โคนไอศกรีม จากไอเดียก้นครัว สู่ความกรุบกรอบคู่ขนมเย็นยอดฮิต
กระทั่งของใกล้ตัวก็ล้วนมีที่มาน่าสนใจและสามารถเชื่อมโยงกับประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม และนัยสำคัญทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้เสมอ เมื่อสืบสาวย้อนเส้นทางไปจุดเริ่มต้น
เหมือนโคนไอศกรีม ที่เราคงแทบไม่มีเวลาได้นึกถึงที่มาของมัน เพราะนอกจากเป็นพระรองแล้วยังเคี้ยวเพลินจนหมดไม่รู้ตัวทุกครั้งเมื่อกินคู่กับไอศกรีม
ลองมาใช้เวลาอ่านบรรทัดถัดจากนี้แล้วจะทึ่งว่าเจ้าภาชนะกินได้ใกล้ตัวเรานี้ มีอะไรมากกว่าความกรอบที่กินคู่กับขนมเย็นชื่นใจยอดฮิตของคนทั่วโลก
ก่อนคนทั่วโลกจะรู้จักโคนไอศกรีมในวงกว้าง ส่วนใหญ่แล้วไอศกรีมมักขายและเสิร์ฟบนถ้วยแก้วทรงต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบกิจการร้านไอศกรีมทั่วไป
Italo Marcioni
Italo Marcioni ชาวอิตาลีที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานและสร้างตัวในสหรัฐฯ ก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน นับตั้งแต่เปิดร้านแรกเองจนต่อยอดเป็นธุรกิจเครือร้านไอศกรีมที่มีสาขาอยู่พอสมควร
แต่ข้อติดขัด (Pain point) ที่ต่อมาจะกลายจุดสำคัญของเรื่องนี้ก็เกิดขึ้น โดยร้านแถว Wall Street ที่มีนักธุรกิจเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่มักซื้อไอศกรีมในถ้วยไปพร้อมกับคุยเรื่องเศรษฐกิจและหุ้นกันจนเดินเพลินออกไปไกลร้าน และไม่ได้เอาถ้วยมาคืน
Italo Marcioni พบทางออกของเรื่องนี้ระหว่างทำวาฟเฟิลกินเองในครัวที่บ้าน โดยเขานำวาฟเฟิลที่ยังร้อนอยู่มาต่อกันและประกอบเป็นกรวยหรือที่เรียกทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษว่าโคน (Cone) ขึ้นมา และต่อด้วยการคิดค้นแม่พิมพ์โคนไอศกรีมที่สาขาต่าง ๆ ทำขึ้นมาเองได้
ไอเดียก้นครัวดังกล่าวแก้ปัญหาไปได้เปลาะหนึ่งแต่อีกไม่นานก็เจออีกปัญหาตามมา เพราะสาขาต่าง ๆ เริ่มบ่นว่าขายดีจนทำโคนสดไม่ทัน เพื่อแก้ไข Pain point ภาค 2 นี้ Italo Marcioni จึงตัดสินใจตั้งโรงงานขึ้นที่เมืองโฮโบเคน รัฐนิวเจอร์ซีย์ และยื่นขอจดสิทธิบัตรโคนไอศกรีมกับทางการสหรัฐฯ เมื่อ 22 กันยายน 1903
ปีต่อมา Italo Marcioni ไปออกร้านในงาน World Fair ในเมืองเซนต์หลุยส์ ซึ่งปรากฏว่าทำให้โคนไอศกรีมของเขาเริ่มดังไปทั่วประเทศ และยังเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติที่มาร่วมงานอีกด้วย
ธุรกิจของ Italo Marcioni สะดุดครั้งใหญ่จากเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตโคนไอศกรีมปี 1935 แต่เขาก็ยังสู้ต่อฟื้นฟูโรงงานขึ้นมาแม้ขณะนั้นอายุเริ่มมาก โดยเขายังบริหารโรงงานแห่งนี้ที่ใช้ชื่อว่า Sunlight ต่อมาจนถึงอายุ 70 ปี แล้วขายโรงงานเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลาย จนที่สุดก็เสียชีวิตลงในปี 1954 ด้วยวัย 86 ปี
โรงงาน Sunlight
เรื่องราวของ โคนไอศกรีม นอกจากเป็นการยืนยันอีกครั้งว่าไอเดียดี ๆ มักเกิดขึ้นได้ เมื่อเราผ่อนคลาย และการนำของใกล้ตัวมาต่อยอดแล้ว ยังเป็นการชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของชาวอิตาเลียนที่อพยพเข้ามาต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้ว
เพราะนอกจาก Italo Marcioni แล้ว ผู้ก่อตั้งบริษัทใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ อีกมากมาย ตั้งแต่ยุคเก่าอย่างธนาคาร Bank of America ยุคกลางอย่างเชนร้านฟาสต์ฟู้ด Subway และยุคใหม่อย่างแพลตฟอร์มจองที่พัก Airbnb ก็มีผู้ก่อตั้งหรือสมาชิกในทีมผู้ก่อตั้งเป็นชาวอิตาเลียน
ขณะเดียวกันยังมีผู้มีเชื้อสายอิตาเลียนกระจายอยู่ตามวงการต่าง ๆ ในสหรัฐฯ และทุกวงการก็มีคนเชื้อสายอิตาเลียนขึ้นเป็นคนดังหรือบุคคลระดับสูง เช่น Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎร
Leonardo DiCaprio
Frank Senetra นักร้องระดับตำนานเจ้าของเสียงเพลง My Way และ Leonardo DiCaprio นักแสดงชายชื่อดัง/onthisday, wikipedia, hobokengirl, lagazzettaitalian
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ