“เด็กวันนี้” ไม่ใช่แค่เป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า

แต่เด็กวันนี้มีส่วนผลักดันสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้มากมาย

‘เกรต้า ธันเบิร์ก’ สาวน้อยชาวสวีดิช วัย 16 ปี ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จนส่งต่อแรงบันดาลใจถึงคนหลายล้านให้หันมาใส่ใจเรื่องของมลภาวะ และจริงจังกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน จนได้รับการยกย่องให้เป็น ‘Climate Icon’ หรือสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน

‘น้องลิลลี่-ระริน สถิตธนาสาร’ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม วัย 11 ปี ที่มุ่งมั่นผลักดันให้ภาครัฐและเอกชน ใช้มาตรการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ตั้งแต่เธออายุแค่ 8 ปี และยังออกรณรงค์ Climate Strike ร่วมกับคนทั่วโลก จนได้รับรางวัล Yunus & Youth Environment Ambassador จาก Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ตัวอย่างของเสียงสะท้อนจากเด็กทั้งสองสะกิดใจให้ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ต้องหันมาสนใจในสิ่งที่พวกเธอกำลังทำกันอยู่

พร้อมมองย้อนดูว่า ทุกวันนี้เกิดอะไรขึ้นกับโลกของเราบ้าง และโลกใบนี้ยังสวยงามเหมือนเดิมอยู่หรือไม่

จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษถึงสถานการณ์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ระบุว่า ปริมาณขยะในประเทศไทยยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2561 มีกว่า 27.8 ล้านตัน เฉพาะในกรุงเทพฯ มีปริมาณถึง 4.85 ล้านตัน ซึ่งมากถึง 1 ใน 5 ของทั้งประเทศ

แม้จะมีหลากหลายมาตรการเพื่อจัดการปัญหาขยะ แต่ก็มีปัจจัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเมืองที่ขยายตัว ประชากรเพิ่มขึ้น การบริโภคเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ล้วนส่งเสริมให้ขยะเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาใหญ่ที่หาทางกำจัดให้หมดสิ้นไม่ได้

ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือ การบริหารจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลเพียงแค่รวดเร็วและสะดวก ขยะพลาสติกส่วนใหญ่ของไทยจึงถูกกำจัดโดยการเผาและฝังกลบ นั่นยิ่งเท่ากับเป็นการสร้างมลพิษทั้งทางบกและอากาศ ก่อผลเสียให้กับสิ่งแวดล้อมทวีมากขึ้นไปอีก แทนที่จะนำไปรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ตาม หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

ประกอบกับการลักลอบทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ ทำให้ขยะจากบนบกปะปนลงสู่ทะเล จึงส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติโดยตรง ทำให้เกิดการรั่วไหลของขยะและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแม่น้ำและทะเล มีปริมาณขยะสะสมมากกว่า 11.47 ล้านตัน

บนฟ้าเต็มไปด้วยมลพิษบนชั้นบรรยากาศ

ในทะเลสัตว์ต่างๆ กินขยะเข้าไปจนต้องตายแบบน่าเวทนา

สิ่งที่เราใช้แล้วทิ้งขว้างกำลังกลับมาทำร้ายตัวเราเอง สารพิษต่างๆ มากมายจะย้อนมาที่มนุษย์เป็นผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังตามมามากมาย

และคนที่จะได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ หนีไม่พ้นเด็กและเยาวชน ลูกหลานของคนรุ่นเราที่จะต้องเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

SCG นำเสนอ Web Film “คบเด็กสร้างโลก” ที่ดึงเอาพลังของเด็กมากระตุ้นจิตสำนึก และส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้ใหญ่หันมาจับมือกันแก้ปัญหา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการใช้ทรัพยากรเพื่อคนในยุคต่อๆ ไป

เสียงเล็กๆ ของเด็กกลุ่มหนึ่งที่มองว่าโลกใบนี้สวยงาม และอยากเห็นโลกสวยงามอยู่เสมอ ได้ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงที่สะท้อนมุมมองของคนรักโลก และเสมือนการส่งสารถึงทุกคนว่า “พวกเขาก็เป็นเจ้าของโลกใบนี้ด้วยเช่นกัน”

พร้อมโยนคำถามมาถึงผู้ใหญ่ว่า ทุกวันนี้ คุณเห็นโลกเป็นแบบไหน โลกที่เต็มไปด้วยสิ่งสวยงาม หรือโลกที่เต็มไปด้วยขยะ เพื่อกระตุกต่อมคิด ให้ทุกคนเปิดหูเปิดตาและเปิดใจมองความจริงที่เป็นอยู่  ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

แต่เมื่อโลกใบนี้เป็นของพวกเราทุกคน ทำไมไม่มาจับมือกันช่วยกันสร้างโลกที่ดีขึ้นไปด้วยกัน

ที่ผ่านมา SCG พยายามอย่างจริงจังในการกระตุ้นให้ทุกคน “เปลี่ยน” มุมมองในการบริโภคทรัพยากร ลดการสร้างขยะ และใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยผลักดัน แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มุ่งจุดประกายความคิดกับคนหลากหลายกลุ่มสื่อสารเผยแพร่ สร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้ปรับเปลี่ยนเนวคิดและพฤติกรรม ตั้งแต่การวางแผนออกแบบการผลิต การบริโภค และการจัดการของเสีย และยังนำเสนอ แนวปฏิบัติ SCG Circular Way ที่บอกวิธีให้คนทำตามได้ง่ายๆ แค่รู้จักใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก และหมุนเวียนกลับมาใช้ให้คุ้มค่า

และที่แน่ๆ คือเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้คนเดียว จึงต้องชวนกันทำ หนังเรื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งคำชักชวน ให้ทุกคนมาช่วยกัน จับมือเด็กๆ สร้างโลกที่ดีขึ้นไปด้วยกัน

เพราะไม่ว่าจะมือเล็กหรือใหญ่ ถ้าช่วยกันก็จะหมุนโลกให้กลับมาสดใสได้แน่นอน

“Together, we can make it beautiful…มาร่วมกัน สร้างโลกสวยด้วยมือเรา”

สนใจแนวคิดและแนวปฏิบัติเพิ่มเติม คลิก

http://bit.ly/2P1eeBr



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online