ในวันนี้เราได้เห็นแพลตฟอร์มต่างๆ แตกไลน์ธุรกิจจากแพลตฟอร์มหลักสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบแพลตฟอร์มอีโคซิสเต็ม ที่วางตัวเองเป็นเหมือนสะพานเชื่อมโยง ตอบโจทย์พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

ด้วยการนำบริการหลักเข้าไปยึดหัวหาดพฤติกรรมผู้บริโภคจนมีกลุ่มผู้บริโภคระดับหนึ่ง ก่อนที่จะพาตัวเองสู่บริการอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจมากขึ้น

เพราะการที่แพลตฟอร์มมีบริการอื่นๆ เข้ามาเชื่อมโยงความต้องการของผู้บริโภค หมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรายได้ที่ได้จากแพลตฟอร์มเสริมนี้ อาจจะเป็นรายได้ที่เข้าสนับสนุนให้ธุรกิจโดยรวมอยู่ได้ เนื่องจากในบางธุรกิจที่เป็นธุรกิจเริ่มต้นอาจจะอยู่สภาวะที่ขาดทุน หรือมีรายได้กลับมาไม่สูงมากนัก

รวมถึงอาจจะเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลและข้อจำกัดหลากหลายประกาศ

 

การที่แพลตฟอร์มทำตัวเหมือนสะพานเชื่อมโยงผู้บริโภคสู่บริการใหม่ๆ ยังเป็นการทำความรู้จักกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าตัวเองเพิ่มขึ้นในมิติที่หลากหลายกว่าบริการเริ่มต้นที่ตัวเองมีอยู่

 

เพราะข้อมูลของลูกค้าที่ใช้บริการต่างๆ คือขุมทรัพย์สำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์มสามารถนำมาเรียนรู้ ประมวลผล และต่อยอดไปยังบริการที่โดนในลูกค้ามากขึ้น รวมถึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างรายได้อื่นๆ อีกด้วย

 

เช่นกลุ่มคอนเทนต์และคอมมูนิตี้ ในกลุ่ม Google แตกไลน์ไปทำ แพลตฟอร์มโฆษณา แพลตฟอร์มชำระเงิน และอื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าจากหลากหลายแพลตฟอร์ม เสนอบริการ หรือนำไปเป็นเครื่องมือในการขายโฆษณาเพื่อให้ผลลัพธ์ของการยิงโฆษณาไปหาลูกค้าได้แม่นยำ มากขึ้น

 

แพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลส หันไปจับธุรกิจขนส่ง ชำระเงิน ขนส่ง คอนเทนต์และคอมมูนิตี้ เพื่อเชื่อมโยงลูกค้าให้อยู่ในอีโคซิสเต็มเดียวกัน

แพลตฟอร์มธนาคารไปทำอีคอมเมิร์ซ  เช่น ไทยพาณิชย์ ทำโรบินฮู้ด ขายบริการเดลิเวอรี่ จองที่พัก และอื่นๆ กสิกรไทย เปิด K+ Market และ NFT Marketplace ที่ชื่อ Coral

แพลตฟอร์มขนส่งอย่างแกร็บไปทำฟูดเดลิเวอรี่ บริการทางการเงิน รวมถึงโฆษณา

แพลตฟอร์มขนส่งอย่างแฟลซ หันไปทำแฟลซมันนี่ เป็นต้น



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online