ร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ กำลังจะถึงจุดอิ่มตัว ?

เป็นคำถามที่ยังไม่กล้า “ฟันธง” คำตอบให้ชัดเจน แต่ที่แน่ๆ ณ เวลานี้ ร้านอาหารญี่ปุ่นในพื้นที่กรุงเทพฯ มีจำนวนลดน้อยลง เป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกที่ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทย

ทำไม ร้านอาหารญี่ปุ่นกรุงเทพฯ ปิดสาขามากกว่า เปิดร้านใหม่

ข้อมูลจากบริษัท JETRO Bangkok ที่ทำการสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยนานกว่า 10 ปีเปิดเผยว่า เมื่อสิ้นปี 2016 ร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ มีจำนวน 1,753 สาขา จนมาถึงปัจจุบันที่มีทั้งร้านเปิดใหม่และปิดตัวลง บวก ลบ แล้วนั้นเหลือร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ 1,739 สาขา ติดลบ 2%

เป็นอะไรที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนสาขาขึ้นแบบติดจรวด จนปัจจุบันเข้าสู่สภาวะ “ล้นเมือง” สังเกตง่ายที่สุดในชั้นโซนอาหารของทุกศูนย์การค้าหากเดินผ่าน ร้านอาหาร 10 ร้านจะต้องพบร้านอาหารญี่ปุ่น 3 – 4 ร้าน

ที่นี้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย กำลังซื้อหดหาย อัตราความถี่เข้าร้านของลูกค้าน้อยลง ร้านอาหารญี่ปุ่นในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็ต้องเปิดตำราโปรโมชั่นด้านราคารุนแรงเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน สุดท้ายร้านเล็กๆ ที่ทนแรงเสียดทานไม่ไหวก็ต้องปิดสาขา

ขณะเดียวกันร้านเล็กๆ จำนวนสาขาน้อยๆ ที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้นั้น คือร้านที่เสิร์ฟอาหารรสชาติคุณภาพ ที่ไม่ค่อยพึ่งพาโปรโมชั่น

เผย 3 ร้านที่ถดถอย ในกรุงเทพฯ

คำถามคือแล้วร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพมีต้องหลากหลายประเภท แล้วร้านประเภทไหน ? ที่อยู่ในสภาวะ “ขาลง” ในที่นี้ขอยกไว้ 3 ประเภทที่น่าสนใจและติดอันดับท้อปทรีแห่งความถดถอย

หมายเหตุ : JETRO Bangkok มองว่าร้านอาหารญี่ปุ่นประเภท กระทะร้อนและ ปิ้งยาง ยากินิคุ เวลานี้ไม่น่าลงทุนเพราะเกิดสงครามโปรโมชั่นรุนแรง อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่สร้างความแตกต่างได้ยาก

 

แต่ก็ใช่ว่าร้านอาหารญี่ปุ่นทุกประเภทในกรุงเทพจะต้องมีเส้นกราฟที่ตกต่ำ เพราะก็ยังมี Rising Star ที่ค่อยๆ เริ่มได้รับความนิยมและมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นอย่างน่าจับตามองและนี้คือ 3 อันดับแรก ของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีเติบโตในพื้นที่กรุงเทพ

 

กรุงเทพฯ ถดถอย แต่ภาพรวมสาขาร้านอาหารญี่ปุ่น เติบโต

ถึงแม้ในพื้นที่กรุงเทพฯ กำลังเข้าสู่ภาวะเสมือนใกล้จะอิ่มตัว แต่หากมองไปในภาพรวมร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งประเทศกลับเติบโต 2.2%

การเติบโตนี้เกิดจากพื้นที่ต่างจังหวัด ที่มาจากการขยายตัวของศูนย์การค้าขนาดใหญ่อาทิ บลูพอร์ต หัวหิน, เทอร์มินอล21 โคราช, เซ็นทรัล มารีน่า พัทยา เป็นต้น อีกทั้งกลุ่ม Hypermarket เองก็ขยายสาขาไปต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น

และทุกศูนย์การค้าก็เลือกจะจัดสรรพื้นที่ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบ “จัดเต็ม” เพราะรู้ดีว่าคนต่างจังหวัดนั้นชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นเพียงแต่ในอดีตนั้นค่อนข้างหาทานได้ยาก

คำถามคือแล้วร้านอาหารญี่ปุ่นในต่างจังหวัดเติบโตมากแค่ไหน? ถึงทำให้ภาพรวมตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย ณ เวลานี้มีถึง 2,774 สาขา เติบโต 2.2%

 

คำถามต่อมาคือร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ จากที่ ณ เวลานี้อยู่ในสภาวะถดถอยจะกลับมาใส่เกียร์เติบโตได้เหรอเปล่า? ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดสาขาร้านอาหารญี่ปุ่นจะเติบโตต่อเนื่องต่อไป 5 -6 ปีได้หรือไม่?

คำตอบมีข้อเดียวคือ เศรษฐกิจเมืองไทยจะฟื้นตัวได้ดีแค่ไหน ? เพราะเวลานี้ในภาพรวมธุรกิจร้านอาหารทุกประเภทนั้นเข้าสู่โหมดซบเซามีอัตราความถี่การเข้าร้านของผู้บริโภคลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

ไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ต่อให้ผู้บริโภคคนไทย หลงใหล มากขนาดไหน ? แต่หากเงินในกระเป๋าไม่ตอบสนองจากแต่เดิมเข้าร้านเดือนละ 3 – 4 ครั้งก็อาจจะเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้ง

ไม่เชื่อลองถาม Big Player 2 -3 รายในบ้านเราเองที่ยังต้องปิดบางสาขาที่ประสบปัญหาขาดทุน

เรื่อง : ฉลองศักดิ์ สุขใจธรรม



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online