คุณยอร์ช กลูต้าสตอรี่ เล่าว่า “เมื่อก่อนเราเชื่อว่า “Content is the King” แต่การแข่งขันในวันนี้เรียกได้ว่าเป็น “ทะเลคอนเทนต์” ใคร ๆ ก็เป็นครีเอเตอร์ และทำคอนเทนต์ได้

ทำให้ในวันนี้เลยต้องพัฒนาเป็น “Character is The King” สร้างตัวตนเพื่อให้ทุกคนจำได้ และวิธีเล่าของ กลูต้าสตอรี่ คือ การเล่าง่าย สนุก รวมถึงดึงคาแรกเตอร์ของสัตว์แต่ละตัวออกมาให้ได้

ส่วน คุณซิน จาก ชิลแอลแมวมึน เลือกที่จะดูว่าสัตว์เลี้ยงของเรานั้นมีคาแรกเตอร์เด่นอย่างไร และใช้วิธีการพากย์เสียงให้กับน้อง ๆ

เจ้าของเพจสองเเซ่บจอมกวน จอมมึน Kirua และ Ciel ก็จะมีคาแรกเตอร์ที่ต่างกัน เราจะใช้วิธีเล่าผ่านเสียง และจะใช้วิธีตามถ่ายเบรนด์ฟุตเทจไปเรื่อย ๆ เวลาเขาเล่น เพื่อไม่ให้รบกวนเขาตอนกินหรือตอนพักผ่อน และพากย์เสียง ตัดต่อเอาทีหลัง

 

PET Creators เต็มไปหมดทำอย่างไรให้โดดเด่น

คุณซินใช้ความสนิทของเรากับน้อง ๆ และเราก็ถ่ายทอดมันออกไป แนวคอนเทนต์ถนัดในการเล่าเรื่องด้วยคลิปสั้นแนวตั้งเพราะสามารถใช้มือถือถ่ายได้ง่าย ๆ

สำหรับ กลูต้าสตอรี่ ถือว่าเราผ่านกันมาหลายยุคมาก ทั้งคลิปสั้น คลิปยาว TikTok

เป็นเหมือน “นักโต้คลื่น” เพราะทุกวันทุกปีจะมีเทรนด์ใหม่คลื่นใหม่มาเรื่อย ๆ

แต่ก็ยังคงยึดจากจุดเริ่มต้น ก็คือ การเล่าคาแรกเตอร์ของน้อง ๆ ออกในรูปแบบต่าง ๆ และคนติดตามก็จะมาเล่น มาแซว ติดตามคาแรกเตอร์ของน้องไปได้เรื่อย ๆ

ยังสามารถหยิบเอาคอมเมนต์เอาไอเดียจากคนที่ติดตามตรงนั้นมาทำคอนเทนต์ที่คนอยากดูได้อีกด้วย

อย่าลืมสร้างคอมมูนิตี้

เพราะคอมมูนิตี้สำคัญมาก เหมือนเป็นแบรนด์รอยัลตี้ เวลาที่เราจะสร้างงาน หรือ นำเสนอคอนเทนต์ใหม่ออกมา คอมมูนิตี้ก็จะคอยสนับสนุน หรือคนในคอมมูนิตี้เองก็มีการนำเสนอคอนเทนต์ นำเสนอบทความ พูดคุยกันเอง อยู่รวมกันเป็นสังคมที่แข็งแรง

“คอมมูนิตี้เหมือนเครือญาติที่พร้อมจะซัปพอร์ตเราเสมอ”

การเบลนด์ตัวเองเข้ากับแบรนด์ เมื่อโฆษณาเข้ามารับมืออย่างไร?

คุณยอร์ช กลูต้าสตอรี่ เล่าว่า รู้สึกสนุกมากถ้าสินค้าที่เข้ามาไม่เกี่ยวกับสัตว์ ถือเป็นความท้าทาย

เเละอันดับแรกคือต้องคิดให้ “สนุก” หยอดความน่ารัก หยอดจุดเด่นของน้องและคาแรกเตอร์แต่ละตัวลงไป ทำให้งานที่ออกมาไม่ฮาร์ดเซล ทีนี้คนก็พร้อมที่จะสนับสนุน

คุณซิน ชิลแอลแมวมึน – “เราต้องขายแบบแมว ๆ” เลือกเล่าเรื่องในมุมของสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่คนเป็นคนพูด และลองคิดแบบให้สัตว์เลี้ยงของเราเป็นคนพูดเลย ลองคิดว่าแมวจะรู้สึกอย่างไงกับลำโพงนะ

หรือบางคลิปเราก็จะให้ตัวเราเองเข้าไปด้วย เช่น โฆษณาเครื่องดูดฝุ่น พวกเขาจะต้องกินอาหารเลอะบ้านแน่นอน และเราก็เป็นคนไปทำความสะอาดขายของได้พอดี

จุดที่ PET Creators ต้องคำนึงถึง

– ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย สุขภาพ รวมถึงเราต้องทำคอนเทนต์กับเขาให้สนุกมากกว่าบังคับน้อง ๆ เป็นอันดับแรก

– ลองเปลี่ยนเป้าหมายในการทำคอนเทนต์จากที่จะคิดว่า “เราจะได้อะไรจากการทำคอนเทนต์” เป็น “เราอยากให้อะไรกับคนดู” คอนเทนต์ที่ออกมาก็จะมีคุณภาพ



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online