ตลาดกล้องในไทย Mirrorless แตะ 3 พัน ลบ. ครีเอเตอร์สร้างคอนเทนต์หนุนตลาด

ตลาดกล้องในไทย ล่าสุด (ม.ค.-มี.ค. 2566) ฟื้นตัว เหตุ Supply Chain คลี่คลาย คาดทั้งปี 2566 ยอดขาย 9.4 หมื่นตัว ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ กินแชร์ 30% เซกเมนต์ Mirrorless Full Frame มูลค่าตลาดรวมแตะ 3 พัน ลบ. ทรงตัวจากปีก่อน

กล้องดิจิทัล

Mirrorless Full Frame หนุนตลาด

ทรงตัว 3,000 ล้านบาท

ยอดขาย ปี พ.ศ. จำนวน/ตัว มูลค่า/ล้านบาท
ปี 2562 (ก่อนเกิดโควิด) 230,000 6,500
ปี 2565 (ฟื้นโควิด) 95,000 (แชร์ของ Mirrorless Full Frame 58% Compact 30% DSLR ไม่ถึง 10%) 3,000
ปี 2566 (คาดการณ์) 94,000 3,000
* เหตุที่ยอดขายปี 2566 ไม่ลดลง แม้จำนวนขายออกจะน้อยลง เพราะยอดขาย Mirrorless Full Fram ที่คาดว่าจะสูงขึ้นกว่าปี 2565
ที่มา: Canon/มีนาคม 2566

 

มร. ฮิโรชิ โยโกตะ

 

มร. ฮิโรชิ โยโกตะ ประธานบริษัท และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ แคนนอน (Canon) เผยว่า ปี 2565 ซึ่งเริ่มฟื้นตัวจากโควิด ตลาดกล้องในไทยก็ยังอยู่ในกราฟที่ลดลง เพราะปัญหา Supply Chain โดยเฉพาะการผลิตชิป ที่ยังไม่คลี่คลายดี

ทั้งการชะงักงันของธุรกิจโปรดักชั่นและดีมานด์จากผู้บริโภคที่ระมัดระวังการใช้จ่ายกันอยู่ โดยกระทบกับเซกเมนต์กล้องกลุ่ม Compact มากที่สุด

ส่วนสถานการณ์ตลาดกล้องในไทยล่าสุด (ม.ค.-มี.ค. 2566) ยังถือว่ามีการเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด (Q4/2565) และไตรมาสแรกของปีที่แล้ว (Q1/2565)

ด้าน ภาพรวมทั้งปี 2566 ดีมานด์กล้องเซกเมนต์ Compact และ DSLR จะลดลงชัดเจน เพราะผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับเซกเมนต์ Mirrorless Full Frame ซึ่งเป็นกลุ่มกล้องที่โตขึ้นมาได้ดีที่สุด

แต่ก็โตไม่มากพอจะไปอุ้มตลาดกล้องในทุกเซกเมนต์ที่ลดลง จนทำให้กลับมามีกราฟเป็นบวกได้ แต่สามารถทำให้มูลค่าและยอดขายกล้องในไทยทั้งปีนี้ทรงตัวจากปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ในเซกเมนต์กล้องที่ลดลงต่อเนื่องทุกปี อย่าง Compact และ DSLR เชื่อว่าจะไม่ลดลงไปมากกว่านี้อีกแล้ว เพราะผู้บริโภคกลุ่มที่หันไปใช้ สมาร์ตโฟน และอัปเกรดมาใช้ Mirrorless Full Fram เริ่มถึงจุดอิ่มตัว

และปัจจัยบวกของตลาดกล้องในไทยปีนี้ จะเป็นเรื่องการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ที่ส่งให้ความต้องการซื้อกล้องใหม่ เพื่อนำไปใช้งานของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 

ทั้งครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เกิดใหม่ที่เริ่มสร้างรายได้จากการผลิตคอนเทนต์ ก็จะเริ่มมองการอัปเกรดกล้องที่ใช้งาน หรือเปลี่ยนจากสมาร์ตโฟนเป็นใช้กล้องคุณภาพระดับโปรดักชัน

โดยเฉพาะ Mirrorless เพื่อเพิ่มคุณภาพคอนเทนต์ และเสริมภาพลักษณ์ของตัวเองให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งนับเฉพาะกลุ่มนี้คาดว่ากินแชร์จำนวนขายออกของตลาดกล้องในไทยมากถึง 30% ในปัจจุบัน

ภาพรวมการแข่งขัน ตลาดกล้องในไทย ปี 2566 สงครามราคาจะไม่ใช่แนวทางที่ยั่งยืนอีกต่อไป แต่ทุกแบรนด์ต้องใช้วิธีการสื่อสารจุดแข็งในผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่าในการใช้ผลิตภัณฑ์ เมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายไป

ส่วนกลุ่มธุรกิจกล้องในไทยของแคนนอนดีขึ้นมาชัดเจนตั้งแต่ปี 2565 จากการคลี่คลายลงของปัญหา Supply Chain โดยปีที่ผ่านมามีส่วนแบ่งยอดขายในตลาดรวมอยู่ที่ 25% และตั้งเป้ายอดขาย ปี 2566 อยู่ที่ 20% YoY หรือ 800 ล้านบาท

ปัจจุบันแคนนอนมีดีลเลอร์กระจายอยู่ประมาณ 10 ดีลเลอร์ทั่วไทย และเริ่มลุยตลาดกล้อง Mirrorless Full Fram อย่างเต็มตัวในปี 2566 ด้วยการเปิดตัวกล้อง 2 รุ่นใหม่

 

EOS R8 กล้อง Mirrorless Full Fram บันทึกวิดีโอ 4K 60P แบบไม่ครอป พร้อมฟังก์ชัน Auto Focus Detect Only ช่วยให้ภาพวิดีโอดูเนียนตา โฟกัสไม่หลุดแม้เดินเข้า-ออกจากเฟรมภาพ เพื่อการผลิตคอนเทนต์คุณภาพสูง การปรับตั้งค่าง่ายดายและหลากหลาย เอาใจฟรีแลนซ์ที่รับงานถ่ายวิดีโอและเหล่ายูทูบเบอร์

วางจำหน่ายประมาณวันที่ 20 เมษายน 2566

– EOS R8 (เฉพาะตัวกล้อง) ราคา 56,590 บาท

– EOS R8 พร้อมเลนส์ RF24-50mm f/4.5-6.3 IS STM ราคา 64,790 บาท

 

โดย EOS R50 กล้อง Mirrorless APS-C ออกแบบมาเพื่อ Content Creator สาย Live Streaming, Blogger และ Vlogger ด้วยฟังก์ชัน Close Up Demo ที่ใช้งานได้ทั้งการบันทึกวิดีโอปกติ และ Live Streaming จับโฟกัสใกล้-ไกลได้อย่างแม่นยำ เชื่อมต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์-แล็ปท็อป ผ่านสาย USB-C ได้ทั้งภาพและเสียง โดยไม่ต้องผ่านแอปอื่น  ๆ เพิ่มเติม

วางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2566

– EOS R50 พร้อมเลนส์ RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM ( ราคา 28,990 บาท จำหน่ายสีขาวและดำ)

– EOS R50 พร้อมเลนส์ RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM และ RF-S55-210mm f/5-7.1 IS STM ราคา 38,490 บาท (มีจำหน่ายเฉพาะสีดำ)

ตั้งงบการตลาดสำหรับกล้องใหม่ทั้ง 2 รุ่น ทั้งปี 2566 อยู่ที่ 50 ล้านบาท เป้ายอดขาย รวม 6,000 ตัว

พร้อมเสริมไลน์อัปเลนส์ตระกูล RF 2 รุ่นใหม่ RF 24-50mm f/4.5-6.3 IS STM (12,390 บาท) เลนส์ซูมเมาท์ RF ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาที่สุดสำหรับกล้องฟูลเฟรม ด้วยน้ำหนักราว 210 กรัม และขนาดเพียง 5.8 (เมื่อหดเข้า)

กับ RF-S 55-210mm f/5-7.1 IS STM (13,890 บาท) เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่พกพาสะดวก เหมาะสำหรับผู้ใช้กล้องตระกูล EOS R เซนเซอร์ขนาด APS-C

ทั้งปีนี้ แคนนอน จะยังปล่อยกลยุทธ์การตลาดสำคัญอย่างการออกแคมเปญ You ‘R Creator โดยตัวอักษร R สื่อถึงกล้องแคนนอน Mirrorless ตระกูล EOS R ที่ย่อมาจากคำว่า Revolution หรือการพลิกโฉมการถ่ายรูปด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ

โดยเป็นแคมเปญที่แคนนอนจะชวนครีเอเตอร์ในสาขาต่าง ๆ มาร่วมถ่ายทอดประสิทธิภาพของกล้องตระกูล EOS R ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การจัด Roadshow และกิจกรรมเวิร์กช็อปต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของเซกเมนต์กล้องในภาพรวมธุรกิจทั้งหมดของแคนนอนในไทย อยู่ที่ประมาณ 30% จาก 3 ผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจในปัจจุบัน ได้แก่ กล้อง เครื่องพรินต์ และเครื่องถ่ายเอกสาร

และแคนนอนโฟกัสการทำงานอยู่ใน 2 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้าทั่วไป (General Customer) และองค์กรธุรกิจ (Business Solution)

ซึ่งตั้งเป้ายอดขายทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ปี 2566 รวม 4,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์โซลูชันต่าง ๆ เข้ามาเสนอลูกค้า โดยเฉพาะในกลุ่มองค์กรธุรกิจ อาทิ กล้องวงจรปิด ก็จะมีการเพิ่มออปชั่น อย่าง เทคโนโลยีตรวจจับความปลอดภัย เป็นต้น

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน