แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ตลาดแรงงานยังคงคึกคัก ในโลกยุคหลังโควิดระบาด ธุรกิจขาดกําลังคน ในขณะที่มีคนมากมายต้องการหางาน

แม้ว่าบุคลากรไทยจะได้รับการเสนองานน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก   แต่ตลาดแรงงานยังค่อนข้างตื่นตัว  ผู้หางานชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการงานที่มั่นคง  มีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทํางานที่ดี เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม คนไทยยังให้ความสนใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในตําแหน่งงาน แต่วางแผนสร้างธุรกิจเป็นของตนเองในภายหลัง

การสำรวจมีผู้ร่วมตอบเเบบสอบถามเป็นผู้สมัครงานคนไทย 2,636 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 21-40 ปี เเละเป็นพนักงานพาร์ตไทม์เเละเต็มเวลาเสียส่วนใหญ่

พบว่า ผู้ตอบเเบบสอบถามกำลังมองหางานใหม่ ด้วยเหตุผลว่า ต้องการมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจหรือสูงขึ้นกว่าเดิม แม้จะรู้สึกไม่มั่นใจการมองหาโอกาสใหม่ เนื่องจากกังวลกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่บ้าง

แต่กว่า 68% ของผู้หางาน ยังคนมั่นใจว่ามีอำนาจต่อรองกับผู้ว่าจ้าง  ซึ่งกว่า 68% ของผู้สมัครงานไทยได้รับการติดต่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ ปีละหลายครั้ง เเละอีก 34% ได้รับการติดต่อทุกเดือน

หลายคนให้ความสําคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทํางาน เเต่มีความกระตือรือร้นที่จะเติบโตไปสู่ตําแหน่งที่สูงขึ้น รวมถึงต้องการสร้างธุรกิจส่วนตัวที่ประสบความสำเร็จสักหนึ่งอย่าง

ผู้สมัครงานในประเทศไทยพิจารณาเรื่องค่าตอบแทน และความสมดุลระหว่างชีวิตและการทํางานเป็นอันดับต้น ๆ ในการตัดสินใจรับข้อเสนองานหนึ่ง ๆ ทั้งยังต้องการสถานที่เเละเวลาที่ทำงานอย่างยืดหยุ่น

เเต่หากเจาะลึกลงไปในข้อมูล สำหรับกลุ่มคนดิจิทัลจะให้ความสําคัญเรื่องค่าตอบแทนและการจัดการเวลางานที่ยืดหยุ่นมากกว่ากลุ่มอื่น  ขณะที่กลุ่มคนมีประสบการณ์ให้ความสําคัญกับความมั่นคงของงาน  เนื้องานที่น่าสนใจ และความสัมพันธ์กับผู้ที่มีตําแหน่งสูงกว่า ด้านกลุ่มคนทํางานไม่ประจําให้ความสําคัญกับโอกาสเรียนรู้และเติบโตในสายงาน

ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ผู้สมัครเริ่มลังเลที่จะกลับไปทํางานเต็มเวลาในสํานักงาน คนมากกว่า 69% อยากมีหน้าที่การงานที่มั่นคง  เเต่มีความสมดุลระหว่างชีวิตและงานที่ดี ตลอดจนความยืดหยุ่นของงานในยุคหลังโควิด

ปัจจุบันผู้สมัครต้องการทำงานเเบบ hybrid ไม่ใช่เพียงการทำงาน work from home เเต่ต้องไม่ทำงานล่วงเวลา หรือเสียเวลาไปกับการเดินทางมาออฟฟิศ เเละต้องเผชิญกับรถติด กล่าวได้ว่าผู้สมัครกำลังมองหางานที่ได้คุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

อีกด้านหนึ่ง ผู้สมัครงานไทยต้องการวิธีคัดเลือกเข้าทำงานแบบ สัมภาษณ์ออนไลน์หรือทางโทรศัพท์กับหัวหน้างาน  65% สัมภาษณ์เเบบเผชิญหน้ากับหัวหน้างาน 65% สัมภาษณ์ออนไลน์หรือทางโทรศัพท์กับบริษัทจัดหางาน 60% สัมภาษณ์แบบเผชิญหน้ากับบริษัทจัดหางาน 58% เเละทดสอบความรู้ออนไลน์ 55%

โดยจะมองหางานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เสิร์ชเอ็นจิน โซเชียลมีเดียเกี่ยวกับอาชีพ เว็บไซต์ขององค์กร และการติดต่อจากคนรู้จักในสายอาชีพ

ท่ามกลางตลาดแรงงานที่แข่งขันสูง เหตุผลหลักที่ผู้คนมองหางานใหม่ คือ ความก้าวหน้าในอาชีพและโอกาสในการเติบโต

ปีเตอร์ บิโธส ประธานกรรมการบริหาร SEEK Asia แสดงความคิดเห็นว่า สำหรับตลาดหางานในไทย เเรงงานด้านการบริการคือกลุ่มที่เนื้อหอมที่สุด เนื่องจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยมีขนาดใหญ่ ความต้องการเเรงงานจำนวนมาก เเต่ช่วงโควิดทำให้ลูกจ้างกลุ่มนี้ออกไป เมื่อเปิดประเทศอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขาดเเคลนคน จึงต้องการบุคลากรจำนวนมาก

ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีในภูมิภาคเเละทั่วโลก แม้จะเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก เเต่ความต้องการบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่มีความสามารถยังคงอยู่

ดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand (จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย) กล่าวว่า ผู้สมัครงาน 72% ต้องการทำงานแบบ Hybrid ซึ่งเป็นตัวเลขมากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ตอบเเบบสอบถามทั่วโลก

ทั้งนี้ ตลาดเเรงงานไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาค ที่มีตำแหน่งงานที่ได้รับการเสนอบ่อยมากที่สุด ไม่ใช่สายไอที เเต่เป็นสายงานรับจ้าง 58% งานบริการเเละต้อนรับ 57% เเละดิจิทัล & เอไอ 55%

อย่างไรก็ตาม สายงานไอทีไม่ได้หายไปไหน ผู้ประกอบการยังคงมองหาลูกจ้างกลุ่มนี้จำนวนมาก สะท้อนจากจำนวนเสนองานต่อสัปดาห์ที่ยังคงสูงสุดในไทย เนื่องจากหลายธุรกิจล้วนต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล

 

พนักงานรับจ้าง-บริการเเละต้อนรับ สายงานเนื้อหอม 2023

งานที่กำลังเป็นที่ต้องการตัว
สายงานรับจ้าง 58% งานบริการเเละต้อนรับ 57% ดิจิทัล&เอไอ 55%

 

ชีวิตการทำงานในอุดมคติ
77% ต้องการงานมั่นคง มีwork life balance มีเวลาอยู่กับครอบครัว เพื่อนฝูง
55% ต้องการทำงานในบริษัทที่ดี มีความก้าวหน้า
32% ต้องการมีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเป็นของตน
ปัจจัยที่คนหางานพิจารณา
13% เงินเดือน โบนัส
11% work life balance
9% การทำงานเเบบไฮบริด
เหตุผลที่ออกจากงาน
38% สุขภาพ เหตุผลส่วนตัว
32% ก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง
24% ออกไปค้นหาตัวตน

 

สายดิจิทัล: โฟกัส ‘ค่าตอบเเทน’ กลุ่มผู้มีประสบการณ์: โฟกัส ‘สมดุลชีวิตเเละการทำงาน’ คนทำงานไม่ประจำที่ : โฟกัส ‘โอกาสเรียนรู้’

ที่มา: การสํารวจผ่านเว็บไซต์และการวิเคราะห์ของ BCG และ The Network ในปี 2565/JobsDB



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน