พิษโควิด-19 นอกจากจะสร้างความวิตกกังวลในด้านต่างๆ ให้กับคนไทย แล้ว

ยังสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และเงินในกระเป๋าประชาชนอย่างมากมาย

เรามาดูกันว่า ภาครัฐมีมาตรการเยียวยาประชาชน และผู้ประกอบการ จากผลกระทบจากโควิด-19 อย่างไร

การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้มีแนวทางในการคืนค่าประกันมิเตอร์ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ

โดยค่าประกันมิเตอร์นี้จะเป็นการประกันที่การไฟฟ้าเรียกเก็บไว้เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้จ่ายไฟฟ้าในระยะเวลาที่กำหนด

ที่ผ่านมา การไฟฟ้าได้เรียกเก็บค่าประกันมิเตอร์ไว้ตามขนาดของมิเตอร์ได้แก่

มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมิเตอร์ขนาดนี้จะเป็นมิเตอร์ที่ใช้งานในบ้านพักขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก

มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท มิเตอร์ขนาดนี้เป็นมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่นิยมใช้

มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท เป็นมิเตอร์ที่ใช้อยู่ในบ้านพักขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด

มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท เป็นมิเตอร์ที่บ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้

ทั้งนี้ การดูขนาดมิเตอร์สามารถดูได้จากตัวมิเตอร์ที่ติดหน้าบ้านได้โดยตรง และตัวเลขกำกับมิเตอร์ ตัวเลขที่อยู่นอกวงเล็บหมายถึงขนาดแอมแปร์ของมิเตอร์ และตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บเป็นตัวเลขที่บอกถึงกระแสไฟฟ้าที่ได้ใช้สูงสุดในช่วงเวลาสั้นๆ ว่าสามารถใช้ได้กี่แอมแปร์

 

กรมสรรพากร

กรมสรรพากรออกมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปดังนี้

ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการ (ยกเว้นมูลนิธิหรือสมาคม) และบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้จากค่าจ้างทำของ ค่าบริการ นายหน้า ค่าวิชาชีพอิสระ

การลดภาษี ณ ที่จ่าย มีอัตราการลด 2 อยู่ 2 เฟส ได้แก่

เฟสแรก

อัตราภาษี ณ ที่จ่ายเหลือ 1.5% ในกรณีที่มีรายได้ระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2563 โดยผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดาสามารถจ่ายด้วยวิธีการใดก็ได้

เฟสสอง

อัตราภาษี ณ ที่จ่ายเหลือ 2% ในกรณีที่มีรายได้ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2563 โดยผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดาจ่ายผ่าน e-Withholding Tax เท่านั้น

ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย SME ที่เข้าร่วมมาตรการ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ของรัฐบาล หัก รายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม 1.5 เท่า ในช่วงเมษายน-ธันวาคม 2563

ในกรณีที่

– มีรายได้ครบ 12 เดือน โดยรายได้รวมกันไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี

– จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน

– จัดทำบัญชีเดียว

– มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2562

 

สนับสนุน SME จ้างงานต่อเนื่อง ค่าจ้างหักรายจ่ายได้ถึง 3 เท่า โดยเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา เมษายน-กรกฎาคม 2563

ในกรณีที่

– มีรายได้ครบ 12 เดือน ไม่เกิน 500 ล้านบาท

– จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน

– มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2563

– คงการจ้างงานของลูกจ้างที่ประกันตนและมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท ต่อคนต่อเดือน

– จำนวนลูกจ้างต้องไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้าง ณ วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม 2562

 

เพิ่มสภาพคล่องผู้ส่งออกที่ดี ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.490/2562 เรื่องเกณฑ์การจัดระดับผู้ประกอบการผู้ส่งออกที่ดี และผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน

โดยผู้ส่งออกที่ดีที่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัท หรือ บริษัท มหาชน จะได้รับคืน VAT เร็วกว่าปกติ ซึ่งระยะเวลาในการคืนภาษี จะขึ้นอยู่กับวิธีการยื่นแบบ

ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต คืน VAT ภายใน 15 วัน จากเดิม 30 วัน

ยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา คืน VAT ภายใน 45 วัน จากเดิม 60 วัน

 

เพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุนและตลาดทุน

ลงทุน SSF ลดหย่อนภาษีเพิ่ม 2 แสนบาท

ในกรณีที่

– เป็นกองทุน SSF หรือ Super Saving Fund : กองทุนรวมเพื่อการออม ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

– ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 ปี

– ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2แสนบาท แยกจากวงเงิน SSF

– ไม่อยู่ใต้เพดานเงินสะสมเพื่อการเกษียณอายุ 5 แสนบาท

สนับสนุนการแก้ไขปัญหา Covid-19 ผ่านการบริจาคเข้าบัญชีสำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

สามารถยื่นเรื่องผ่าน e-Donation ระหว่างวันที่ 5 มีนาคม 2563-5 มีนาคม 2564

บุคคลธรรมดา บริจาคเงิน หลักลดหย่อนภาษี ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน หักรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ

ผู้ประกอบการ VAT บริจาคทรัพย์สินยกเว้น VAT

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ร่วมมือกับสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการต่างๆ ของแต่ละธนาคารที่แตกต่างกันไป

อย่างเช่น

​ธนาคารกรุงเทพ

ในกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจ

– พักชำระเงินต้นสินเชื่อเดิมที่มีกับธนาคาร สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

ให้สินเชื่อเพิ่มในลูกหนี้ SMEs ผ่านโครงการ ‘สินเชื่อบัวหลวง SME บรรเทาทุกข์จากภาวะเศรษฐกิจ’ ในวงเงินต่อรายสูงสุด 30 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR -1% ต่อปี หรือพิจารณาผ่อนผันตามความเหมาะสมแต่ละกรณี

สำหรับลูกหนี้รายใหญ่พิจารณาสินเชื่อเพิ่มตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี

ลูกหนี้ สินเชื่อบัตรเครดิต ผ่อนผันลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติ 50% พร้อมผ่อนผันลดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระเหลือไม่เกิน 10% ยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ และผ่อนผันให้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บไม่เกิน 3 รอบบัญชี

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อบุคคล ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ผ่อนผันให้ปลอดการชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ปรับยอดผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% ไม่เกิน 24 เดือน พร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ระยะเวลาหนึ่ง และผ่อนผันยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ

 

​ธนาคารกสิกรไทย

กลุ่มลูกค้าธุรกิจ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ (ประเภทเงินกู้): ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

วงเงินหมุนเวียน (ประเภทตั๋ว): ขยายตั๋วครั้งละไม่เกิน 3 เดือน 

สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร: ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

ลูกค้ารายย่อย

สินเชื่อบ้านกสิกรไทย และสินเชื่อที่อยู่อาศัยอื่นที่มีหลักประกัน: ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล: ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยถึงรอบบัญชีเดือนธันวาคม 2563

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์: ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 60% ระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนสูงสุด 7 เดือน โดยรวมสัญญาล่าสุดต้องไม่เกิน 7 ปี

 

​ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าธุรกิจด้วยการ พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน ขยายระยะเวลาวงเงินหมุนเวียน (P/N, T/R, P/C สูงสุด 6 เดือน)

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย: พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์: พักชำระค่างวดสูงสุด 6 เดือน

สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล: พักชำระยอดขั้นต่ำสูงสุด 6 เดือน

 

​ธนาคารกรุงไทย

ลูกหนี้ธุรกิจ พักชำระหนี้เงินต้นตามระดับผลกระทบ ทั้งนี้ไม่เกิน 12 เดือน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ

สำหรับลูกค้ารายที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิม สามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และเป็นไปตามเกณฑ์ของ บสย.

 

​ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สินเชื่อธุรกิจ (ยกเว้น Business Banking) ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากภาวะเศรษฐกิจเป็นการชั่วคราวปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้พิจารณาตามความรุนแรงของปัญหาเป็นรายกรณี

ลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคล พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด

ลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด (แล้วแต่กรณี)

ลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ พักชำระหนี้ สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด

 อ่านรายละเอียดมาตรการของธนาคารได้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประกันสังคม

นายจ้าง-ลูกจ้าง ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยจากเดิมหักเดือนละ 5% เหลือ 4% ทั้งสองฝ่าย

สำหรับผู้ประกันตนเองปรับลดจาก 432 บาทต่อเดือน เป็น 336 บาทต่อเดือน

 

ในวันที่เราประสบกับภาวะวิกฤต แผนการต่างๆ ในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ถูกที่ ถูกเวลา เป็นสิ่งสำคัญ

และเราจะก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online