วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต และสุขภาพของคนไทย
แต่หากมองในด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้ชัดเจนว่า แทบจะทุกธุรกิจ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการต่างต้องหาทิศทางในการพาธุรกิจให้ก้าวผ่านช่วงนี้ไปให้ จากธุรกิจที่เคยมีแต่ช่องทางแบบออฟไลน์ ก็ต้องปรับตัวมาสู่ออนไลน์มากขึ้น
บวกพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้เพราะต้องอยู่บ้านกันมากยิ่งขึ้น หนึ่งในกิจกรรมในช่วงที่ต้อง Work From Home ช่วงที่ต้องอยู่บ้านในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด คงนี้ไม่พ้นเรื่องของการ “ช้อปปิ้งออนไลน์” ที่ให้เราไม่ต้องออกจากบ้านไปไหน เพียงแค่กดสั่งซื้อ ชำระเงิน ก็รอของมาส่งที่บ้าน
ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซ และการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในเมืองไทยช่วงเดือนมี.ค.มีการเติบโตที่สูงขึ้น 80% และยังโอกาสในวิกฤตของแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซที่จะเติบโตอย่างน่าสนใจมากขึ้น
แล้วในช่วงนี้กับในสถาการณ์ปกติสถิติการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง “ลาซาด้า” เป็นอย่างไร
ภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า พฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันลาซาด้าเปลี่ยนแปลงไป ในแง่ของจำนวนนักช้อปที่ซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มลาซาด้า เพิ่มขึ้นกว่า 60% และผู้บริโภคใช้เวลาเฉลี่ยในการใช้งานต่อครั้ง 11 นาที ซึ่งนานขึ้นถึง 11%
นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนผู้ขายบนลาซาด้าเพิ่มขึ้นกว่า 26,000 รายในช่วงเดือนที่ผ่านมา ปัจจุบันลาซาด้ามีผู้ขายที่เป็นร้านค้าและแบรนด์ทั้งหมดกว่า 200,000 ราย
ภารดี ยังระบุอีกว่า ภาพรวมในช่วงกลางเดือนมี.ค.-เม.ย. เติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยยอดคำสั่งซื้อในลาซาด้าพุ่งขึ้น 100% และมูลค่าการซื้อ-ขายสินค้าสูงขึ้นถึง 130% เมื่อเทียบระหว่างต้นเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนเมษายน
สำหรับสินค้าที่ขายดีมากขึ้นโดยมีสินค้าที่ขายดี ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ของใช้จำเป็นภายในบ้าน สินค้ากลุ่มสุขภาพเช่น วิตามิน
ส่วนสินค้าที่ขายได้ลดลงจากช่วงปกติคือ สินค้ากลุ่มแฟชั่น
“ยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้นนี้ หลักจากจบสถานการณ์โควิด-19 ไป มองว่าจะการเป็น New Normal”
ด้านธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวถึงการใช้ LazLive ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการขายของบนลาซาด้าว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ลาซาด้าตั้งเป้าจำนวนผู้ขายและผู้บริโภคทำคอนเทนต์บน LazLive มากขึ้นเฉลี่ย 40% ต่อเดือน
และมีจำนวนคอนเทนต์เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า หรือประมาณ 1,800 คอนเทนต์ต่อสัปดาห์ โดยปัจจุบันมีจำนวนยอดการรับชมรวมกว่า 10 ล้านครั้งใน 2 เดือนที่ผ่านมา และสามารถสร้างคำสั่งซื้อได้มากกว่า
20,000 รายการ
ทั้งนี้ ลาซาด้า ช่วยขับเคลื่อนให้ทุกคนผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ด้วยกันผ่านแผนสนับสนุนครบวงจร ภายใต้แนวคิด ‘#StrongerTogether จากใจถึงใจ สู้ไปด้วยกัน’
สนับสนุนทั้ง ‘ผู้ขายเดิม’ และ ‘ผู้ขายใหม่’ ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้ SME ไทยกว่า 50,000 ราย
- SME Stimulus Package: (ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2563)
– ฟรี 0% ค่าคอมมิชชั่น และค่าธรรมเนียมการชำระเงิน โดยลาซาด้าเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
– เปิดร้านออนไลน์ได้รวดเร็วทันใจภายใน 3 นาที และสามารถเข้าถึงบริการสนับสนุนอื่นๆ เพิ่มเติมฟรี
- O2O Promoter & Affiliate Program: เปิดโอกาสให้พนักงานขายของแบรนด์ต่างๆ ในห้างสรรพสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้เข้ามาขายของผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของตนเอง ลาซาด้าจะทำการติด Tracking link ให้ และมีระบบตรวจสอบข้อมูลยอดขายจาก Link ของแต่ละคน
ดีลพิเศษ-ส่งฟรี สำหรับ “ลูกค้า”ลาซาด้า
- แคมเปญ ‘Happy at Home อยู่บ้านก็แฮปปี้ ช้อปดีลดี๊ดีได้ทุกวัน’ ลาซาด้าจัดขบวนสินค้าที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอยู่บ้าน มาจัดดีลเด็ดพิเศษส่งตรงถึงหน้าบ้าน ตั้งแต่วันที่ 7 – 27 เมษายนนี้
- แคมเปญส่งฟรีตลอดเดือนเมษายน
สนับสนุน ‘สังคมไทย’ แม้ต้องเว้นระห่างทางสังคม แต่ลาซาด้าเชื่อ ‘ใจส่งต่อถึงใจ’ ได้
- ลาซาด้ามอบเงินบริจาครวม 3 ล้านบาท ให้แก่โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อการจัดซื้อเวชภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วย และร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด
ของไวรัสโควิด-19 - โครงการ ‘LazadaForGood ให้ทุกใจได้ทำดี’ เปิดช่องทางการบริจาคออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มลาซาด้า เพื่อสนับสนุนองค์กรไม่แสวงกำไร ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และองค์กรสาธารณกุศลต่างๆ
- แคมเปญ #LazHappyHeart สนันสนุนให้คนอยู่บ้าน เว้นระยะห่างทางสังคม ผ่านการโพสต์ภาพท่ามินิฮาร์ทขณะ Video Call กับเพื่อนๆ พร้อมติดแฮชแท็ก #LazHappyHeart ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ Twitter ระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 1 พฤษภาคมนี้
ทุกๆ หนึ่งแฮชแท็ก ลาซาด้าจะนำเงินไปจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อบริจาคให้คนไร้บ้านผ่านทางมูลนิธิอิสระชน
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

