แอชตัน อโศก มหากาพย์นี้ ลูกบ้านเตรียมเฮ แต่คดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ศาลปกครองกลาง (ศาลชั้นต้น) มีคำพิพากษาให้ “เพิกถอนใบอนุญาต” โครงการคอนโดมิเนียมหรู “แอชตัน อโศก” ของบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ “อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)”
.
เป็นคดีที่สะเทือนวงการอสังหาฯ และประชาชนที่กำลังต้องการที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก
(อ่านเพิ่มเติม แอชตัน อโศก Case Study สะเทือนใจ ตอกย้ำความลำบากยุคโควิด-19 https://marketeeronline.co/archives/228898)
.
ล่าสุดวันนี้ 20 ก.ย. 2565 มีการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดครั้งแรก ระหว่างสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) และ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด (ผู้ร้องสอด)
.
โดย ตุลาการผู้แถลงคดี ให้ความเห็นหลังจากฟังแถลงข้อเท็จจริงว่า กรณี รฟม. อนุญาตให้โครงการแอชตัน อโศก ใช้ที่ดินที่เวนคืน เพื่อเป็นทางเข้าออก ขยายถนนจากความกว้าง 6.4 เมตร เป็น 13 เมตร สอดรับกับกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่ง รฟม. ได้รับประโยชน์เป็นอาคารจอดรถและอาคารสำนักงานมูลค่า 97 ล้านบาท เป็นการดำเนินการโดยชอบ คำอุทธรณ์ฟังขึ้น ดังนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีจึงมีความเห็นโครงการดำเนินการไปโดยชอบ ควรกลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง (ศาลชั้นต้น) ให้ยกฟ้องจำเลยทุกคดี
.
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดี เป็นเพียงความเห็นอิสระ ไม่ได้นำมาพิจารณาร่วมกับการตัดสินของตุลาการเจ้าของสำนวน จึงยังต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง
.
คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือนจากนี้หรืออาจจะเร็วสุดประมาณ 1-2 สัปดาห์
.
แอชตัน อโศกเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2557 เป็นคอนโดมิเนียมหรู 51 ชั้น 783 ยูนิต บนถนนอโศก มูลค่าโครงการ 6,481 ล้านบาท
.
พัฒนาโดยบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ และ มิตซุย ฟูโดซัง จากญี่ปุ่น ราคาเฉลี่ยเริ่มต้นสูงถึง 210,000 บาทต่อตารางเมตร เป็นบิ๊กโปรเจกต์ที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออยู่อาศัยและนักลงทุนอย่างมาก และขายหมดอย่างรวดเร็ว
.
เเต่ในระหว่างก่อสร้างในปี 2559 เริ่มมีการฟ้องร้องและร้องเรียนทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ซึ่งหลังจากศาลพิจารณารวมถึงตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ แล้วไม่พบว่าโครงการทำผิด แอชตัน อโศก จึงดำเนินการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี 2560
.
หลังจากนั้นเมื่อโครงการสร้างเสร็จลูกบ้านยังไม่สามารถโอนได้ เนื่องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือยื่นต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เกี่ยวกับการอนุญาตให้อนันดาใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ทำให้ต้องเลื่อนการโอนออกไป
.
ซึ่งในที่สุด กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกใบรับรองการก่อสร้างให้โครงการ ลูกบ้าน จึงเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ในปี 2561
.
ปัจจุบันมีลูกบ้านในโครงการมากกว่า 600 ครอบครัวและสมาชิกมากกว่า 1,000 คน มีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
–
.
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ ที่
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/ marketeeronline
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ
Website : https://marketeeronline.co/
Facebook : https://www.facebook.com/ marketeeronline
.
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine. com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online