คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิด-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเรา ทั้งการใช้ชีวิตและอื่น ๆ
เมื่อโควิด-19 ได้เปลี่ยนวิถีของเราไป แล้วนักการตลาดรู้หรือยังว่าผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างไร
อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ อิปซอสส์ ได้เปิดเผย – ข้อมูลวิจัยชุดพิเศษ “วิกฤตการณ์โควิด 4 ระลอก กับ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และทัศนคติ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาด เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมปัจจัยเพื่อการปรับตัวและวางแนวทางให้กับภาคธุรกิจ และภาครัฐ”
เราขอสรุปผลสำรวจที่น่าสนใจในมุมมองผู้บริโภคไทยที่มีผลต่อแบรนด์ดังนี้
1. 80% ของคนไทยยังระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย
โควิด-19 ระลอก 4 ยังคงสร้างความไม่มั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยกับคนไทยในหลาย ๆ ด้าน และเลือกที่จะจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็น และตัดการใช้จ่ายสินค้าที่มีมูลค่าหรือเพื่อความสะดวกสบาย เช่น บ้าน รถยนต์ลง ซึ่งสินค้ากลุ่มบ้านและรถยนต์มีอัตราลดลงตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3
สำหรับกลุ่มสินค้าการสำรวจของอิปซอสส์พบว่ามี 3 กลุ่มสินค้าที่มีการซื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่ กลุ่มสินค้าเพื่อนำไปประกอบอาหารที่บ้าน กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล
ส่วนสินค้าและบริการกลุ่มอื่น ๆ มีพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกันไปดังนี้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากความมั่นใจในสถานภาพการทำงานที่มีเพียง 11% แม้จะเป็นความมั่นใจที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม
2. ใช้เวลาออนไลน์กับครอบครัวมากขึ้น
เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมาคนไทยมีพฤติกรรมในการซื้อของออนไลน์ อยู่บนโลกโซเชียล ดูวิดีโอสตรีมมิ่ง และใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวมากขึ้น
รวมถึงมีการใช้ Cashless ในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านร้านค้ามากขึ้น และร้านค้าภาคธุรกิจมีการให้ความสำคัญกับการชำระเงินในรูปแบบนี้เช่นกัน
ส่วนพฤติกรรมอื่นๆ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและลดลงดังนี้
3. มั่นใจกิจกรรมพบปะญาติ เพื่อน ถึงบ้านมากที่สุด
อิปซอสส์ถามถึงใน 3 เดือนต่อจากนี้คนไทยมั่นใจกิจกรรมเหล่านี้แค่ไหนบ้าง และพบว่า คนไทยให้ความมั่นใจในการพบปะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อนมากที่สุด
ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ลดหลั่นกันไปดังนี้
ไปเยี่ยมญาติและเพื่อนถึงบ้าน 41%
ท่องเที่ยวภายในประเทศ 32%
ไปภัตตาคาร-ร้านอาหาร 28%
ใช้บริการขนส่งมวลชน 26%
ไปโรงยิมหรือสถานออกกำลังกาย 24%
ร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 22%
ท่องเที่ยวต่างประเทศ 20%
แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียง ถือว่าคนไทยมีความมั่นใจระดับปานกลางที่ไม่หวือหวาเหมือนประเทศอื่น ๆ
4.47% มองว่าสถานการณ์การเงินใน 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น
คนไทยมองว่าสถานการณ์การเงินในปัจจุบันยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีและปานกลาง 64% น้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่คนไทยมากถึง 47% เชื่อว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าสถานการณ์การเงินจะดีขึ้น
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถานการณ์การเงินที่ดีและปานกลางแค่ไหน
สิงคโปร์ 83%
เวียดนาม 79%
ฟิลิปปินส์ 79%
มาเลเซีย 76%
อินโดนีเซีย 75%
ไทย 64%
ค่าเฉลี่ย 76%
5. สภาวะจิตใจ 50% รู้สึกแย่มาก
ด้านสภาวะจิตใจของคนไทยเมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา ผลสำรวจของอิปซอสส์พบว่าคนไทยมีสภาวะจิตใจย่ำแย่ถึง 50% และเป็นสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสภาวะจิตใจของไทยมีสัดส่วนดังนี้
สภาวะจิตใจย่ำแย่ 50%
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ 39%
สภาวะจิตใจดีขึ้น 11%
อุษณาให้ข้อมูลว่าแต่ถ้ามองย้อนหลังไปที่การสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ของอิปซอสส์พบว่าคนไทยมีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้น เพราะผลสำรวจครั้งที่ผ่านมาคนไทยมีสภาวะจิตใจที่ย่ำแย่ถึง 65%
และผลสำรวจยังพบว่าสิ่งที่อยากให้รัฐ-เอกชนดูแลเป็นพิเศษใน 6 เดือนต่อจากนี้ คงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการควบคุมราคาสินค้า
ถ้าแยกย่อยเป็นภาครัฐและเอกชนจะมีดังนี้
ภาครัฐ
ความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 56%
ควบคุมราคาสินค้าบริการต่าง ๆ 36%
มาตรการเยียวยาต่าง ๆ 34%
เกิดการจ้างงาน 26%
ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนมีมากขึ้น 24%
ภาคเอกชน
ความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 53%
ควบคุมราคาสินค้าบริการต่าง ๆ 46%
จ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม 41%
จ้างงานคนในท้องถิ่น 30%
ซื้อวัตถุดิบจากท้องถิ่น 29%
ส่วนภาพรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับบริษัทมีธรรมาภิบาลช่วยเหลือสังคมในช่วงโควิด-19 คนไทยมองว่าบริษัทเอกชนมีธรรมาภิบาลเรื่องนี้ 80%
บริษัทมีธรรมาภิบาลช่วยเหลือสังคมแค่ไหนในช่วงโควิด-19
เวียดนาม 96%
ฟิลิปปินส์ 92%
สิงคโปร์ 86%
อินโดนีเซีย 86%
ไทย 80%
มาเลเซีย 77%
ที่มาการสำรวจ
การวิจัย ชุด สรุปผลการศึกษา การระบาดระลอก 4 นี้ เป็นการดำเนินการบนระบบออนไลน์ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน (16-24/6/2564) โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างระดับอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 3,000 คน (500 รายต่อประเทศ) โดยสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างจะถูกจัดสรรให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ การศึกษาสำหรับระลอก 1 ถึง 3 นั้น ได้ดำเนินการในเดือนพฤษภาคม และเดือนกันยายน ในปี 2563 และเดือนกุมภาพันธ์ ในปี 2564 ตามลำดับ
ส่วนสรุปรายงานวิจัยสำหรับประเทศไทย ได้มีการทำผสมผสานกับรูปแบบ Desk Research หรือการวิจัยบนโต๊ะ จากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ภาพรวมของสถานการณ์ตลาดประเทศไทยที่สมบูรณ์ตามความเป็นจริงที่สุด (Desk Research)
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



