Influencer Marketing การตลาดยอดฮิตมีพลังแค่ไหนในไทย ?

ไทยมี Influencer เป็นอันดับสองใน AEC ด้วยจำนวน Influencer ที่ Active มากถึง 2 ล้านคน เป็นรองเพียงอินโดนีเซียที่มี Influencer มากถึง 5 ล้านคน ข้อมูลนี้อ้างอิงจาก Nielsen

 

จำนวน Influencer ที่มีมากมายนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการเปิดกว้างให้ใครก็ได้เข้ามาเป็น Influencer แค่เพียงมีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คนเท่านั้น

ทำให้เราเห็นภาพการสื่อสารของ Influencer ตั้งแต่ระดับ Nano ที่มีผู้ติดตามหลักพัน ไปจนถึง Maga ที่มีผู้ติดตามหลักล้าน ซึ่งจุดเด่นในการสื่อสารของ Influencer ในแต่ละระดับมีความแตกต่างกันไป

เช่น Nano Influencer มีจุดเด่นคือมี Engagement กับผู้ติดตามที่สูง และมีความสัมพันธ์กับผู้ติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีต้นทุนในการว่าจ้างที่ต่ำ

Maga Influencer มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน ทำให้เข้าถึงคนได้จำนวนมาก เหมาะกับการสร้าง Awareness

ในวงการ Influencer Nielsen ให้ข้อมูลกับเราว่าเริ่มเห็นเด่นชัดมาตั้งแต่ในปี 2000

โดยมีเบเบ้ ธันย์ชนก ฤทธินาคา และบอลลูน พินทุ์สุดา ตันไพเราะห์ เป็น Influencer ในยุคบุกเบิก ซึ่ง Influencer ในยุคนั้นอยู่ในรูปแบบของ Net Idol

ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่ยุค Beauty Blogger Era ในปี 2014 ในยุคนี้เป็นยุคที่อุตสาหกรรมความงามมีการใช้ Beauty Blogger ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับสินค้าจำนวนมาก

และในปี 2020-2021 เกิดปรากฏการณ์ Authenticity Drives Influencer เกิด Influencer รูปแบบใหม่ ๆ อย่างพระมหาไพรวัลย์ (ปัจจุบันลาสิกขาเป็นทิดไพรวัลย์ วรรณบุตร) เชฟหมู ณ ป้อมยาม รปภ. ที่ทำคอนเทนต์ทำอาหารในป้อมยาม และอื่น ๆ

จนปัจจุบันเกิด Virtual Influencer มากหน้าหลายตาจากกระแส Metaverse บนโลกเสมือนจริง

แม้ Influencer จะมีการปรับเปลี่ยนในแต่ละยุคสมัย แต่ข้อมูลจาก Nielsen พบว่าอุตสาหกรรมที่ยังใช้ Influencer Marketing สูงสุด ยังคงเป็นกลุ่มความงาม ด้วยสัดส่วนที่มากถึง 42% ของเม็ดเงินที่ใช้ไปกับ Influencer ทั้งหมด

รองลงมาได้แก่ แฟชั่น, อาหารและเครื่องดื่ม, เทคโนโลยี, ฟิตเนส, ลักชัวรี

โดยในกลุ่มความงาม สกินแคร์ เป็นเซกเมนต์ที่ใช้เม็ดเงินไปกับ Influencer ในสัดส่วน 70% และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม 30%

 

แต่ที่น่าคิดสักคิด แม้ Influencer จะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่แบรนด์ใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค

ผลสำรวจของ Nielsen กลับพบว่า

19% ของผู้บริโภคพิจารณาที่จะซื้อสินค้านั้น ๆ หลังจากเห็นการแนะนำสินค้าผ่าน Influencer

17% ซื้อสินค้าหลังจากที่เห็น Influencer แนะนำ

ผลสำรวจนี้ทำให้เรามองว่า แบรนด์ยังคงต้องใช้กลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ เข้ามาเชื่อมต่อ ขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า

เพราะผลสำรวจของ Nielsen พบอีกว่า

ผู้บริโภค 22% มองข้อดีของ Influencer คือทำให้พวกเขาเห็นว่ามีสินค้าหรืออะไรใหม่เกิดขึ้นบ้าง

20% มอง Influencer คือหนึ่งในผู้สร้างความบันเทิง

19% มอง Influencer ทำให้เขาได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการมากขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ถ้ามองมุมของความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีกับ Influencer Nielsen ให้ข้อมูลว่า ผู้บริโภค 75% เชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้รับจาก Influencer ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อมั่นที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ

 

แล้วคุณล่ะ มอง Influencer เป็นอย่างไร

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online