ Burnout Syndrome ก่อนจะสายเกินไป

ด้วยความซับซ้อนของสังคมที่มากขึ้นทุกวัน ทำให้เกิดภาวะหรือโรคทางอารมณ์ใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย

หนึ่งในนั้นคือ ‘Burnout Syndrome’ หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ที่มันไม่ใช่แค่ความขี้เกียจ แต่คือภาวะที่ส่งผลไปถึงความเครียดและอาจพัฒนาไปถึงการเป็นโรคซึมเศร้าในระยะยาวได้

ซึ่งในปี 2562 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ Burnout Syndrome เป็นภาวะที่ต้องได้รับการดูแลรักษา

โดยจากงานวิจัยหัวข้อ “การตลาดเติมพลัง BURNOUT IN THE CITY” โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นคนวัยทำงานในกรุงเทพฯ 1,280 คน (แบ่งเป็นผู้หญิง 66% และผู้ชายอีก 34%)

พบว่า

12% เป็นคนที่อยู่ในภาวะ Burnout Syndrome อย่างเต็มตัว
57% เป็นคนที่เสี่ยงจะอยู่ในภาวะหมดไฟ
และเหลือคนที่ยังมีไฟแรงในการทำงานเพียงแค่ 31% เท่านั้น

ซึ่งเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้คนหมดไฟในการทำงานก็มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ

1. งานที่เยอะจนเกินไป ไม่สมดุลกับปริมาณคนทำ
2. ไม่ใช้เครื่องมือหรือระบบมาช่วยลดกระบวนการทำงาน
3. โครงสร้างองค์กรไม่ยืดหยุ่น ที่มาพร้อมกับเจ้านายห่วยๆ

เมื่อแยกตามกลุ่มอาชีพ ก็พบว่าอาชีพที่หมดไฟหรือเสี่ยงต่อการหมดไฟในการทำงานมากที่สุดคือ

1 พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ 77%
2 คือ พนักงานเอกชนที่ 73%
3 คือ ข้าราชการที่ 58%
และอันดับที่ 4 คือคนทำธุรกิจส่วนตัวที่ 48%

สิ่งที่น่าสนใจคือ เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า ‘คนรุ่นใหม่ไฟแรง’ แต่มันกลับเป็นคำพูดที่สวนทางกับผลการวิจัยนี้ ที่บอกว่ากลุ่มคนที่อายุน้อยมีโอกาสเป็น Burnout Syndrome มากกว่าคนอายุเยอะ

สะท้อนได้จากข้อมูลที่ว่า คนกลุ่ม Gen Z (อายุต่ำกว่า 22 ปี) กำลังเผชิญกับภาวะ Burnout Syndrome อยู่ที่ 17%

รองลงมาคือคนกลุ่ม Gen Y (อายุ 23-38 ปี) ผชิญกับภาวะ Burnout Syndrome อยู่ที่ 13%
.
และสุดท้ายคือกลุ่ม Baby Bommer (อายุ55-73 ปี) ซึ่งทำงานมานานกว่าคน Gen อื่นเป็นไหนๆ แต่กลับอยู่ในภาวะ หมดไฟ ในการทำงานเพียง 7% เท่านั้น

แต่ทุกวิกฤตมีโอกาสซ่อนอยู่ในนั้นเสมอ เพราะนี่คือโอกาสของเหล่าธุรกิจเกี่ยวกับความบันเทิงจะเข้ามาช่วยให้ผู้คนผ่อนคลายจากความเครียดและภาวะ Burnout Syndrome ได้

โดยเมื่อแบ่งตามเพศ

– 3 กิจกรรมที่ผู้ชายนิยมทำเพื่อคลายเครียด คือ เล่นเกม, ออกกำลังกาย, ใช้โซเชียลมีเดีย

– 3 กิจกรรมที่ผู้หญิงนิยมทำเพื่อคลายเครียด คือ พูดคุยกับเพื่อน, ใช้โซเชียลมีเดีย, พูดคุยกับครอบครัว

เมื่อแบ่งตาม Generation

– Baby Bommer คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย, สวดมนต์, พูดกับครอบครัว

– Gen X และ Gen Y คลายเครียดด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย, คุยกับเพื่อน, คุยกับครอบครัว

– ส่วน Gen Z คลายเครียดด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย, ฟังเพลง, คุยกับครอบครัว

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน