ในขณะที่ ไอโอที กำลังพัฒนาขึ้นในเมืองต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นนครซานฟรานซิสโก ที่ใช้เวลาถึง 20 ปีพัฒนาระบบขนส่งมวลชนพลังงานทดแทน เมืองอัมสเตอร์ดัมกับนโยบายการพัฒนาให้เป็นเมืองสีเขียวด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ป้ายบิลบอร์ดและเสาไฟพลังงานแสงอาทิตย์ หรือมหานครโตเกียว ที่พัฒนาระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานและระบบอัจฉริยะในบ้านตลอดจนระบบไอทีที่เชื่อมต่อชีวิตประจำวันของคนในเมือง

ภาพต่างๆเหล่านี้ อภิรัฐ คงชนะกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจไอโอที บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บอกกับเราว่าจะ เกิดขึ้นจริงกับไทยอีกไม่นาน!

The Future is Real

ท่ามกลางตลาด IoT ทั่วโลกที่คาดการณ์ว่าปี 2563 จะมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 28.5%

สำหรับประเทศไทย ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0  ทำให้หลายภาคส่วนมีความสนใจและให้ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยี IoT มากขึ้น เพื่อเปลี่ยนเข้าสู่สังคมดิจิทัล (Digital Transformation) อาทิ การใช้ IoT ในอุตสาหกรรมยานยนต์  การเกษตร และสาธารณสุข ซึ่งอภิรัฐคาดว่าในปี 2568 การใช้จ่าย IoT ในประเทศจะมีมูลค่าสูงถึง  5 แสนล้านบาท

“นอกจากโครงสร้างจากภาครัฐแล้ว องค์กรเอกชนอย่างโอเปอเรเตอร์ก็มีส่วนสำคัญมาก ซึ่งเราให้ความสำคัญกับเรื่อง IoT มาก เรามั่นใจด้วยการมีระบบนิเวศ IoT ที่แข็งแกร่งที่สุด และเตรียมตัวมานานกว่าใครจะเป็นแต้มต่อสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด”

ภายใต้แนวคิด The Future is Real ทรูได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ IoT ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย ไม่ใช่เพียงแค่ความพร้อมในการให้บริการเท่านั้น แต่ในปัจจุบันทรูอยู่ในฐานะผู้ให้บริการ IoT โซลูชั่นกับหลายๆ โครงการใหญ่อาทิองค์กรและกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย ทั้งยังมีกลุ่มสินค้าสำหรับผู้บริโภค และนวัตกรรมหุ่นยนต์อีกด้วย

เราไม่ได้ทำเทคโนโลยีเพื่อเทคโนโลยี แต่เราทำเทคโนโลยีเพื่อให้ชีวิตคนดีขึ้น  ให้คนมีความสุขมากขึ้น ให้สังคมดีขึ้น

อภิรัฐ คงชนะกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจไอโอที บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น

 

True IoT ดีที่สุดในเมืองไทยและได้มาตรฐานโลก

ด้วยระบบนิเวศที่ครบเครื่องสมบูรณ์ที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงข่าย เรื่องของราคาที่เข้าถึงผู้บริโภค เรื่องแพลตฟอร์ม เรื่องระบบ Digital Platform ในคลาวด์ทั้งหลาย รวมทั้งพาร์ทเนอร์อีกกว่า 120 องค์กรบริษัท ทำให้เขามั่นใจว่า ถ้าส่องโอเปเรเตอร์ทุกราย ทรูถือเป็นเบอร์ 1 ในฐานะผู้นำด้าน IoT

“เราได้เริ่มทดลองให้บริการ True IoT มาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้ทำการศึกษาเพื่อสรรหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และสร้างระบบนิเวศที่ครบวงจรและครอบคลุมมากที่สุดในการให้บริการ IoT ผนวกกับความแข็งแกร่งของโครงข่ายทรูมูฟ เอช 4G+ ที่ครอบคลุมมากที่สุดในไทย 

ทำให้ปัจจุบัน  กลุ่มทรู  เป็นผู้ให้บริการ IoT เพียงรายแรกและเดียวในประเทศไทยที่มีโครงข่าย NB-IoT ที่พร้อมใช้งานด้วยความครอบคลุมทั่วประเทศ และกำลังเร่งขยายโครงข่าย LTE-M (CAT-M1) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้  อีกทั้งยังมี IoT Ecosystem ครบวงจรมากที่สุด พร้อมให้บริการ IoT เต็มรูปแบบ”

IoT Ecosystem ของทรูประกอบด้วย

• โครงข่าย IoT ที่ดีที่สุด ครอบคลุมมากที่สุด โดยทรูมีการบริหารโครงข่าย และพัฒนาโครงข่าย NB-IoT เป็นเจ้าแรก และปัจจุบันพร้อมใช้งานครอบคลุมทั่วประเทศ โดยสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้อย่างรวดเร็ว และยังมีแผนติดตั้งโครงข่าย LTE-M(CAT-M1) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

• แพลตฟอร์มไอโอที (IoT Platform) ครอบคลุมทั่วโลก ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก อาทิ OneNET ไชน่าโมบาย, OceanConnect หัวเว่ย, IoT Accelator อิริคสัน และแพลตฟอร์มระดับโลกหลายราย

รวมทั้งการเป็นสมาชิก China Mobile IoT Alliance ซึ่งเป็น NB-IoT Alliance กลุ่มแรกของโลก ปัจจุบันมีสมาชิกบริษัทชั้นนำด้าน ไอโอที มากกว่า 200 ราย ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยี IoT ให้มีการใช้งานแพร่หลายและสามารถรองรับความต้องการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น

“ถ้าพูดถึงแพลตฟอร์มท็อปเท็นของโลก เราได้เริ่มปรับใช้ไปแล้วคือ คือ China Mobile OneNET, Huawei OceanConnect และ Ericsson IoT Accelerator ซึ่งรวมกันจะมีดีไวซ์ที่ใช้คอนเน็คชั่นได้มากกว่า 200 ล้านคอนเน็กชั่น และมีบริษัทที่ใช้แพล็ตฟอร์มทั้ง 3 รายนี้มากกว่า 2,000 บริษัท  มีโซลูชันมากกว่า 70,000 โซลูชัน มีนักพัฒนาที่ลงทะเบียนพัฒนาในแพลตฟอร์มนี้มากกว่า 60,000 คน

เพราะฉะนั้น ข้อดีของการที่เรามีแพลตฟอร์มทั้ง3 นี้ ต่อไปถ้าคนไทยสนใจที่จะนำโซลูชันที่ขายในประเทศจีนเอาเข้ามาในไทย ทางทรูก็มีแพลตฟอร์มนี้ใช้อยู่แล้ว นอกจากนี้ทรูกำลังเจรจากับพาทเนอร์ท็อปเท็นระดับโลกรายอื่นๆ เพื่อนำแพลตฟอร์มมาให้บริการอีกด้วย”

• พันธมิตรคู่ค้าและผู้ให้บริการโซลูชันที่ดีที่สุด โดยปัจจุบันมีคู่ค้ามากกว่า 120 ราย ครอบคลุมบริการหลากหลาย อาทิ Smart Wellness, Smart Transport, Smart Home, Smart Office/ Smart Building

ผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์ตัวจริง

“ตอนนี้เราได้ร่วมให้บริการกับโครงการใหญ่ๆ หลายราย ยกตัวอย่าง SCB ที่เวิร์กกับเราเรื่อง Smart Wellness ทำลู่ปั่นจักรยานอัจฉริยะ หรือกับอนันดาฯ ที่เวิร์กเรื่อง Smart Home ระบบออโตเมชั่นเข้าไปเปิดปิดประตูอัตโนมัติ  ระบบไฟฟ้า Smart Securities และอื่นๆภายในบ้าน รวมทั้ง Smart Transport ที่เราร่วมกับแบรนด์รถเอ็มจี ทำระบบ Smart Car ควบคุมการสั่งงานในรถผ่านแอปพลิเคชัน

ยังมีเรื่องเครือข่ายชุมชน IoT  (IoT Community) ศูนย์ค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายให้ต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนเมกเกอร์ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และ IoT โซลูชั่น  และเหล่าสตาร์ทอัพ  ได้แก่ ทรูแล็บ (True Lab) ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ 12 แห่ง, หัวเว่ย โอเพ่น แล็บ (Huawei Open Lab) รวมทั้งพื้นที่ย่านสยามสแควร์ ซอย 2, 3 และ 4  และ โครงการ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้”

รวมทั้งเรื่อง Smart Life ด้วยอุปกรณ์ ไอโอที ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สะดวกและไร้กังวลยิ่งขึ้น อาทิ True IoT Kidz Watch, Smart Watch, Smart Health และ หุ่นยนต์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ Robotis MINI นอกจากนี้ สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ยังมีหุ่นยนต์นาโอะ (Nao) ที่แสดงท่าทางได้เหมือนมนุษย์ สื่อสารได้ถึง 9 ภาษาและสามารถตั้งโปรแกรมให้จดจำใบหน้า จดจำรายละเอียดของสินค้าและบริการ ทำให้ธุรกิจของประเทศไทยวันนี้ก้าวขึ้นไปอีกขั้น

“เวลาคนคิดถึงทรู จะนึกถึงโปรดักต์ที่เราขาย แต่จริงๆแล้ว วิสัยทัศน์ที่เราวางไว้มานานกว่า10 ปี คือเราจะเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์ เราเป็นเจ้าแรกที่เอาไอโฟนเข้ามาที่ไทย ผ่านมา 10ปี เราจึงรู้ว่าชีวิตเราขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้ เราไม่ได้ทำเทคโนโลยีเพื่อเทคโนโลยี แต่เราทำเทคโนโลยีเพื่อให้ชีวิตคนดีขึ้น ให้คนมีความสุขมากขึ้น ให้สังคมดีขึ้น

วันนี้โลกเรากำลังพูดเรื่อง ไอโอที ซึ่ง True IoT พร้อมเติมเต็มดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของคนไทย เพื่อร่วมเปลี่ยนสังคมไทยสู่สังคมดิจิทัล และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในยุค Thailand 4.0” เขาย้ำท้าย

True IoT : The Future is Real. โลกแห่ง IoT ใช้ได้จริงทั่วไทยแล้ววันนี้ ติดตามข่าวสารไอโอทีจากทรูเพิ่มเติม True IoT และ FB Fanpage : True IoT

ตดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆเพิ่มเติม คลิก

 

 

 

 

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online