Kodak การกลับมาของยักษ์ใหญ่ที่ขอโอกาสฟื้นคืนชีพด้วยเวชภัณฑ์ (วิเคราะห์)

จากพังกลับมาปัง ที่ฟุบก็คืนฟอร์มได้อีกครั้ง เป็นวัฏจักรในแวดวงธุรกิจที่มีให้เห็นตลอด ไม่ว่าผ่านมากี่ยุคกี่สมัย แต่มีไม่บ่อยที่ตัวช่วยให้ฟื้นไม่ได้มาจากธุรกิจหลัก ต้องมีสถานการณ์เอื้ออำนวยและแรงหนุนจากภาครัฐ

เหมือนKodak ที่ล่าสุดโชคเข้าข้าง ผุดแผนกเวชภัณฑ์ขึ้นภายใต้ชื่อKodak Pharmaceuticals จากการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านวงเงินกู้ 765 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 24,051 ล้านบาท) โดยนี่อาจเป็นแรงหนุนต่อเนื่องส่งให้ Kodak กลับมายืนได้เต็มตัวอีกครั้ง เพราะเวชภัณฑ์ที่Kodak จะได้มีส่วนพัฒนาคือยาต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในขณะนี้

Jim KodakJim Continenza

Jim Continenza–CEO ของ Kodakหวังว่าการพลิก ”วิกฤตไวรัส” เป็นโอกาส จะมีส่วนสำคัญต่อการพลิกฟื้นบริษัท และคาดว่าต่อไปKodak Pharmaceuticals จะครองสัดส่วนรายได้ราว 30-40% 

ดีลตั้งKodak Pharmaceuticals ทำให้เมื่อ 28 กรกฎาคม ราคาหุ้นของKodak พุ่งพรวดขึ้น 3 เท่า จนปิดตลาดในแดนบวกสุด ๆ มูลค่าบริษัทเพิ่มจาก 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,615 ล้านบาท) เป็น 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10,909 ล้านบาท)

Kodak ปรับโฟกัส 1

ดีลนี้จะทำให้เกิดการจ้างงานในKodak ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมเกือบ 1,600 ตำแหน่ง โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Donald Trump ต้องการให้ Kodak เป็นกำลังหลักช่วยลดการนำเข้ากลุ่มสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (API) จากต่างชาติโดยเฉพาะจีน

เพราะปัจจุบันสหรัฐฯ ผลิต API ได้เองเพียง 10% เท่านั้น ทั้งที่เป็นประเทศที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรงสุดในโลก ยืนยันได้ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมล่าสุดเกือบ 4.5 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 1 ในโลก

Kodak ปรับโฟกัส 12

ย้อนประวัติ Kodak แบรนด์เก๋าหลุดโฟกัสที่กำลังฟื้น

Kodakก่อตั้งโดย George Eastman กับ Henry A. Strong สองนักธุรกิจชาวอเมริกันเมื่อปี 1888 ผ่านแนวคิดสินค้าราคาเข้าถึงได้ ที่ทำกำไรได้ต่อเนื่องจากอุปกรณ์เสริมและวัสดุต่าง ๆ ที่ต้อง “ผูกปิ่นโต” ซื้ออีกในระยะยาว แบบเดียวกับมีดโกนที่ผู้ใช้ต้องซื้อใบมีดโกนอยู่เรื่อย ๆ 

Kodak ปรับโฟกัส eastmanGeorge Eastman

ปรากฏว่าเป็นไปตามนั้น เพราะพอถึงปี 1976 Kodakขึ้นเป็นเบอร์ใหญ่ในอุตสาหกรรมถ่ายภาพของสหรัฐฯ อย่างแท้จริง ครองสัดส่วน 85% ของตลาดกล้องถ่ายภาพ และ 90% ของตลาดฟิล์ม โดยมี Fuji เป็นคู่แข่งสำคัญในต่างประเทศ

ทว่าต้นปี 2012 Kodakถึงจุดตกต่ำ โดยจากการไม่ได้จริงจังกับการพัฒนากล้องดิจิทัล ทั้งที่เริ่มคิดค้นเทคโนโลยีนี้ก่อนแบรนด์อื่น ท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปถ่ายรูปผ่านกล้อง Smartphone และโพสต์ขึ้น Social Media แทนการถ่ายด้วยกล้องฟิล์มที่ต้องนำไปล้าง ส่งผลให้Kodak ขาดรายได้ในทุกช่องทาง จนต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์จากการล้มละลาย

วิกฤตครั้งนั้นบีบให้ Kodakต้องตัดใจขายสิทธิบัตรนับไม่ถ้วนให้บริษัทเทคโนโลยีรุ่นหลัง เช่น Apple, Facebook, Amazon และ Samsung โดยที่ยังเหลือบางธุรกิจอย่างฟิล์มถ่ายทำภาพยนตร์เอาไว้

Kodak ปรับโฟกัส 6

กันยายนปี 2013 Kodakพ้นจากภาวะล้มละลาย มี 4 ธุรกิจในเครือคือ ฟิล์มภาพยนตร์ เทคโนโลยีการพิมพ์ เคมีภัณฑ์ และกลุ่มสินค้า Lifestyle เช่น เสื้อผ้าและกล้องถ่ายรูปแบบโพลาลอยด์

Kodak ปรับโฟกัส 7

ถัดจากนั้นก็มีข่าวปรับตัวหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่หยุด เช่น เพิ่มความสะดวกให้ “ตากล้อง” ในการเก็บลิขสิทธิ์ภาพด้วย KodakCoin ตามเทรนด์สกุลเงินดิจิทัล 

Kodak ปรับโฟกัส 8

นอกจากนี้ เมื่อปี 2019 Kodakยังกลับมาผลิตฟิล์มสำหรับกล้องถ่ายรูปอีกครั้งภายใต้แบรนด์ Kodak Ektachrome ท่ามกลางเทรนด์กล้องฟิล์มที่ฮิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่นเดียวกับที่เทคโนโลยีย้อนยุคอื่น ๆ อย่างแผ่นเสียง และเทป ก็กลับมาฮิต

Kodak ปรับโฟกัส 10

 

ข่าวดีของKodak ยังไม่หมดแค่นั้น โดยรวม 3 ไตรมาสแรกปี 2019 ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ทำเงินได้เพิ่มขึ้น 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 220 ล้านบาท) ซึ่งเป็นผลมาจากบรรดาผู้กำกับดังระดับโลกที่มีอำนาจต่อรอง กลับมาใช้ฟิล์มในการถ่ายทำกันมากขึ้นต่อเนื่อง และพาหนังฟิล์มไปคว้ารางวัลมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

Kodak ปรับโฟกัส 9  

จากนี้มีความเป็นไปได้ว่า Kodakยังจะได้รับข่าวดีต่อไป เพราะเทรนด์กล้องฟิล์มคงยังไม่ซาท่ามกลางเทคโนโลยีย้อนยุคที่ยังได้รับความนิยม มีผู้กำกับดังกลับมาทำหนังฟิล์มมากขึ้น และปัจจัยบวกจากการพัฒนายาต้านโควิด/theverge, cnn, cnbc, washingtonpost, bloomberg, wikipedia

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน