แม้สถานการณ์โควิด-19 จะค่อย ๆ จางหายไป แต่ดูเหมือนวิกฤตด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจะยังคงอยู่ และค่อย ๆ คืบคลานใกล้ตัวเรามากขึ้น

ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ที่มนุษย์เคยนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม ก็ดูจะอยู่ในสภาวะเสี่ยงจนน่าวิตก ทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบันไม่ได้ดำเนินธุรกิจเพียงแค่หวังเรื่องผลกำไรและการเติบโต แต่ต้องเป็นการเติบโตไปพร้อม ๆ กับสังคม สิ่งแวดล้อม และใส่ใจในทรัพยากรธรรมชาติเพื่อคงเหลือโลกที่ดีให้กับลูกหลาน

หนึ่งในองค์กรที่ขับเคลื่อนธุรกิจในมิติของความยั่งยืนได้โดดเด่นไม่แพ้การสร้างการเติบโตด้านผลประกอบการคือ “ไทยประกันชีวิต” ที่ประกาศวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน” เพื่อเป็นตัวกําหนดทิศทางในการขับเคลื่อนองค์กร โดยมุ่งให้ความสําคัญกับการส่งมอบคุณค่าแห่งความยั่งยืน (Value of Sustainability) ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกภาคส่วน ทั้งลูกค้า บุคลากร ผู้ถือหุ้น คู่ค้าและพันธมิตร หน่วยงานกำกับดูแล และสังคม

“เราให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจกํากับดูแลกิจการที่ดี สุจริต โปร่งใสและเป็นธรรม คํานึงถึงผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมรอบด้าน ที่บูรณาการปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) ไว้อย่างครอบคลุมในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

คุณไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ Marketeer

โดยวิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจของไทยประกันชีวิตสอดคล้อง Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติทั้ง 9 ด้าน คือ ขจัดความยากจน, ขจัดความหิวโหย, ด้านสุุขภาวะ, คุณภาพการศึกษา, ความเท่าเทียมทางเพศ, เศรษฐกิจและการจ้างงาน, ลดความเหลื่อมล้ำ, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดผลกระทบ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่น่าสนใจคือ “ไทยประกันชีวิต” ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้ง 9 ด้านในข้างต้นเท่ากันหมด โดยมีการวางแผนงานและดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการจัดทำ “แผนแม่บทความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์” ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานสำคัญขององค์กรในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตั้งแต่ปี 2551 ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก Giving (การให้), Caring (การดูแล) และ Fulfilling (การเติมเต็มคุณค่าแห่งชีวิต)

รวมถึงการยกระดับการดำเนินงานขององค์กรด้วยการจัดทำ “แผนแม่บทด้านการพัฒนาสู่ความยั่งยืน” มาตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แสดงถึงความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจในบริบทของความยั่งยืนให้ทั้งระดับองค์กรและสังคม ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์หลัก Promise (การยึดมั่นคำสัญญา), Protect (การคุ้มครองป้องกัน) และ Prosper (การสร้างความรุ่งเรืองเฟื่องฟู)

คุณไชยยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นในมุมของการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs เช่น

“ในการดำเนินธุรกิจ หรือ In Process เราคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกกลุ่ม ซึ่งถือเป็นการสร้างหลักประกันชีวิตที่มั่นคง เช่น แบบประกัน “ไทยประกันชีวิต สุขยั่งยืน มีคืน” สำหรับวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ หรือแบบประกัน “ไทยประกันชีวิต Health Fit เบ๊าเบา” ประกันสุขภาพที่เบี้ยฯ ต่ำ แต่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม รวมถึงการริเริ่มบริการที่ดูแลชีวิตของลูกค้าในทุกช่วงเวลาวิกฤต เพื่อลดการสูญเสีย อย่างไทยประกันชีวิตฮอตไลน์ บริการทางการแพทย์และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย”

“นอกจากการสร้างความยั่งยืนผ่านการดำเนินธุรกิจแล้ว เรายังจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน ที่มุ่งพัฒนาทักษะให้กับวิสาหกิจชุมชน อันเป็นเศรษฐกิจรากฐานของประเทศ โครงการหนึ่งคนให้ หลายคนรับ เพื่อชีวิตใหม่หัวใจเด็ก ช่วยเหลือผ่าตัดเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือกิจกรรมที่มุ่งดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการทิ้งได้บุญ รณรงค์บริจาคขวดพลาสติกเพื่อนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล และอัปไซเคิลให้เกิดประโยชน์ การเข้าสู่การตรวจประเมินเพื่อให้ได้เป็นอาคารสีเขียว หรือ Green Building สำหรับอาคารสำนักงานใหญ่ และขยายสู่อาคารสาขาในอนาคต”

“ขณะเดียวกัน เรายังปลูกฝังและส่งเสริมให้บุคลากรภายในทั้งสำนักงานใหญ่ สาขา และฝ่ายขาย ส่งมอบคุณค่าและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและสังคม ผ่านโครงการไทยประกันชีวิตจิตอาสา รวมถึงบริษัทฯ ตระหนักถึงการสร้างคุณค่าและดูแลบุคลากร ด้วยการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ปิดกั้นโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ”

“แม้แต่นโยบายด้านการลงทุน เราก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนในลักษณะ ESG Investing โดยปี 2565 มีมูลค่าการลงทุนที่คํานึงถึงปัจจัยด้าน ESG จํานวน 19,368 ล้านบาท คิดเป็น 3.60% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมดของบริษัทฯ”

ยกระดับ ESG มุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล

เมื่อทั้งโลกหันมาใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ไทยประกันชีวิตเองก็เพิ่มดีกรีด้วยเช่นกัน โดยในปี 2565 ได้มีการแต่งตั้งคณะทํางานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (SD Committee) ในการกํากับดูแลและกําหนดแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ และบริบทของสากล

ในปี 2566 ไทยประกันชีวิตมุ่งเน้นไปที่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริษัทฯ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล 2) การเสริมสร้างความเป็นผู้นำตลาดด้วยการเติบโตอย่างยั่งยืน และ 3) การเสริมสร้างประสบการณ์และความภักดีของลูกค้า เพื่อให้ดำเนินงานด้านความยั่งยืนสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด สอดคล้องแผนกลยุทธ์ในระยะยาว ( 5-10 Years Strategy) รวมทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานความยั่งยืนของตลาดทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เช่น CGR, THSI, SET Award  ฯลฯ และมาตรฐานสากล เช่น  PSI, DJSI, FTSE4GOOD, MSCI ฯลฯ

“โลกของเรากำลังเผชิญปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทุกปี เรายังต้องทำเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ไทยประกันชีวิตจึงได้ทบทวนแผนกลยุทธ์ด้าน ESG ให้มุ่งสู่มาตรฐานระดับสากลมากขึ้น ครอบคลุมปัญหาทั้ง 3 มิติให้มากขึ้น”

ขับเคลื่อนทั้งองค์กรจากภายในสู่ภายนอก

เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าตนเองเป็นฟันเฟืองที่สำคัญที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรไปในทิศทางเดียว

ไทยประกันชีวิตได้จัดอบรม สื่อสาร รวมทั้งสร้างกิจกรรม เพื่อสร้าง Engagement กับบุคลากรทุกระดับ  เช่น การส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดี นโยบายป้องกันการให้สินบน และการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน, การปฐมนิเทศกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใหม่ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมนโยบายการกํากับดูแลกิจการ นโยบายป้องกันการให้สินบนและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันจรรยาบรรณทางธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่สําคัญ, อบรมเพื่อทบทวนและทดสอบความรู้ด้านการกํากับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณทางธุรกิจ โดยมอบหมายผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบ Multimedia Animation เป็นประจําทุกปี เพื่อสื่อสารสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับผู้บริหารและพนักงาน หรือกําหนดให้การปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น

“การสร้างความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับไทยประกันชีวิต เพราะเราวางรากฐานการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการสร้างคุณค่าให้เกิดกับ Stakeholders มาต่อเนื่องนับสิบปี เป็นไปตาม Business Purpose เป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต และเป็น Brand Purpose การเป็นแบรนด์ชั้นนำที่ได้รับความชื่นชม ความไว้วางใจ และแรงบันดาลใจให้กับคนไทย เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน พร้อมรับมือความท้าทายในทุก ๆ สถานการณ์” คุณไชย กล่าวทิ้งท้าย

 



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน