คนไทย 75% ออมเงินเป็นเงินสด มีเพียง 3% ที่ออมด้วยการลงทุน เหตุเข้าไม่ถึงข้อมูล-ต้นทุนสูง KKP Dime ขอส่ง Dime! (ไดม์) แอปการเงินที่ขอเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิวัติทุกข้อจำกัดของการออมและการลงทุน
นายกัมพล จันทวิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด (KKP Dime) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เผยว่า แอปพลิเคชัน Dime! (ไดม์) เกิดจากวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น
โดยอ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าแม้ปัจจุบันจะมีคนไทยมากกว่า 50 ล้านคนที่มีบัญชีเงินฝาก จากประชากร 70 ล้านคน ซึ่งอาจดูเหมือนสูง
แต่การเข้าถึงบริการทางการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินฝากยังน้อยมาก เช่น มีคนเพียงแค่ 3 ล้านคน ที่มีบัญชีหุ้นไทย และมีเพียง 1.5 ล้านคน ที่มีบัญชีกองทุนรวม
แตกต่างจากประชากรในประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกา หรือสิงคโปร์ ที่ประชากรมากกว่า 50% มีบัญชีลงทุนหุ้น หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม ที่เพิ่งเปิดตลาดหุ้นได้ไม่นาน ปัจจุบันก็มีจำนวนคนที่มีบัญชีลงทุนหุ้นมากกว่าประเทศไทย
และข้อมูลของ IMF แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ครอบคลุมหลากหลายจะมีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประเทศอื่นอย่างชัดเจน
คนไทยมีบัญชีเงินฝากสูง
แต่สัดส่วนสำหรับลงทุนยังน้อย |
|
ประเภทบัญชี | จำนวนประชากร |
บัญชีเงินฝาก | 50 ล้านคน |
บัญชีหุ้นไทย | 3 ล้านคน |
บัญชีกองทุนรวม | 1.5 ล้านคน |
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) |
ด้านพฤติกรรมการออมเงินของคนไทย เริ่มจากวิธีการออม พบว่า 1. เก็บเป็นเงินสด 75.4%, 2. เก็บเงินในบัญชี เพื่อออมเงินโดยเฉพาะ 54.5%, 3. ไม่ได้ออมอย่างจริงจัง 21%, 4. ฝากเงินกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ 19.3%, 5. ฝากครอบครัวเก็บแทน 12%, 6. ลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (ไม่รวม กบข. – กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) 3.1%, 7. อื่นๆ 2.8% และ 8. ลงทุนเงินดิจิทัล 0.2%
คนไทยส่วนใหญ่
ยังนิยมออมเงินเป็นเงินสด |
|
พฤติกรรมการออมเงิน | ส่วนแบ่งประชากร |
1. เก็บเป็นเงินสด | 75.4% |
2. เก็บเงินในบัญชีเพื่อออมโดยเฉพาะ | 54.5% |
3. ไม่ได้ออมเงินอย่างจริงจัง | 21% |
4. ฝากเงินกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ | 19.3% |
5. ฝากครอบครัวเก็บแทน | 12% |
6. ลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (ไม่รวม กบข. – กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) | 3.1% |
7. ออมเงินด้วยวิธีอื่นๆ | 2.8% |
8. ลงทุนเงินดิจิทัล | 0.2% |
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) |
ซึ่งจะพบว่าสาเหตุหลักที่คนไทยไม่นิยมออมเงินด้วยการลงทุน มาจาก หนึ่ง ความรู้ความเข้าใจเรื่องการลงทุนยังมีช่องว่าง และ สอง การให้บริการด้านการลงทุนมีต้นทุนสูง ดังนั้น หากผู้ให้บริการผลักภาระต้นทุนนี้ไปที่ผู้บริโภคค่าใช้จ่ายที่สูงอาจทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มเลือกที่จะไม่ลงทุน
Dime! จึงเกิดขึ้นมาเพื่อขจัดอุปสรรคสองข้อนี้ โดยมุ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาสร้างธุรกิจการเงินดิจิทัลที่น่าเชื่อถือที่สุด แต่ในขณะเดียวก็เข้าถึงได้ง่าย ด้วยค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
เพื่อที่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเงิน โดยไม่ถูกจำกัดด้วยความรู้ ประสบการณ์ ความมั่งคั่ง หรือรายได้ บริษัทเชื่อว่าบริการของ Dime! จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยตั้งเป้ามีผู้เปิดบัญชี 150,000 คน ภายในสิ้นปี 2565 และแตะ 1 ล้านคน ภายในปี 2568
เพราะ Dime! (ไดม์) ถือเป็นแอปพลิเคชันทางการเงิน ที่เจาะปัญหาสำคัญสำหรับผู้ที่อยากลงทุน คือ การเข้าถึงข้อมูล ซึ่ง ดร. ฉัตริน ลักษณบุญส่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์ของ Dime! (ไดม์) เล่าว่า เพราะข้อมูลเบื้องลึกที่ใช้สำหรับตัดสินใจลงทุนมักมาพร้อมค่าใช้จ่าย แต่สำหรับแอปพลิเคชัน Dime! ตั้งแต่วินาทีแรกที่ดาวน์โหลดลูกค้าทุกคนสามารถดูข้อมูลหุ้นต่างประเทศ ดูข้อมูลกองทุนรวมทุกชนิด รวมถึงอ่านบทความที่ให้ความรู้ทางการเงินได้ฟรีทันที นอกจากนี้ Dime! ยังทำให้การเงินเป็นเรื่องง่ายที่สุดสำหรับทุกคน
โดยลดขั้นตอนการเปิดบัญชีให้ลูกค้าสามารถเปิดทั้งบัญชีด้านการออม และบัญชีด้านการลงทุนพร้อมกันได้ในครั้งเดียว แม้กระทั่งการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ซึ่งปกติสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย มักบังคับจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำที่สูง และมีภาระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และการทำเอกสารหลายขั้นตอน Dime! ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้
ด้านการตัดสินใจลงทุน มักมาพร้อมค่าใช้จ่าย แต่สำหรับ Dime! ตั้งแต่วินาทีแรกที่ดาวน์โหลด ลูกค้าทุกคนสามารถดูข้อมูลหุ้นต่างประเทศ ดูข้อมูลกองทุนรวมทุกชนิด รวมถึงอ่านบทความที่ให้ความรู้ทางการเงินได้ฟรีทันที
นอกจากนี้ Dime! ยังทำให้การเงินเป็นเรื่องง่ายที่สุดสำหรับทุกคน โดยลดขั้นตอนการเปิดบัญชีให้ลูกค้าสามารถเปิดทั้งบัญชีด้านการออม และบัญชีด้านการลงทุนพร้อมกันได้ในครั้งเดียว
สำหรับการจัดการและการให้บริการของแอปพลิเคชัน Dime! ซึ่งจะดำเนินการผ่านระบบดิจิทัลทั้งหมด รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง
ระยะเริ่มต้น บริการหลักซึ่งลูกค้าจะได้ครบทุกบริการในทันทีที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน มีดังนี้
1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Dime! Save
บัญชีเงินฝากซึ่ง Dime! ร่วมมือกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร ให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 3% ไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชี โดยลูกค้าสามารถฝากเงินหรือโอนเงินได้โดยยืดหยุ่น และไม่มีเงื่อนไขมากเหมือนบัญชีฝากประจำ
นอกจากนั้น แอปพลิเคชันยังมีลูกเล่นให้ลูกค้าสามารถตกแต่งสลิปยืนยันการโอนเงินได้ ทำให้การใช้งานเป็นเรื่องสนุก และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์
2. บัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศ
บัญชีนี้ทำให้การลงทุนในหุ้นต่างประเทศทำได้อย่างง่ายดาย โดยใช้เงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 50 บาทก็สามารถเป็นเจ้าของหุ้นชื่อดังในต่างประเทศได้
นอกจากนี้ ยังอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม เช่น ซื้อหุ้นต่างประเทศด้วยเงินบาทได้ หรือถ้าลูกค้าอยากแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐเอง Dime! ก็จะแลกให้ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วันทำการ
ผู้ลงทุนยังได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นค่าคอมมิชชันเดือนละหนึ่งครั้งสำหรับการซื้อหรือขายครั้งแรกของทุกเดือน และรายการซื้อขายต่อไป ก็จะเก็บตามจริงที่ 0.15% ของมูลค่าซื้อหรือขาย ไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ และไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง
เช่น ค่าธรรมเนียมโอนเงิน แลกเงิน หรือค่าธรรมเนียมยื่นแบบภาษี W-8BEN และที่พิเศษยิ่งกว่า คือ ลูกค้าที่เปิดบัญชีลงทุนภายในปี 2565 นี้ Dime! จะยกเว้นค่าคอมมิชชันให้ถึง 30 มิถุนายน 2566
3. บัญชีกองทุนรวม ซื้อขายกองทุนรวมได้ทุก บลจ.
บัญชีกองทุนรวมของ Dime! สามารถลงทุนได้ทุกที่แบบไม่จำกัดค่าย โดยปัจจุบัน Dime! รวบรวมกองทุนรวมในไทยมากกว่า 1,700 กองทุน จาก 21 บลจ. ภายในปี 2565
ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุน แต่ไม่มีเวลาติดตามหุ้นรายตัว และผู้ที่ต้องการซื้อกองทุนรวมเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี นอกจากนี้ Dime! ยังมีการจัดหมวดหมู่รายชื่อกองทุนรวมที่น่าสนใจ ภายใต้ธีมต่าง ๆ
ช่วยให้ผู้ลงทุนเห็นภาพรวมและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีบริการ Dime! Fast ที่ช่วยให้ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนภายใน 2 วันทำการ หลังส่งคำสั่งขายหน่วยลงทุน รวดเร็วกว่าแบบปกติที่อาจต้องรอนานถึง 7 วันทำการ
ด้าน เฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยีของ Dime! (ไดม์) เผยว่า จุดแข็งหนึ่งของ Dime! คือ แม้ว่าทีมงานจะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงิน แต่ก็มีวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการทำงานแบบบริษัทเทคฯ สตาร์ตอัป
ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากทั้งในและนอกวงการการเงิน มาร่วมกันออกแบบโครงสร้างเทคโนโลยี โดยใช้สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
และวางโครงสร้างทีมให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว สามารถออกแบบ สร้าง และเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานของระบบ เพื่อรองรับปริมาณรายการธุรกรรมของผู้ใช้งานที่จะเติบโตต่อไปได้ตามที่ตั้งเป้าไว้
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



