ส่วนแบ่งตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทย 2562 ทำไม BDMS ทำไมถึงเป็น Brand Leader ?

ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน มูลค่า 5 แสนล้านบาท ถือเป็นธุรกิจดาวรุ่งมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจโรงพยาบาล 5 แสนล้านบาทนี้ มูลค่า 2 แสนล้านบาทมาจากโรงพยาบาลที่จดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

 

เมื่อมองลึกลงไป โรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีกลุ่มธุรกิจ BDMS บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นกลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนโรงพยาบาลในเครือ BDMS  ที่บริหารเองทั้งหมด 48 แห่ง จำนวน 8,211 เตียง ภายใต้ 6 กลุ่มโรงพยาบาล

ได้แก่ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ, เครื่องโรงพยาบาลสมิติเวช, เครือโรงพยาบาลพญาไท, เครือโรงพยาบาลเปาโล, เครือโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และโรงพยาบาลโลคอล ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ในชื่อโรงพยาบาลในเครือต่างๆ ที่ครอบคลุมตั้งแต่โรงพยาบาลระดับกลางไปจนถึงพรีเมียม

ยังไม่รวมถึงโรงพยาบาลในต่างประเทศ 3 แห่ง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล 22 แห่ง 13 ประเภท และการเข้าไปถือหุ้นในโรงพยาบาลต่างๆ อีก 3 โรงพยาบาล ได้แก่ บำรุงราษฎร์, เอกอุดร และโรงพยาบาลราม

จากโรงพยาบาลกรุงเทพ สู่เครือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

แม้ว่าวันนี้ BDMS ขยายอาณาจักรจนกลายเป็นเครือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่จุดเริ่มต้นที่ BDMS ที่แท้จริงมีเพียงโรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับพรีเมียมที่ก่อตั้งในปี 2515 โดยหมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เพียงเครือข่ายเดียวเท่านั้น

และปัจจุบันในกลุ่ม BDMS เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มี ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจนี้ด้วยสัดส่วน 18.47% จากจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด

6 ผู้ถือหุ้นหลัก BDMS

ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ สัดส่วนถือหุ้น  18.47%

บ. วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) สัดส่วนถือหุ้น 6.05%

บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สัดส่วนถือหุ้น  5.86

บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 5.73%

สำนักงานประกันสังคม  สัดส่วนถือหุ้น 4.05%

ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ  สัดส่วนถือหุ้น 3.56%

ที่มา : set.or.th (ข้อมูลอัพเดต 21 มกราคม 2562)

สิ่งที่ทำให้ BDMS ต้องการขยายธุรกิจด้วยการซื้อหุ้นในเครือโรงพยาบาลต่างๆ เช่น การเข้าไปซื้อหุ้นในโรงพยาบาลพญาไท, เปาโล โรงพยาบาลเมโย (เปลี่ยนเป็นชื่อโรงพยาบาลเปาโล และกรุงธน (เปลี่ยนเป็นชื่อโรงพยาบาลสมิติเวช) มาจากการมองเห็นตลาดโรงพยาบาลระดับกลางมีโอกาสการเติบโตที่สูง

1. อัตราการขยายตัวของชนชั้นกลาง ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลแทนคลินิกเหมือนในอดีต

2. ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย ด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่ 60 ปีเพิ่มขึ้นจาก 9.1 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 10.3 ล้านคนในปี 2562 และมีอัตราค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 6.3 หมื่นล้านบาทในปี 2553 เป็น 22.8 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 (ข้อมูลจากแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564)

3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Tourism เพื่อดึงนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และทำให้ตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้ขยายจากกลุ่มพรีเมียมซึ่งเป็นกลุ่มหลักในอดีตเป็นกลุ่มระดับกลางที่นิยมเลือกโรงพยาบาลที่ค่ารักษาไม่แพงจนเกินไปมากขึ้น

 

 

4. การขยายตัวของธุรกิจประกันสุขภาพ จากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบริษัทประกันชีวิตได้รุกธุรกิจประกันสุขภาพหลากหลายรูปแบบ เพราะมองเห็นโอกาสการตลาดของการเติบโตของชนชั้นกลางในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ และมองว่าการทำประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในการซื้อความเสี่ยงจากการเจ็บไข้ได้ป่วย ที่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ตามสิทธิประกัน

และนอกจากนี้ ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพยังมีการขยายเครือข่ายไปยังต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ จากการมองเห็นการเติบโตของชนชั้นกลางในหัวเมืองใหญ่ และจังหวัดใกล้เคียง

แต่ในต่างจังหวัดช่องว่างในการรับการรักษายังจำกัดที่ส่วนใหญ่แล้วมีเพียงโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก และคลินิก เท่านั้น

ซึ่งการเข้าไปซื้อหุ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้ BDMS สามารถกินรวบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในไทยได้มากถึง 15% (นับจากจำนวนโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย) เลยทีเดียว

ส่วนแบ่งตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทย

BDMS มีโรงพยาบาลอะไรบ้าง

 

Marketeer FYI

BDMS ไม่ใช่เพียงโรงพยาบาล แต่คือ Healthcare Supply Chain

นอกจากธุรกิจโรงพยาบาลแล้ว BDMS ยังมีธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้แก่

1. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายยา น้ำเกลือ และวัสดุทางการแพทย์

ดำเนินการโดย

บ. เอ.เอ็น.บี.ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช) จำกัด

สหแพทย์เภสัช จำกัด

 บ. รอยัล บางกอก แฮลธ์แคร์ จำกัด

2. ธุรกิจขายยาและเวชภัณฑ์

ดำเนินการโดย

บริษัท เซฟดรัก จำกัด

3. ธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ดำเนินการโดย

บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิลเต็มส์ จำกัด

4. ธุรกิจห้องปฏิบัติการทดลองชีวโมเลกุล

บริษัท ไบโอ โมเลกุลลาร์ แลบบอราทอรี่ส์ (ประเทศไทย)จำกัด

5. ธุรกิจบริการขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ

ดำเนินการโดย

บริษัท กรุงเทพเฮลิคอปเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด

6. กิจการเพื่อการลงทุนใน Healthcare Business (Holding Company)

ดำเนินการโดย

บริษัท รอยัล บางกอก แฮลธ์แคร์ จำกัด

BDMS Inter Pte. Ltd. (ประเทศสิงคโปร์)

N Health Asia Pte. Ltd. (ประเทศสิงคโปร์)

N Health Cambodia Co., Ltd

7. ธุรกิจประกันสุขภาพ

ดำเนินการโดย

บริษัทกรุงเทพประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน)

กรุงเทพพรีเมียร์ นายหน้าประกันชีวิต จำกัด

ที่มา: Bangkokhospital.Com

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline
 


ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online